MYOMA UTERI

ความหมาย : * เนื้องอกมดลูกชนิดไม่ร้ายแรง ลักษณะกลมประกอบด้วย เซลล์กล้ามเนื้อ ชนิด
FIBROUS CONNECTIVE TISSUE
* เป็นเนื้องอกของมดลูกที่พบบ่อยที่สุด และเป็นเนื้องอกชนิดหนึ่ง ที่คลำพบบ่อย
มากที่สุดภายในอุ้งเชิงกราน
* อาจพบเป็นก้อนเดี่ยว แต่ส่วนใหญ่พบหลายก้อนในตัวมดลูกเดียวกัน
* พบในสตรีผิวขาวร้อยละ 20 และสตรีผิวดำร้อยละ 50 เมื่ออายุ 30 ปี
* ตำแหน่งอื่น ๆ ที่นอกเหนือมดลูก ได้แก่ ท่อนำไข่,ช่องคลอด,เอ็นยึดตัวมดลูก,
ปากช่องคลอดและลำไส้

สาเหตุ : สาเหตุที่แท้จริงไม่ทราบ แต่เชื่อว่า….เกิดจากเซลล์กล้ามเนื้อเรียบชนิดที่ยังโต
ไม่สมบูรณ์ (IMMATURE MUSCLE CELLS) เจริญขึ้นมาอย่างผิดธรรมชาติเฉพาะที่
บางส่วนของมดลูก การเจริญเติบโตของเนื้องอกชนิดนี้ขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเอสโตเจน
โดยเราพบว่า..เนื้องอกชนิดนี้ยากที่จะพบก่อนวัยสาว และไม่พบมีเนื้องอกเกิดใหม่
ภายหลังหมดประจำเดือน

** ลักษณะเฉพาะของเนื้องอกมดลูก (MYOMA UTERI) **
>>>..ชนิดของเนื้องอกมี 3 ชนิด..<<< ชนิดที่ 1 : เนื้องอกอยู่ในตัวมดลูก (INTRAMURAL MYOMA) พบบ่อยที่สุด
ชนิดที่ 2 : เนื้องอกอยู่ใต้ชั้นเยื่อบุมดลูก ( SUBMUCOUS MYOMA) จะเจริญยื่นเข้า
ไปในโพรงมดลูก ทำให้มีปัญหาเรื่องเลือดออกผิดปกติ จากโพรงมดลูก
บ่อย ๆ
ชนิดที่ 3 : เนื้องอกที่เกิดขึ้นบริเวณผิวมดลูก (SUBSEROUS MYOMA) จะยื่นเข้าไป
ในโพรงมดลูก และอาจจะมีก้าน (PEDUNCLE) ได้

** อาการและอาการแสดง **

อาการ : มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ.. ขนาด,จำนวน และตำแหน่งของเนื้องอก..>>>
1. เลือดประจำเดือนมากผิดปกติ เป็นลักษณะเฉพาะที่พบบ่อยที่สุด
2. อาการปวด โดยปกติจะไม่ปวด ยกเว้น มีการบิดตัวของเนื้องอก หรือ มีการ
เปลี่ยนแปลงย่อยสลายภายในเนื้องอก
3. อาการกดทับ เกิดจากเนื้องอกมีขนาดใหญ่ และไปกดทับอวัยวะ ส่วนอื่นที่ทำให้
เกิดอาการ เช่น ปัสสาวะบ่อย,ปัสสาวะคั่งค้าง หรือท้องผูก เนื่องจากไปกดทับ
กระเพาะปัสสาวะหรือทางเดินอุจจาระ
4. มีความผิดปกติเกี่ยวกับ \”ภาวะมีบุตรยาก\” โดยเนื้องอกไปกดเบียดท่อนำไข่
ทำให้ท่อนำไข่ตัน หรือ ขัดขวางการฝังตัวของ \”ตัวอ่อน\”

อาการแสดง ….>>>>

1. การตรวจพบทางหน้าท้อง : เนื้องอกชนิดนี้อาจจะคลำได้ทางหน้าท้อง มีลักษณะเป็นก้อนตะปุ่ม
ตะป่ำ,แข็งคล้ายยางลบ และอาจกดเจ็บได้ ในกรณีก้อนเนื้องอก
บวม เป็นมะเร็ง มีการเปลี่ยนแปลงย่อยสลายภายในเนื้อเยื่อ
หรือเกิดร่วมกับภาวะตั้งครรภ์

2. การตรวจถบจากการตรวจภายใน : เป็นการตรวจพบที่ง่ายและพบบ่อยที่สุด แม้จะไม่มีอาการ
ลักษณะเนื้องอกมักจะโตกว่าปกติ และไม่สม่ำเสมอ

การรักษา : ขึ้นอยู่กับสภาพของผู้ป่วย ถ้าเนื้องอกไม่โตมาก และไม่มีอาการ ก็ไม่จำเป็นต้อง
รักษา..>>

1. การเฝ้าสังเกตุ : ในกรณีที่ไม่ปวด,ไม่มีเลือดออกผิดปกติ หรือเนื้องอกโตมาก
การนัดมาตรวจเป็นระยะ ๆ ถือว่า เพียงพอ โดยเฉพาะ
ในสตรีที่ใกล้หมดประจำเดือน ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น เนื้องอก
ก็จะมีขนาดเล็กลง เนื่องจากปริมาณฮอร์โมนเอสโตเจน
น้อยลง
* ตรวจภายในทุก 3-6 เดือน เพื่อดูขนาดของเนื้องอก
* คลำตำแหน่งเอ็นยึดคอมดลูก เพื่อหาหลักฐานเกี่ยวกับ เยื่อบุโพรงมดลูกเกาะ
ผิดที่ (ลักษณะจะขรุขระ)
* ตรวจเลือดเพื่อดูว่าเลือดจางหรือไม่ และควรให้ยาธาตุเหล็กเพื่อทดแทนภาวะ
เลือดจาง กรณีเลือดออกผิดปกติ
* การตรวจวัดด้วยเครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง..เพื่อดูการเจริญเติบโตของขนาด
เนื้องอกมดลูก และขนาดของรังไข่ นอกจากนี้ ยังสามารถค้นหาภาวะหลอดไต
และไตโตผิดปกติจากการกดทับของเนื้องอกอีกด้วย

2. การให้ยา : เราอาจให้ยาบางชนิด (GnRH AGONISTS :SUPREFACT,
ENANTHONE) เพื่อก่อให้เกิดภาวะคล้ายสตรีหมดประจำเดือนทุก
เดือนเป็นเวลา 6 เดือน จะสามารถลดขนาดของเนื้องอกได้
ร้อยละ 55 แต่เนื้องอกก็อาจจะกลับโตขึ้นมาอีกได้ หลังหยุดการ
รักษา

3. การผ่าตัด : ….>>>>
@ ข้อบ่งชี้ …..>>>>>

* เลือดออกผิดปกติจากมดลูก เนื่องจากผลของเนื้องอก
* อาการปวด ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงย่อยสลายภายในเนื้อเยื่อของเนื้อ
งอก หรือ การบิดตัวของเนื้องอก
* ขนาดของเนื้องอก ถ้าโตมากกว่า 15 ซม. หรือเนื้องอกโตเร็วมาก โดยเฉพาะ
ในสตรีที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
* อาการและอาการแสดง เนื่องจากการกดทับไปบนกระเพาะปัสสาวะ, ลำไส้,
หลอดไต เช่น หลอดไตบวมโต (HYDROURETER) เป็นต้น
* ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น การแท้งบ่อย ๆ

@ วิธีการผ่าตัด …..>>>>> ขึ้นอยู่กับ อายุ,อาการ และความต้องการมีบุตรของผู้ป่วย

1. การผ่าตัดเฉพาะเนื้องอก (MYOMECTOMY) ในกรณีที่ยังต้องการมีบุตร เช่น กรณี
เนื้องอกมดลูกยื่นเข้าไปในโพรงมดลูก (SUBMUCOUS MYOMA)

* โอกาสกลับเป็นซ้ำ ร้อยละ 30 ในระยะเวลา 10 ปี
* โอกาสตั้งครรภ์ภายหลังผ่าตัดร้อยละ 40

2. การตัดมดลูกออกทั้งหมด (HYSTERECTOMY) ถ้ามีข้อบ่งชี้และสตรีผู้นั้นมีบุตร
เพียงพอแล้ว วิธีนี้ถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุด

* ก่อนตัดมดลูก ควรทำการขูดมดลูกก่อน เพื่อหาสาเหตุอื่นที่อาจมีร่วมกัน เช่น
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกและอื่น ๆ
* ในการตัดมดลูกออกทั้งหมดนั้น ควรทำการผ่าตัดรักษาโรคที่เกิดขึ้นร่วมกันกับ
เนื้องอกมดลูกชนิดนี้ไปด้วย เช่น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเกาะผิดที่ เป็นต้น
* รังไข่ในสตรีที่อายุต่ำกว่า 45 ปี ไม่ควรตัดทิ้งไปด้วย เพราะมีหลักฐานเพียง
เล็กน้อยเท่านั้นที่เกิดเป็นมะเร็งรังไข่ภายหลังผ่าตัดมดลูก และรังไข่ยังทำหน้า
ที่ให้ฮอร์โมนแก่สตรีเหล่านี้ได้อีกนานหลายปี

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&
พ.ต.อ.นพ.เสรี ธีรพงษ์ ผู้เขียน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *