ผลกระทบทางสุขภาพของผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ (2)

ผลกระทบทางสุขภาพของผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
โดย พ.ต.อ. นพ. เสรี ธีรพงษ์
ศาสตราจารย์ นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์
ศาสตราจารย์ นพ. สมภพ ลิ้มพงศานุรักษ์
อาจารย์ วีนัส อุดมประเสริฐกุล

ผลการศึกษา
นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ถึง 30 กันยายน 2548 มีเหยื่อของการล่วงละเมิดทางเพศจำนวน 1251 ราย ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลตำรวจ ในจำนวนนี้ มีผู้เสียชีวิต 9 ราย, เหยื่อที่ยังมีชีวิตอยู่จำนวน 1242 รายที่มายังห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลตำรวจ, มี 1089 รายที่มาติดตาม ส่วนที่เหลืออีก 153 รายไม่มาตามนัดหมาย
เหยื่อผู้เสียหายเพียง 905 รายจาก 1089 รายที่เป็นเหยื่อผู้ถูกข่มขืน และมีเพียง 751 รายเท่านั้นที่อยู่ในข่ายให้เราศึกษาได้ แต่มีเพียง 377 รายที่ขอเข้าร่วมในการศึกษา. ในจำนวนนี้ มีเด็กชาย 1 ราย ทำให้เหลือเหยื่อที่นำมาศึกษา เพียง 376 รายเท่านั้น (รูปภาพ1)

รูปภาพ 1.

ตาราง 1. ลักษณะเฉพาะของเหยื่อผู้เสียหาย
ลักษณะเฉพาะ ………. จำนวน………. เปอร์เซนต์
1. อายุ [จำนวนทั้งหมด= 376]
1 – 9 yrs………. 22 …….. 5.9
10 – 14 yrs………. 119……….31.6
15 -19 yrs………. 140 ………. 37.2
20 – 29 yrs………. 65 ………. 17.3
30 – 60 yrs………. 30 ………. 8.0

2. สถานภาพ [จำนวนทั้งหมด= 376]
โสด ………. 323………. 85.9
แต่งงาน ………. 23……….. 6.1
แฟน/คบหาอยู่ด้วยกัน ……….18 ………. 4.8
หย่า/แยก/หม้าย ………. 12………. 3.2
3. การศึกษาจบชั้นสูงสุด [จำนวนทั้งหมด= 368]
ระดับประถม (1 – 6 ปี)……….100………. 27.2
ระดับมัธยมตอนต้น (7 – 9 ปี)……….167 ……….45.4
ระดับมัธยมตอนปลาย (10 -12 ปี)……..66 ……….17.9
วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย (13 ปีและมากกว่า )..35 ………. 9.5

4. อาชีพ [จำนวนทั้งหมด= 372]
เด็ก (ต่ำกว่า 8 ปี)………. 17………. 4.5
นักเรียน ………. 190………. 51.1
รับจ้าง ………. 122………. 32.8
ตกงาน………. 43………. 11.6
5. การพักอาศัย [จำนวนทั้งหมด= 349]
อยู่คนเดียว………. 29……….8.3
อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ……….193……….55.3
อาศัยอยู่กับญาติ………. 76……….21.8
อาศัยอยู่กับคู่ครอง……….32……….9.2
อาศัยอยู่กับคนอื่น, เพื่อน, คู่ขา…………. 19……….5.4

6. ระยะเวลาจากเหตุการณ์จนถึงโรงพยาบาลตำรวจ
[จำนวนทั้งหมด= 376]
ภายใน 72 ชั่วโมง ………. 291………. 77.4
ระหว่าง 72 ชั่วโมง ถึง 7 วัน………. 55………. 14.6
ระหว่าง 7 วัน ถึง 14 วัน……….30………. 8.0

ตารางที่ 1 แสดงถึง ลักษณะเฉพาะของเหยื่อจำนวน 376 ราย, 85.9% เป็นโสด และเกือบทุกรายอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 15 – 19 (37.2%), และ 10 – 14 (31.6%) ปี. เกือบครึ่งหนึ่งของเหยื่อ (45.4%) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ขณะที่ อีก ประมาณ 1 ใน 4 จบการศึกษาระดับประถมต้น (27.2%). ครึ่งหนึ่งของเหยื่อผู้เสียหายเป็นนักเรียน (51.1%), 28.5% เป็นคนงานลูกจ้าง และ 11.6% ไม่มีงานทำ. เหยื่อส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับพ่อแม่ /ญาติผู้ใหญ่, สวมใส่เสื้อผ้าธรรมดา ไม่โป้ ,ไม่ติดยาเสพติด หรือพิการร่างกาย และไม่ชอบใช้ชีวิตกลางคืน. เกือบ 3 ใน 4 ของทั้งหมด (77.4%) มาโรงพยาบาลภายใน 72 ชั่วโมงหลังถูกล่วงละเมิด. การข่มขืนส่วนใหญ่เกิดขึ้น ณ ที่พักของผู้ถูกกล่าวหา (41.7%) และที่พักของเหยื่อผู้เสียหาย (21.8%).

รายละเอียดเกี่ยวกับการบาดเจ็บของเหยื่อได้แสดงไว้แล้วในตารางที่ 2 เหยื่อผู้เสียหายจำนวน 143 ราย (38.0%, 95%CI, 33.1%, 42.9%) ไม่ได้รับบาดเจ็บทางร่างกายเลย ในจำนวน 233 รายของเหยื่อ (62.0%, 95%CI, 57.1%, 66.9%) ผู้ซึ่งได้รับบาดเจ็บทางร่างกายนั้น มี 70 ราย (18.6%, 95%CI, 14.7%, 22.5%) ได้รับบาดเจ็บเฉพาะในส่วนร่างกายทั่วไป[non genital injuries only] เท่านั้น (ไม่ใช่ส่วนของอวัยวะเพศ), อีก 111 ราย (29.5%, 95%CI, 24.9%, 34.1%) ได้รับบาดเจ็บเฉพาะส่วนของอวัยวะเพศ[genital injuries only] และ 52 ราย (13.9%, 95%CI,10.3%, 17.3%) ได้รับบาดเจ็บทั้งอวัยวะเพศและร่างกายทั่วไป [both non genital and genital injuries]. ในจำนวน 122 รายที่ได้รับบาดเจ็บตามร่างกายทั่วไป มี 111 รายที่ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย ในขณะที่อีก 11 รายได้รับบาดเจ็บระดับป่านกลาง โดย
บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด ได้แก่ ส่วนของลำตัว (body part) .ทั้งในระดับเล็กน้อย(14.6%) และปานกลาง (2.1%). บริเวณร่างกายส่วนอื่นที่ได้รับบาดเจ็บเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ทั้งระดับเล็กน้อยและปานกลาง พบได้ดังนี้ คือ ส่วนคอ (11.2%,1.1%), ส่วนแขน (11.7%,0.5%), สวนขา (13.6%,0.3%), ใบหน้า (7.7%,1.1%) และส่วนหัว (4.8%,0.5%) ตามลำดับ. ทั้ง 163 รายที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณอวัยวะเพศ (ส่วนใหญ่ คือ ปากช่องคลอด) เป็นลักษณะบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย. โดยแบ่งเป็น ส่วนเยื่อพรหมจารีย์ (hymen) 27.8%, แคมใน (labia minor) 19%, แคมนอก (labia major) 9%, ช่องคลอด (vagina) 6.5% และรูทวารหนัก (anal area) 2.1%. ในส่วนของรูทวารหนัก ก็เป็นการได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเช่นกัน. เหยื่อผู้เสียหายทุกราย ได้รับการรักษาเพียงแค่ที่หน่วยผู้ป่วยนอกและกลับบ้านได้เลย. ยกเว้นเพียงรายเดียวที่ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ เป็นเวลา 3 วัน ผู้ป่วยอายุ 23 ปี ถูกข่มขืน โดยการทำร้ายร่างกายจากคนแปลกหน้าเมื่อเวลาประมาณ 1 นาฬิกาของเช้าวันใหม่ หล่อนได้รับบาดเจ็บระดับปานกลาง ที่บริเวณใบหน้า ศีรษะ คอ และลำตัว ผู้ป่วยได้นอนพักโรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการ เผื่อว่า อาจจะมีการบาดเจ็บที่รุนแรง เช่น เลือดออกที่สมอง และเพื่อฟื้นฟูทางด้านจิตใจ
เมื่อเหยื่อผู้เสียหายมาโรงพยาบาลเป็นครังแรก ผู้ป่วยจำนวน 8 ราย (2.9%, 95%CI, 0.9%, 4.9%) ติดเชื้อหนองใน (N gonorrhoeae infection) และ 3 ราย (1.1%, 95%CI, -0.1%, 2.3%) ติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด (Trichomonas Vaginalis infection). ผลการตรวจเลือดทุกรายสำหรับโรคซิฟิลิส ( VDRL) ไม่พบมีการติดเชื้อ. มีเพียงเหยื่อผู้เสียหายรายเดียวที่มีการตรวจเลือดเอดส์เมื่อแรกมาโรงพยาบาลให้ผลบวก
เหยื่อจำนวน 258 ราย (68.9%) เท่านั้น ที่มาตามนัดในอีก 2 สัปดาห์ถัดมาหลังตรวจครั้งแรก. 6 รายได้รับการตรวจ พบว่า เป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ประเภทกามโรค [Neisseria gonorrhoeae] (3.0%, 95%CI, 0.7%, 5.3%), 3 ราย มีการติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด [Trichomonas Vaginalis] (1.5%, 95%CI, -0.2%, 3.2%), และ 4 รายมีการติดเชื้อในช่องคลอดลักษณะเป็นตกขาว [bacterial vaginosis] (1.6%, 95%CI, 0.1%, 3.1%). แต่ไม่พบมีเหยื่อคนใดเลยที่มีการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน [Pelvic inflammatory diseases].
เหยื่อที่มาตรวจตามนัด 3 เดือนหลังถูกล่วงละเมิด มีเพียง 160 ราย, ทุกคนมีผลเลือด ให้ผลลบ ทั้งโรคซิฟิลิส และเอดส์ (VDRL and antiHIV).
เหยื่อจำนวน 5 ราย (1.4%) พบว่า มีการตั้งครรภ์ ณ ขณะมาตรวจครั้งแรก. ทั้ง 5 ราย ได้รับการทำแท้งให้ เพราะการตั้งครรภ์นั้นยังมีอายุครรภ์น้อย และเหยื่อทุกรายมีความรู้สึกกลัวเกี่ยวกับ การติดเชื้อเอดส์ทิ่อาจติดมา. ยิ่งกว่านั้น พวกเธอเหล่านั้นยังรู้สึกขยะแขยงกับการต้งครรภ์เหล่าน้นด้วย. เมื่อเหยื่อมาเข้ารับการตรวจตามนัด 2 สัปดาห์หลังถูกข่มขืน พบว่า 4 จาก 237 ราย (1.7%, 95%CI, 0.1%%, 3.3%) มีการตั้งครรภ์ ซึ่งสรุปว่า ทั้ง 9 ราย ได้รับการทำแท้งให้ทั้งหมด.

ตาราง 2. ชนิดของการบาดเจ็บ
ชนิดของการบาดเจ็บ ……… จำนวน ……….เปอร์เซนต์
1. ไม่มีการบาดเจ็บ [จำนวนทั้งหมด=376]……….143 ………. 38.0
2.บาดเจ็บทั้งส่วนร่างกายและอวัยวะเพศ [จำนวนทั้งหมด=376] ………. 52 ………. 13.8
3.บาดเจ็บส่วนร่างกายเท่านั้น
[จำนวนทั้งหมด=376] ………. 70 ………. 18.6
4. บริเวณร่างกายทั่วไปที่ได้รับบาดเจ็บ [Non – genital Injured area]
ใบหน้า [จำนวนทั้งหมด= 376] ………. 33 ………. 8.8
– ระดับเล็กน้อย………. 29………. 7.7
– ระดับปานกลาง………. 4………. 1.1
ส่วนคอ [จำนวนทั้งหมด= 376]……….46 ……….12.3
– ระดับเล็กน้อย………. 42………. 11.2
– ระดับปานกลาง……….4 ………. 1.1
ส่วนหัว [จำนวนทั้งหมด= 376]……….20 ……….5.3
– ระดับเล็กน้อย………. 18………. 4.8
– ระดับปานกลาง……….2 ………. 0.5
ลำตัว [จำนวนทั้งหมด= 376]……….63 ………. 16.7
– ระดับเล็กน้อย………. 55 ………. 14.6
– ระดับปานกลาง………. 8 ………. 2.1
ส่วนแขน [จำนวนทั้งหมด= 375]……….46……….12.2
– ระดับเล็กน้อย………. 44……….11.7
– ระดับปานกลาง………. 2 ……….0.5
ส่วนขา [จำนวนทั้งหมด= 376]………. 52 ………. 13.9
– ระดับเล็กน้อย………. 51 ………. 13.6
– ระดับปานกลาง………. 1 ………. 0.3
5. บาดเจ็บเฉพาะอวัยวะเพศ
[จำนวนทั้งหมด=377] ………. 111 ………. 29.5
6. บริเวณอวัยวะเพศที่ได้รับบาดเจ็บ
แคมนอก (Labia majora) [จำนวนทั้งหมด= 368]………. 33………. 9.0
แคมใน ( Labia minora) [จำนวนทั้งหมด= 369]………. 70………. 19
ช่องคลอด [จำนวนทั้งหมด= 370] ………. 24 ………. 6.5
เยื่อพรหมจารีย์ (แผลใหม่) [จำนวนทั้งหมด= 370] ………. 103 ………. 27.8
รูทวาร [จำนวนทั้งหมด= 330]………. 7 ………. 2.1

หมายเหตุ รายละเอียดจะเป็นภาคภาษาอังกฤษ อยู่ใน จดหมายเหตุทางการแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย (จพสท) ฉบับที่ Vol 92 No7 July 2009 เรื่อง Physical Health Consequences of sexual assault victims ของแพทย์สมาคม หน้าที่ 885 -890 สามารถค้นได้ที่ http://www.mat.or.th./journal รายละเอียดที่มากกว่านั้น ดูจากวิทยานิพนธ์ เรื่อง “ผลทางสุขภาพของผู้๔กล่วงสละเมิดทางเพศที่มาโรงพยาบาลตำรวจแห่งประเทสไทย” ปีการศึกษา 2548 ISBN 974-143744-7 หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาชีวิต คระแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อ่านต่อใน ผลกระทบทางสุขภาพของผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ (3)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *