การกระตุ้นไข่และชักนำให้ไข่ตก (OVULATION INDUCTION)

การกระตุ้นไข่และชักนำให้ไข่ตก (OVULATION INDUCTION)

\”ทำไมต้องกระตุ้นไข่ด้วย?\” เป็นคำถามที่มักค้างคาใจคนไข้มีลูกยากทั้งหลาย ก็ใน
เมื่อปกติดีทุกอย่าง คำตอบที่ได้รับ มักจะเป็นว่า \”เพื่อให้ได้ไข่หลาย ๆ ใบ เพิ่มโอกาสในการตั้ง
ครรภ์ไงละ\” อาจมีคำถามต่อไปว่า \”สตรีทุกคนมี \”ไข่\” ตกเพียงใบเดียวในแต่ละเดือนมิใช่หรือ\”
ความจริง คือ ธรรมชาติของมนุษย์นั้นมีกระบวนการสร้างไข่ที่สลับซับซ้อน โดยในช่วง
ก่อนที่จะมีประจำเดือน ก็มีการเจริญของเซลล์ \”ไข่\” แล้ว \”ไข่\” ในระยะแรกเริ่มเดิมทีนั้น
(PRIMODIAL FOLLICLE) เจริญขึ้นมาเองมากมายด้วยกลไกอะไรไม่ทราบได้ โดยใช้เวลา
นานประมาณ 10 สัปดาห์ ก็จะได้เซลล์ไข่ระยะเริ่มต้นที่พอจะกระตุ้นได้ (ANTRAL FOLLICLE)
ซึ่งตรงกับช่วงที่สตรีกำลังมีประจำเดือนพอดี โดยปกติเซลล์สืบพันธ์ระยะเริ่มแรกของ \”ไข่\”
(PRIMODIAL FOLLICLE) จำนวนหลายพันใบ จะมีการเจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อย ๆ แต่จะไม่เกิน
ข้างละ 20 ใบเท่านั้น ที่ยังเหลืออยู่เมื่อเริ่มต้นของรอบระดูใหม่
การเจริญเติบโตของ \”ไข่\” เมื่อเริ่มต้นของรอบระดู (ANTRAL FOLLICLE) จำเป็น
จะต้องได้รับการกระตุ้นด้วย \”คำสั่งหรือสัญญาณจากสมอง\” (GONADOTROPIN : FSH & LH)
เท่านั้น จึงจะเจริญเติบโตต่อไปได้
คำสั่งหรือสัญญาณจากสมอง (GONADOTROPIN) นี้ สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
(ANTERIOR PITUITARY) ดังนั้น จึงเป็น ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (PITUITARY
HORMONE) ชนิดหนึ่ง และจะถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนจากสมองส่วน HYPOTHALAMUS อีกที
(NEUROHORMONE)
ฮอร์โมนจากสมองส่วน HYPOTHALAMUS (NEUROHORMONE) ที่ควบคุมการสร้าง
สัญญาณจากสมอง (GONADOTROPIN) มีชนิดเดียวเฉพาะเท่านั้น เรียกว่า GONADOTROPIN
RELEASING HORMONE ซึ่งเรียกง่าย ๆ ว่า GnRH (จี.เอ็น.อาร์.เอช.)
\”ไข่\” ที่เจริญขึ้นมาตั้งแต่เริ่มต้นของรอบเดือน จะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมาก
ขึ้น ตามขนาดและจำนวน ของ \”ไข่\” ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะมีผลกระตุ้นเยื้อบุโพรงมดลูกให้
เจริญหนาขึ้นตามลำดับ
โดยทั่วไป เอสโตรเจน หรือ เอสโตรเจน ร่วมกับ โปรเจสเตอโรน ที่มีระดับสูงนั้น จะ
มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่ง GONADOTROPIN (NEGATIVE FEEDBACK) แต่ในระยะกลางรอบเดือน
ระดับเอสโตรเจนที่มากเกินกว่า 200 พิโครกรัม ต่อมิลลิลิตรขึ้นไป ประกอบกับความเข้มข้นคงอยู่
ในระดับนี้นานมากกว่า 50 ชั่วโมง แทนที่จะส่งผลกดการหลั่งของ LH กลับกลายเป็นการชักนำ
ให้เกิดการกระตุ้นให้หลั่งสาร LH ในปริมาณมาก ๆ (POSITIVE FEEDBACK) เกิดภาวะที่เรียก
ว่า \”LH SURGE\” ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่มีผลทำให้ \”ไข่\” ตกในระยะเวลาประมาณ 24-36
ชั่วโมงต่อมา
ตำแหน่งที่ \”ไข่\” ตกในรังไข่ จะเปลี่ยนเป็นส่วนที่เรียกว่า \”CORPUS LUTEUM\”
ทำหน้าที่สร้างและหลั่ง ฮอร์โมนเพศ เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนออกมา
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ออกฤทธิ์กดการหลั่งของ GnRH (NEGATIVE FEEDBACK)
ขณะเดียวกัน จะมีผลทำให้เยื้อบุโพรงมดลูก เปลี่ยนแปลงสภาพภายในให้เหมาะสมแก่การฝังตัว
ของ \”ตัวอ่อน\”
หลักเกณฑ์ในการกระตุ้นให้มีการตกไข่
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ รังไข่ ยังทำงานอยู่ คือ ยังมี \”ไข่\” และสามารถสร้างฮอร์โมน
เพศได้ สตรีที่สมควรได้รับการกระตุ้นและชักนำให้ไข่ตก ได้แก่
1. สตรีที่มีความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น
1.1 มีความผิดปกติที่ระดับสั่งการบริเวณ HYPOTHALAMUS มักเกี่ยวข้องกับความ
เครียด น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป
1.2 มีความผิดปกติที่ระดับสั่งการ บริเวณต่อมใต้สมอง เช่น มีเนื้องอกของต่อม
ใต้สมอง
2. สตรีทีมีความผิดปกติในเรื่องของการตกไข่ คือ \”ไข่\” ไม่ตก (ANOVULATION)
เช่น โรค Polycystic ovarian disease

กระตุ้นไข่และชักนำให้ไข่ตก มี 3 แนวทางด้วยกัน
แนวทางที่ 1 กระตุ้นที่ระบบสั่งการในสมอง
แนวทางที่ 2 กระตุ้นที่รังไข่โดยตรง
แนวทางที่ 3 ใช้ทั้งสองแนวทางร่วมกัน
แนวทางที่ 1 กระตุ้นที่ระบบสั่งการที่สมอง ได้แก่ การกระตุ้นที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้า
และ/หรือ HYPOTHALAMUS
ยา หรือสารที่ทำหน้าที่กระตุ้น ได้แก่ ยา Clomiphene citrate,ฮอร์โมนจาก
HYPOTHALAMUS (GnRH) และ BROMOCRIPTINE
CLOMIPHENE CITRATE เป็นสารประเภทต่อต้านฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดหนึ่ง
(ANTIESTROGENIC AGENTS) ออกฤทธิ์โดยการไปแย่งที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนในการจับจุดรับ
บริเวณที่เอสโตรเจนออกฤทธิ์ (ESTROGEN RECEPTER) ตำแหน่งต่าง ๆ เช่น HYPOTHALAMUS
ต่อมใต้สมอง รังไข่ และมดลูก
สำหรับที่ตำแหน่ง HYPOTHALAMUS และต่อมใต้สมองจะมีผลทำให้มีการหลั่ง GnRH
และ GONADOTROPIN มากขึ้น ทำให้เกิดการกระตุ้นไข่มากขึ้นและไข่ที่เจริญขึ้นมาจำนวนมาก แต่
เดิมนั้น ไม่ฝ่อไปจนเกือบหมดตามกลไกธรรมชาติ เหลือไข่ที่เติบโตจนได้ขนาดเหมาะสมหลายใบ
ไข่เหล่านั้นมีคุณสมบัติในการปฏิสนธิได้ดีเช่นเดียวกัน
ข้อบ่งชี้ในการใช้ CLOMIPHENE CITRATE
1. สตรีมีลูกยากที่เกิดจากภาวะไข่ไม่ตก โดยเฉพาะกลุ่มที่ระบบสั่งการจากสมอง
ทำงานได้ไม่ดี เท่าที่ควร (HYPOTHALAMIC PITUITARY DYSFUNCTION) และโรคของรังไข่
POLYCYSTIC OVARIAN DISEASE
2. สตรีที่มีไข่ตกไม่สม่ำเสมอ และ/หรือ มีภาวะการทำงานของ CORPUS LUTEUM
บกพร่อง
3. เพื่อกำหนดระยะเวลาในการคัดเชื้อ & ฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก (ARTIFICIAL
INSEMINATION)
4. ใช้กระตุ้นไข่ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IN VITRO FERTILIZATION)
วิธีการใช้ยา
โดยเริ่มรับประทานยาในวันที่ 2 ถึง 5 ของรอบประจำเดือน จากนั้นก็ติดตามดูการ
เจริญเติบโตของ \”ไข่\” ด้วยการดูอัลตราซาวน์ผ่านทางช่องคลอด หรือร่วมกับการเจาะเลือดดู
ฮอร์โมนที่ไข่สร้าง เมื่อไข่โตได้ขนาดที่เหมาะสม ไข่อาจจะตกออกมาเองด้วยกลไกทางธรรมชาติ
หรือบังคับโดยให้ยาเพื่อชักนำให้ไข่ตกตามเวลาที่เราต้องการก็ได้
ข้อห้ามในการใช้ CLOMIPHENE CITRATE
1. สตรีที่ตั้งครรภ์
2. โรคตับ เนื่องจากยาถูกทำลายที่ตับ
3. เลือดออกผิดปกติ จากโพรงมดลูก
ผลสำเร็จจากการรักษา
พบว่า อัตราการตกไข่ประมาณร้อยละ 80 และมีการตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 40 ใน
จำนวนนี้ พบครรภ์แฝดได้ร้อยละ 5 การตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักจะเกิดภายใน 3-6 เดือนแรก
ข้อเสียและภาวะแทรกซ้อน
เนื่องจาก Clomiphene เป็นสารต่อต้านฮอร์โมนเอสโตรเจน (ANTIESTROGEN)
จึงมีผลเสียต่อ คอมดลูกในเรื่องการตอบสนองฮอร์โมนเอสโตรเจน ส่งผลให้มูกที่คอมดลูกข้น เป็น
อุปสรรคในการผ่านไปของตัวอสุจิ นอกจากนั้นยังอาจมีผลเสียต่อเยื้อบุโพรงมดลูกด้วย
สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ ได้แก่
อาการร้อนวูบวาบ ท้องอืด ปวดท้อง เจ็บคัดเต้านม คลื่นใส้อาเจียน ตาพร่ามัว ปวด
ศรีษะ ผมร่วง รังไข่โตมาก จนถึงอาจเกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไปด้วย

DEPAMINE AGONIST : BROMOCRIPTINE
BROMOCRIPTINE เป็นสารที่มีสูตรโครงสร้างคล้าย DOPAMINE จึงออกฤทธิ์ที่ต่อมใต้
สมองส่วนหน้า ยับยั้งการหลั่ง PROLACTIN ได้เช่นเดียวกัน ในคนปกติ BROMOCRIPTINE จะ
สามารถออกฤทธิ์ลดระดับ PROLACTIN ได้ภายใน 1 ชั่วโมงหลังรับประทานยา และยับยั้งการ
หลั่งได้นานถึง 12 ชั่วโมง
วิธีใช้
โดยทั่วไป เริ่มให้ยาในขนาดต่ำก่อนเพื่อลดอาการข้างเคียงของยา ส่วนใหญ่จะให้วัน
ละครั้งในตอนเย็นหรือก่อนนอนพร้อมอาหาร เมื่อผู้ป่วยสามารถทนต่อยาได้ดี ก็ค่อย ๆ ปรับขนาด
ของยาตามความเหมาะสม โดยมีวิธีการให้ยาได้ 2 วิธี ดังนี้
เราอาจจะให้ยาติดต่อกันทุกวันจนกระทั่งผู้ป่วยตั้งครรภ์ หรือให้ยาเฉพาะช่วงแรกของ
การมีระดูจนถึงเวลาที่มีไข่ตกแล้วหยุดยา และให้ใหม่ในรอบระดูถัดไปเมื่อผู้ป่วยไม่ตั้งครรภ์ (หาก
กลัวผลของยาต่อตัวอ่อนในระยะแรก)
นอกจากนี้ยังอาจใช้ร่วมกับยา CLOMIPHENE CITRATE ในการกระตุ้นไข่รักษาคนไข้
ได้ด้วย
ในสตรีมีลูกยากที่มีข้อบ่งชี้ให้รักษาด้วยยา BROMOCRIPTINE พบว่า เมื่อใช้ร่วมกันจะ
สามารถชักนำให้ไข่ตกและตั้งครรภ์ได้ถึงร้อยละ 80 โดยไม่พบว่า ยานี้มีผลต่อความพิการของ
ทารกแต่อย่างใด หากไม่ตั้งครรภ์ใน 6 เดือน ควรหาสาเหตุอื่นร่วมด้วย
อาการแทรกซ้อน ที่พบบ่อย ได้แก่ คลื่นใส้ อาเจียน เป็นลมเวลาลุกขึ้นนั่งหรือยืน
เร็ว ๆ มึนงงศรีษะ ปวดศรีษะ ท้องร่วง

GnRH (GONADOTROPIN RELEASING HORMONE)
GnRH เป็นฮอร์โมนที่สร้างบริเวณ HYPOTHALAMUS ออกฤทธิ์ที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้า
ให้สร้างและหลั่ง GONADOTROPIN (FSH & LH) เพื่อไปกระตุ้นรังไข่ให้ผลิต \”ไข่\” อีกที
ดังนั้น ผู้ป่วยที่เหมาะสำหรับการรักษาด้วย GnRH จึงต้องมีต่อมใต้สมอง และรังไข่
ทำงานปกติ เพื่อสามารถตอบสนองต่อ GnRH ได้
เมื่อให้ GnRH ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะกระตุ้นการทำงานของต่อมใต้สมอง
เฉพาะในช่วงแรกเท่านั้น หลังจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นกดการทำงานของต่อมใต้สมอง อันเป็นผลให้
ระดับ GONADOTROPIN ที่สูงขึ้นในระยะแรกค่อย ๆ ลดลงตามลำดับ
การรักษาด้วย GnRH แบบเป็นจังหวะจะใช้ได้ผลดีในกรณีที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติของ
HYPOTHALAMUS ในเรื่องการหลั่ง GnRH ซึ่งส่วนใหญ่จะมาหาแพทย์ด้วยเรื่องขาดระดู
นอกจากนี้ยังใช้รักษาภาวะต่าง ๆ ดังนี้
1. สตรีที่มีระดับ PROLACTIN ในเลือดสูงเกิน
2. ผู้ป่วยโรค POLYCYSTIC OVARIAN DISEASE บางรายที่ไม่ตอบสนองต่อยา
CLOMIPHENE CITRATE
3. กระตุ้นการเจริญเติบโตของ FOLLICLES ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว
4. ภาวะที่มีการทำงานของ CORPUS LUTEUM บกพร่อง
วิธีการใช้ยา GnRH เพื้อกระตุ้นไข่และชักนำให้ไข่ตก ทำได้โดยเลียนแบบธรรมชาติ
คือ ให้ GnRH ทุก ๆ 60-120 นาที โดยใช้เครื่องฉีดอัตโนมัติ ฉีดเข้าใต้ชั้นผิวหนังหรือหลอดเลือด
ดำ จะให้เช่นนี้ไปตลอดจนกระทั่งตั้งครรภ์หรือจนกระทั่งไข่ตกแล้วหยุดก็ได้ ส่วนใหญ่นิยมให้ยาใน
วันที่ 5 ของรอบระดู
ผลการตั้งครรภ์
ผลการรักษาเท่าที่มีรายงานตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 ถึง 1984 จำนวน 36 รายงาน
จำนวนผู้ป่วย 388
จำนวนรอบรักษา 916
จำนวนการตั้งครรภ์ 216 (ร้อยละ 56)
จำนวนครรภ์แฝด 16 (ร้อยละ 7.3)
แท้งบุตร 31 (ร้อยละ 14)
ภาระรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป 10 (ร้อยละ 1.1)
สำหรับความพิการของทารก เท่าที่ผ่านมา ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้
ภาวะแทรกซ้อน พบน้อยและไม่รุนแรง เช่น มีการอักเสบของเส้นเลือด หรือก้อน
เลือดขังบริเวณที่ฉีดยา
ปัจจุบันนี้ การใช้ GnRH เพื่อกระตุ้นให้ไข่ตกมีไม่มากนัก เพราะต้องใช้ฉีดอย่างต่อ
เนื่อง และต้องมีข้อบ่งชี้จริง ๆ แต่ที่ใช้ GnRH มาก ๆ กลับเป็นการใช้เพื่อหวังผลกด การทำงาน
ของระบบสั่งการในสมองส่วน HYPOTHALAMUS ร่วมกับการกระตุ้นรังไข่ด้วยยา GONADOTROPIN
(FSH & LH) เพื่อทำกี๊ฟหรือเด็กหลอดแก้ว
แนวทางที่ 2 กระตุ้นไข่โดยตรง
GONADOTROPIN ( FSH & LH) : HUMAN MENOPUASAL GONADOTROPIN
สารสังเคราะห์ GONADOTROPIN ผลิตได้จากการแยกจากปัสสาวะของสตรีวัยหมด
ระดู (HUMAN MENOPUASAL GONADOTROPIN) ซึ่งมีระดับ FSH และ LH สูง แต่ในปัจจุบัน
แหล่งผลิตโดยอาศัยปัสสาวะจากสตรีวัยหมดระดู หายากขึ้นทุกที จึงต้องหาแหล่งผลิตใหม่ที่ใหญ่กว่า
คือ พวกจุลินทรีย์ ที่มีไม่จำกัด (RECOMBINANT DNA)
สารสกัด FSH และ LH เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดในคนเรา จะมีระยะครึ่งชีวิตประมาณ
3-4 ชั่วโมง และ 42-60 นาที ตามลำดับ เพราะฉะนั้นในธรรมชาติ จึงต้องมีการสร้างสาร
จำพวก GONADOTROPIN อย่างรวดเร็ว เพื่อทำให้มีการสะสมและหลั่งฮอร์โมนเป็นไปตามปกติ
ข้อบ่งชี้ในการใช้ GONADOTROPIN
– คนไข้ที่ไม่มีการตกไข่
– กระตุ้นไข่ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว และเทคโนโลยี่การเจริญพันธุ์ชั้นสูงอื่น ๆ
– คนไข้มีมูกบริเวณมดลูกไม่ดี
– คนไข้ที่มีการทำงานของ CORPUS LUTEUM บกพร่อง
วิธีการใช้
1. ใช้ยาในขนาดคงที่
2. ปรับขนาดยาตามการตอบสนองของคนไข้แต่ละราย
3. ให้ยาแบบเป็นจังหวะ
4. ใช้ร่วมกับยาอื่น
การใช้ยาในขนาดคงที่ โดยให้ HMG (HUMAN MENOPUASAL GONADOTROPIN)
ในขนาดเท่ากันทุกวันหรือวันเว้นวัน จนไข่มีขนาดและระดับฮอร์โมนที่เหมาะสม จึงให้ HCG
(HUMAN CHORIONIC GONADOTROPIN) กระตุ้นให้ไข่ตกตามเวลาที่ต้องการ
การปรับขนาดยาตามการตอบสนองของผู้ป่วยแต่ละราย ทำได้โดยให้ HMG ร่วมไปกับ
การตรวจสอบผลอื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กัน เช่น ตรวจมูกที่ปากมดลูก,ระดับ ESTROGEN และขนาด
ของไข่โดยใช้อัลตราซาวน์
การให้แบบเป็นจังหวะ โดยใช้เครื่องฉีดอัตโนมัติ เลียนแบบการหลั่งตามธรรมชาติ
ในระยะก่อนไข่ตก จะมีการหลั่งทุก 1-2 ชั่วโมง เมื่อ \”ไข่\” มีขนาดและฮอร์โมนเพศที่เหมาะสม
ก็ฉีดยา HCG กระตุ้นให้ไข่ตกออกมา
การให้ร่วมกับยาอื่น เช่น CLOMIPHENE CITRATE หรือ GnRH AGONIST เพื่อ
กระตุ้นไข่ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว,กี๊ฟ หรือเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ขั้นสูงอื่น ๆ
การให้ HMG ในการกระตุ้นไข่ จะทำให้ได้ \”ไข่\” จำนวนมาก และปริมาณ
เอสโตรเจนในขนาดที่สูงด้วย จนอาจเกิดการชักนำให้เกิด LH SURGE ขึ้นมาเองตามธรรมชาติ
อันอาจเป็นผลเสียมากกว่าเป็นผลดี ดังนั้นการให้ GnRH AGONIST ร่วมด้วยเพื่อใช้ยังยั้งการหลั่ง
GONADOTROPIN (FSH & LH) จากสมอง จะเป็นการช่วยไม่ให้มีการเกิด LH SURGE ขึ้นเอง
ตามธรรมชาติ เป็นประโยชน์อย่างมากในการควบคุมให้ \”ไข่\” ที่เจริญขึ้นมาทั้งหมดถูกนำไปใช้ให้
เกิดการปฏิสนธิได้อย่างเหมาะสม
การติดตามผู้ป่วยระหว่างการรักษาด้วย GONADOTROPIN
@ การติดตามการเจริญเติบโตของ \”ไข่\”
– ระดับเอสโตรเจน
– การติดตามดูด้วยอัลตราซาวน์
– การตรวจดูมูกที่ปากมดลูก
@ การประเมินการทำงานของ CORPUS LUTEUM
– อุณหภูมิร่างกายพื้นฐาน
– ระดับโปรเจสเตอโรน
ภาวะแทรกซ้อน ที่สำคัญ ได้แก่ ครรภ์แฝด และภาวะที่รังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป
สำหรับครรภ์แฝดพบได้ร้อยละ 25 โดยมีร้อยละ 5 ที่มีครรภ์แฝดสามหรือมากกว่า
ผลการรักษา
อัตราการตกไข่จากการใช้วิธีนี้สูงถึงร้อยละ 90 แต่ก็ขึ้นอยู่กับการคัดเลือกผู้ป่วย วิธี
การรักษา และติดตามการรักษา
ผลการตั้งครรภ์
อัตราการตั้งครรภ์แตกต่างกันไประหว่างร้อยละ 23-82 แล้วแต่ลักษณะพยาธิสภาพ
ของผู้ป่วยและความถี่ห่างของการรักษา
อัตราการแท้งบุตรในผู้หญิงตั้งครรภ์ได้ใน GONADOTROPIN สูงกว่าปกติ โดยพบ
ประมาณร้อยละ 21 ซึ่งอาจเกิดเนื่องมาจาก
1. เยื้อบุโพรงมดลูกอาจไม่เหมาะในการฝังตัว
2. CORPUS LUTUEM ทำงานบกพร่อง
3. ครรภ์แฝด
4. ภาวะทางจิตใจ
อัตราความพิการของทารก ก็พอ ๆ กับในธรรมชาติ

PURE FSH (FSH 75 Unit + LH < 1 Unit) มีข้อบ่งชี้ คือ
1. ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะ POLYCYSTIC OVARIAN DISEASE เนื่องจากผู้ป่วย
เหล่านี้มีระดับของ LH สูงอยู่แล้ว
สำหรับอัตราการตกไข่และการตั้งครรภ์จากการใช้ PURE FSH พบว่า ไม่แตกต่าง
จากการใช้ HMG/HCG
2. ใช้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของ CORPUS LUTEUM บกพร่อง อันเป็นผลมาจากการ
เจริญเติบโตของ FOLLICLE ผิดปกติ โดยอาจเกิดจากระดับ FSH ในช่วงแรกของรอบระดูต่ำ
กว่าที่ควรจะเป็น
สำหรับอัตราการตั้งครรภ์สะสมเมื่อรักษาได้ 6 เดือน พบได้ ร้อยละ 48
3.ใช้ในการกระตุ้นไข่ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว พบว่า ผลไม่แตกต่างจากการ
ใช้ (CLOMIPHENE CITRATE)/ร่วมกับ HMG

แนวทางที่ 3 กระตุ้นที่ระบบควบคุมสั่งการร่วมกับกระตุ้นรังไข่โดยตรง เช่น การใช้
CLOMIPHENE CITRATE ร่วมกับ HMG หรือ PURE FSH เป็นต้น

การกระตุ้นไข่ ไม่ใช่เรื่องยากหรือแปลกประหลาดอะไร แท้จริงเป็นเพียงแต่การ
ทำให้สิ่งที่ร่างกายเรามีอยู่แล้ว คือ เซลล์ไข่ที่เจริญขึ้นมาเองอย่างมากมาย ไม่ถูกทอดทิ้งไปโดย
ไร้ประโยชน์ กลับยังสามารถนำมาใช้อย่างได้ผลดีด้วย ดังจะเห็นได้จาก มีการเกิดแฝดสองหรือ
แฝดสาม ขึ้นมาจากการรักษา จนทำให้ผู้คนเข้าใจผิดคิดว่า การกระตุ้นไข่เป็นการทำ \”เด็กแฝด\”
การกระตุ้นไข่และชักนำให้ไข่ตก แม้ว่าจะเป็นเรื่องไม่ยาก แต่ก็ควรอยู่ในมือของ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ มิฉะนั้นแล้ว หากเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นมา ก็อาจเป็นผลเสียต่อ
ร่างกาย จนยากแก่การเยียวยาแก้ไข

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
พ.ต.อ. นพ.เสรี ธีรพงษ์ ผู้เขียน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *