ดวงใจแม่

ดวงใจแม่

 

                      "ความรักในโลกนี้ มีมากมายหลายลักษณะ แต่จะมีความรักใดเทียบได้กับ ความรักที่แม่มีต่อลูก เพราะความรักของแม่นั้น กว้างไกลสุดขอบฟ้า มากมายกว่าน้ำในมหาสมุทร  บริสุทธิ์ ใสสะอาดและเต็มเปี่ยมด้วยความเสียสละ"  นี่คือ ความรู้สึกของหลาย ๆ คนในโลกนี้ รวมทั้ง ข้าพเจ้าด้วย น่าเสียดาย….ที่แม่บางคน จำเป็นต้องจากลูกน้อยไปก่อนเวลาอันควร   แม่ที่ว่านั้น  คือ แม่ที่ติดเชื้อเอช.ไอ.วี หรือเอดส์ นั่นเอง

             คนไทยจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ถึง ความก้าวหน้าในการรักษา แม่ที่กำลังตั้งครรภ์และติดเชื้อเอช.ไอ.วี ส่วนมากเข้าใจว่า "ลูกที่เกิดมาต้องเป็นเอดส์อย่างแน่นอน"     ความจริง แม้ว่า คุณแม่ที่ติดเชื้อเอช.ไอ.วี ขณะตั้งครรภ์จะไม่ได้รับการรักษาใด เลย   จนกระทั่งคลอด บุตรที่เกิดมาก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เอช.ไอ.วี เพียง 30% เท่านั้น หมายความว่า ทารก อีก 70% รอดพ้นจากการติดเชื้อเอดส์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปรกติสุขเหมือนเด็กธรรมดาทั่วไป

             โรคเอดส์พบครั้งแรก เมื่อปี ..2524 (..1981)   ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยตรวจพบในชายรักร่วมเพศ 5 คน ที่มลรัฐ LOS ANGELIS ปัจจุบัน มีผู้ติดเชื้อ เอช.ไอ.วี ถึง 30 ล้านคน  คาดการณ์ว่า ในปี ..2543 (..2000) จะมีผู้ติดเชื้อ เอช.ไอ.วีประมาณ 40-100 ล้านคน โดยมีอัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 16,000 คน

             สำหรับในประเทศไทย นับถึงเดือนมกราคม ..2542  มีผู้ติดเชื้อเอช.ไอ.วี ที่

สำรวจพบประมาณ 100,000 คน คาดว่า ตัวเลขของผู้ติดเชื้อที่แท้จริงอยู่ในราว 1 ล้านคน  ในจำนวนนี้มีสตรีจำนวนหนึ่งที่กำลังตั้งครรภ์อยู่

             ที่โรงพยาบาลตำรวจ จากสถิติที่รวบรวมพบว่า ประมาณร้อยละ 1 ของสตรีที่มาฝากครรภ์จะเป็นแม่ที่ติดเชื้อเอช.ไอ. ซึ่งเป็นไปได้ว่า ตามโรงพยาบาลต่างๆ คงมีอัตราที่ไม่แตกต่างกันนัก

             แต่ก่อน สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอช.ไอ.วี จะได้รับคำแนะนำให้ทำแท้งบุตร  ปัจจุบัน

เป็นที่แน่นอนแล้วว่า "คุณแม่ควรรับประทานยา AZT ตั้งแต่อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ขึ้นไป จนกระทั่งคลอด ซึ่งมีผลให้ลูกที่เกิดมามีโอกาสติดเชื้อเพียง 5% เท่านั้น" นี่คือ ผลงานวิจัย ซึ่งเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตำรวจ พร่ำบอกกับคนไข้       

             สภากาชาดไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทำการวิจัยพร้อมทั้งแจกจ่ายยา AZT ไปตามโรงพยาบาลต่าง ของรัฐกว่า 50 แห่ง  เพื่อให้คุณแม่ที่ติดเชื้อเอช.ไอ.วี ขณะตั้งครรภ์ รับประทานทุกวัน ตั้งแต่อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ขึ้นไป จนกระทั่งคลอด สำหรับทารกที่เกิดมา ทุกคนจะได้รับยา AZT รับประทานทุกวันเช่นเดียวกับแม่ เป็นเวลา 6 สัปดาห์  และได้รับการเจาะเลือดเป็นระยะ จนถึงอายุ 1 ขวบครึ่งหรือ 18 เดือน

 

จำนวนผู้ป่วยคลอดที่ติดเชื้อ HIV และทารกแรกคลอดที่ติดเชื้อ HIV

ของโรงพยาบาลตำรวจ ปี พ.. 2537-2540

 

••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

          ปี (..)               2537    2538    2539  2540 

••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

ผู้ป่วยคลอดทั้งหมด                     6241    6694    6423    5953 

ผู้ป่วยคลอดที่ติดเชื้อ HIV                  40      55      68      54 

•••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

คิดเป็น %                           0.641   0.822   1.059 0.907

••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

ทารกแรกคลอด                       6107    6516    6210    5785 

ทารกแรกคลอดที่ติดเชื้อ HIV จากมารดา       4      37      71      82  –••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

คิดเป็น %                           0.065   0.569   1.143   1.417

••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

 

               จำนวนผู้ป่วยคลอดที่ติดเชื้อ HIV แบ่งตามช่วงอายุ (ปี)

 

•••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

           ช่วงอายุ (ปี)           ปี (..)

––  2537    2538    2539    2540 

••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

            15-19                   9      5       9       5  

            20-24                  15      23      26      22  

          25-29                  152025   17  

            30-34                   1       6       7       8  

            35-39                          1       1       2  

••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

            รวม                    40      55      68      54   

••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••  

 

             จากการเปิดเผยของ ...พญ. ลัดดาวัลย์  ชัยแสงจันทร์  กุมารแพทย์ ประจำโรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งรับผิดชอบโครงการวิจัยฯ นี้  ในส่วนของ เด็กที่แม่ติดเชื้อเอช.ไอ.วี.  ได้บอกว่า  "ปี ..2540 ทางแผนกกุมารฯ ได้ดูแลเด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ เอช. ไอ.วี. จำนวน 82 ราย มีเด็กเพียงรายเดียวที่ตรวจเลือดให้ผลบวก เมื่ออายุครบ 18 เดือน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ตัดสินว่า เด็กจะติดเชื้อ เอช.ไอ.วี. หรือไม่ นี่ย่อมแสดงว่า ผลการรักษาของโรงพยาบาลตำรวจออกมาอยู่ในเกณฑ์ดีมาก"

             คุณแม่พร้อมลูกน้อยในครรภ์ทุกรายของโรงพยาบาลตำรวจ จะได้รับยาและการดูแลเป็นอย่างดี  โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ทั้งสิ้น ส่วนข้อมูลการรักษาจะถูกเก็บเป็นความลับ และส่งกลับไปยังสภากาชาดไทย เพื่อรวบรวมเข้ากับของโรงพยาบาลอื่นๆ เป็นผลงานวิจัย อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ เอช.ไอ.วี ในอนาคต

             ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ข้าพเจ้ามีโอกาสสัมผัส คนไข้สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ เอช.ไอ.วี หลายราย สตรีเหล่านี้ทุกคนมีสีหน้า แววตาเศร้าหมอง แต่ไม่มีใครแสดงความจำนงที่จะทำแท้งบุตร เธอทุกคนอยากเห็นหน้าและโอบกอดลูก แม้รู้ว่า ตัวเองจะอยู่ดูแลได้ไม่นาน

             สตรีเหล่านั้น ล้วนมีประวัติที่น่าสนใจ  ไม่มีใครหนีหายจากโครงการวิจัย  รับ

ประทานยา AZT ระหว่างตั้งครรภ์" สักรายเดียว มีอยู่รายหนึ่ง คนไข้ขาดการติดต่อไป 3 เดือน วันหนึ่ง เธอกลับมาพร้อมกับบอกว่า  ลูกตายในครรภ์ขณะท้องได้ 7 เดือน  และคลอดออกมาแถวโรงพยาบาลใกล้บ้าน

             สตรีนางหนึ่ง หย่าขาดจากสามีไป 10 ปี ได้รับการขอร้องจากญาติพี่น้องของสามีให้กลับไปคืนดี ขณะนี้ตั้งครรภ์ได้ 3 เดือนเศษ พร้อมกับติดเชื้อ เอช.ไอ.วี จากสามี แต่ก็ไม่ยอมทำแท้งบุตร

             สตรีอีกรายหนึ่งน่าสนใจมาก เธอมีสามีเป็นฝรั่ง  ทั้งเธอและสามีจบการศึกษาระดับปริญญาโททางด้านคอมพิวเตอร์ ก่อนแต่งงาน ทั้งสองได้เจาะเลือดตรวจเอดส์แล้ว   ซึ่งให้ผลลบ แต่ผลลบของเลือด ไม่ได้หมายถึงชายผู้นั้นจะไม่ติดเอดส์ สามีของเธออยู่ในระยะแฝง หากตรวจเลือดซ้ำในอีก 3-6 เดือนถัดมา  เชื่อว่าจะให้ผลบวก เพราะหลังจากแต่งงานเป็นเวลา 1 ปี เธอตั้งครรภ์และได้รับการเจาะเลือดตรวจเอดส์  ผลปรากฏว่า เธอติดเชื้อ เอช.ไอ.วี

             สามีภรรยาคู่นี้ ศึกษาเรื่องราวของสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ เอช.ไอ.วี จากอินเตอร์

เน็ต ทั้งสองมีความรู้เรื่องนี้อย่างมากมาย   ทั้งยังรู้ว่า โรงพยาบาลตำรวจมีการให้ยา AZT แก่สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ เอช.ไอ.วี ทุกราย   คนไข้สตรีรายนี้ จึงมาขอรับบริการจากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพโรงพยาบาลตำรวจ

             เธอรู้สึกแปลกใจที่เจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ ปฏิบัติต่อคนไข้อย่างสุภาพ นุ่มนวล เห็นใจและเข้าใจ เธอเล่าว่า เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเอกชนหลาย แห่งแนะนำให้ทำแท้งบุตร เขาเหล่านั้นไม่เข้าใจหัวอกของคนที่กำลังจะเป็นแม่

             หลังจากนั้นมา คนไข้สตรีรายนี้ ก็มารับยา AZT อย่างสม่ำเสมอ จนใกล้คลอด จากความรู้ที่เธอทราบมา การคลอดโดยวิธีผ่าตัดคลอดช่วยลดอุบัติการณ์การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกดีกว่าการคลอดโดยวิธีธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่ยืนยันอย่างเป็นทางการว่า สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ เอช.ไอ.วี จำเป็นต้องผ่าตัดคลอดบุตรทุกราย และทั่วโลกยังไม่มีบทสรุปว่า การคลอดวิธีใดดีที่สุด

             ทั้งสองสามีภรรยาได้ใช้ความพยายามอย่างยิ่ง เกี่ยวกับวิธีการคลอดที่จะให้ได้ตามที่ตนต้องการ คือ การคลอดโดยวิธีผ่าตัดคลอด ซึ่งปรกติหมอจะผ่าตัดให้เมื่อมีข้อบ่งชี้เท่านั้น แต่ด้วยความเห็นใจ ในที่สุดหัวหน้าแผนกสูตินรีเวชของโรงพยาบาลตำรวจ  ได้ทำการผ่าตัดคลอดบุตรให้ด้วยตัวเอง สร้างความประทับใจให้กับคนไข้และสามี เรื่องราวนี้เป็นที่เล่าลือกันในวงการแพทย์ที่นี่อยู่นานทีเดียว

             ปัจจุบัน บุคคลทั้งสอง ได้เดินทางออกนอกประเทศไทย กลับไปยังประเทศแถบยุโรป ซึ่งสามีทำงานอยู่ ครอบครัวของคนไข้รายนี้จะได้รับสวัสดิการเรื่องการรักษาจนกว่าชีวิตจะหาไม่  สำหรับประเทศไทย คงต้องใช้เวลาอีกนานจึงจะมีสวัสดิการเช่นนี้

             ข้าพเจ้าอยากให้ มีใครในโลกคิดค้นวัคซีน หรือยารักษาโรคเอดส์ได้เป็นผลสำเร็จ ทุกวันนี้ผู้คนที่ติดเชื้อ เอช.ไอ.วี พากันล้มตายดุจใบไม้ร่วง  เด็กกำพร้ากำลังมีมากขึ้นทุกวัน ลูกที่ขาดแม่นั้นย่อมขาดความอบอุ่น และใครจะรักเขาเท่าแม่

               วันเดือน เลื่อนลอยลับ                  แสงเทียนดับ ใจโหยหาย

          เคยสุข สนุกสบาย                  ต้องกลับกลาย เป็นระทม

               โรคร้าย แฝงในร่าง            ใจอ้างว้าง อย่างขื่นขม

          ค่ำเช้า เศร้าอกตรม                 สุดจะข่ม หลับนัยน์ตา

               ลูกน้อย นอนในท้อง          สักวันต้อง เปลี่ยวเอกา

          พ่อแม่ หนีหายหน้า                 ทิ้งลูกยา ชั่วนิรันดร์

               ใครเล่า จะเข้าใจ              ให้อภัย ในตัวฉัน

          ขอเพียง อยู่นานวัน                 เพื่อสานฝัน อันวิไล

               "คือเลี้ยง ให้ลูกน้อย         เจ้าตัวจ้อย เติบโตใหญ่

          ช่วยเหลือ เลี้ยงตัวได้               รอดปลอดภัย ในสังคม"

 

                         @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *