BACK TO THE BASIC

\”พื้นฐาน\” เหมือนแผนที่ ยามหลงทางขอให้นึกถึง
ย้อนกลับไปสู่พื้นฐาน เพื่อก้าวต่อไปอย่างไม่ผิดพลาด

สำหรับสตรีที่ต้องการมีลูก ควรมีความรู้พื้นฐาน 2 ด้าน ก่อนศึกษาเรื่องอื่น
หนึ่ง ด้านกายวิภาคและสรีรวิทยา
สอง ด้านระบบควบคุมสั่งการโดยอาศัยฮอร์โมน

กายวิภาค หรือ แผนที่ของอวัยวะสืบพันธุ์สตร ก็เป็นดังรูป

\”มดลูก\” มีรูปร่างภายนอกคล้ายผลไม้ที่เรียกว่า \”ลูกแพร์\” หรือ \”ลูกสาลี่\” มีผนัง
เป็นกล้ามเนื้อหนา และภายในเป็นช่องว่างรูปสามเหลี่ยม ดังภาพที่แสดง
\”ปีกมดลูก\” ยื่นออกมาทั้งสองข้างกางออกได้ยาวพอสมควร
มี \”รังไข่\” สองข้างซุกอยู่ใต้ \”ปีกมดลูก\” ทำหน้าที่ผลิต \”ไข่\” \”ไข่\” ถูกผลิตเดือน
ละหลาย ๆ ใบ แต่ตกออกมาเพียงใบเดียว โดยอาศัยกลไกทางธรรมชาติ
ที่ส่วนปลายของ \”ปีกมดลูก\” ลักษณะคล้าย \”มือ\” ทำหน้าที่จับ \”ไข่\” ที่ตกออกมา
ภายใน \”ปีกมดลูก\” จะมีขนพัดโบกเล็ก ๆ (CILIA) คอยพัดพาเอา \”ไข่\” ให้หลุดเข้าไปข้างใน
\”ปีกมดลูก\” เป็นทางนำ \”ไข่\” เข้าสู่มดลูก จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า \”ท่อนำไข่\”
มดลูกเป็นคำไทยเก่าแก่ \”มด\” แปลว่า \”หมอ,ผู้ถนอมรักษา\” มดลูก คือ อวัยวะ
ส่วนที่ถนอมรักษาลูกในช่วงก่อนคลอด เป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้ง เช่นเดียวกับ \”มดลูก\” ในภาษา
จีนที่เรียกว่า \”วังของทารก\” มดลูกเป็นที่ถนอมรักษาทารกก่อนคลอดอย่างปลอดภัยที่สุด แม้ว่า
นักวิทยาศาสตร์จะสร้างตู้อบที่ดีที่สุด ราคาเป็นแสนเป็นล้าน แต่ช่วยชีวิตเด็กทารกที่คลอดก่อน
กำหนดได้จำนวนหนึ่งเท่านั้น หากอยู่ในมดลูกจะปลอดภัยจนถึงครบกำหนดคลอด โดยไม่ต้องลงทุน
เลย
โครงสร้างของมดลูกประกอบด้วย กล้ามเนื้อมดลูก และเยื่อบุโพรงมดลูก
กล้ามเนื้อมดลูก มีลักษณะสำคัญ คือ ยืดขยายตัวได้มากเป็นพิเศษ ขนาดปกติ หนา 1
นิ้ว,กว้าง 2 นิ้ว และยาว 3 นิ้ว เท่ากับกำปั้นมือเราเท่านั้น ภายในมดลูกปกติจะมีความจุเพียง
นิดเดียว แต่สามารถขยายตัวได้ 1000 เท่า จุน้ำคร่ำได้กว่า 1 ลิตร เมื่อเวลาตั้งครรภ์ใกล้
คลอด นับว่ามหัศจรรย์มากทีเดียว
กล้ามเนื้อมดลูกมีหลายชั้น ประสานกันทั้งแนวตรงและแนวยาว เป็นร่างแห ซึ่งมี
ประโยชน์มากเวลาตกเลือดหลังคลอด เพราะการหดรัดตัวของมดลูก เป็นกลไกที่ดีที่สุดที่จะทำให้
เลือดหยุด เมื่อมดลูกหดตัว แนวของเส้นกล้ามเนื้อจะไขว้เข้าหากันรัดปลายเส้นเลือด เลือดก็
จะหยุดไหล
เยื่อบุโพรงมดลูก มี 3 ชั้น
ชั้นแรก (THE PARS BASALIS) ชั้นพื้นฐานอยู่ติดกับกล้ามเนื้อมดลูก
ชั้นสอง (THE ZONA SPONGIOSA) และ ชั้นสาม (SUPERFICIAL ZONA
COMPACTA) เป็นชั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ตามอิทธิพลของฮอร์โมน ในช่วงแรกฮอร์โมน
เอสโตรเจนทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตขึ้นมา ต่อมาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะทำให้
เยื่อบุโพรงมดลูกเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับการฝังตัวของ \”ตัวอ่อน\” ถ้าไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น
เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะลอกหลุดออกมา เหลือแต่ชั้นพื้นฐาน (PARS BASALIS) เท่านั้น
ท่อนำไข่ หรือปีกมดลูก (FOLLOPIAN TUBES)
เป็นส่วนที่ต่อออกจากตัวมดลูกทั้งสองข้างกางออกคล้ายปีกนก ยาวข้างละประมาณ
10-12 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง เริ่มต้นที่น้อยกว่า 1 มิลลิเมตร ที่รูเปิดภายในโพรง
มดลูก ค่อย ๆ กว้างขึ้น ส่วนที่กว้างที่สุด 6 มิลลิเมตร ในส่วนกลาง ๆ ของท่อนำไข่
ปีกมดลูกส่วนปลายขยายออกเป็นปากแตร ทำหน้าที่คล้ายมือคอยจับ \”ไข่\” ที่ตกออกมา
จากรังไข่ ภายในท่อนำไข่มีขนเล็ก ๆ คอยพัดโบก \”ไข่\” ให้เข้าไปภายใน การปฏิสนธิเริ่มแรก
ของมนุษย์เกิดขึ้นที่นี่ \”ตัวอ่อน\” จะแบ่งตัวภายในท่อนำไข่ ขณะเดียวกันก็ค่อย ๆ เคลื่อนตัวเข้าสู่
โพรงมดลูกโดยใช้เวลาประมาณ 4-5 วัน และจะฝังตัวภายในโพรงมดลูกประมาณ 7 วัน
รังไข่ (OVARIES) เป็นอวัยวะที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ (\”ไข่\”) \”รังไข่\” เปรียบกับ
อวัยวะของผู้ชาย ก็คือ \”อัณฑะ\”
* รังไข่ มีขนาดหนาประมาณ 1 เซนติเมตร, กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร, ยาว
3-5 เซนติเมตร วางอยู่ข้างใต้ปีกมดลูกทั้งสองข้าง ใกล้กับส่วนปลายของท่อนำไข่ โดยมีเยื่อ
บาง ๆ และเอ็นยึดอยู่ไม่ให้เคลื่อนไหวมากเกินไป
* โดยปกติ สตรีเมื่อแรกเกิด จะมีเซลล์สืบพันธุ์ ที่จะเจริญไปเป็น \”ไข่\” ทั้งหมด
ประมาณ 200 ล้านเซลล์ หยุดการเจริญเติบโตอยู่ที่ระยะหนึ่ง เมื่อเข้าสู่ระยะวัยรุ่น จะลดลง
เหลือประมาณ 300,000 เซลล์ ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ จะมี \”ไข่\” เจริญไป จนกระทั่งตกออกมา
จริง ๆ ประมาณ 400 ใบเท่านั้น โดยในแต่ละรอบเดือนจะมี \”ไข่\” เจริญขึ้นมาข้างละ ประมาณ
20 ใบ ด้วยกลไกทางธรรมชาติจะทำให้มี \”ไข่\” ใบที่ดีที่สุด ตกออกมาเพียงใบเดียว \”ไข่\”
ใบอื่น ๆ ฝ่อไปในระหว่างที่เจริญเติบโต
กลไกการตกไข่ (OVULATION)
ในวัยเจริญพันธุ์ เซลล์สืบพันธุ์สตรี จะเจริญขึ้นมาตลอดเวลา ตั้งแต่ ระยะแรก ๆ
(PRIMODIAL FOLLICLE) เจริญเติบโตจนถึงระยะเริ่มต้นที่จะใช้การได้ (ANTRAL FOLLICLE)
ใช้เวลานานประมาณ 10 สัปดาห์ ซึ่งเป็นระยะที่ \”ไข่\” จะได้รับการกระตุ้น จากคำสั่ง หรือ
สัญญาณจากสมอง (GONADOTROPIN : FSH & LH) ระยะนี้จะเป็นช่วงที่สตรี กำลังเริ่มต้นของ
รอบเดือนพอดี โดยปกติ เซลล์สืบพันธุ์ระยะแรกของ \”ไข่\” (PRIMODIAL FOLLICLE) จำนวน
หลายพันใบ มีการเจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อย ๆ แต่จะมีไม่เกิน 20 ใบเท่านั้น ที่ยังเหลืออยู่ เมื่อ
เริ่มต้นของรอบระดู
จาก \”ไข่\” ประมาณ 20 ใบที่เหลือ จะถูกกระบวนการคัดเลือกด้วยกลไกทาง
ธรรมชาติเหลือ \”ไข่\” ที่สมบูรณ์เพียงใบเดียวเท่านั้นในรังไข่ข้างหนึ่ง ที่จะเจริญต่อไปจนได้ขนาด
ประมาณ 20-25 มิลลิลิตร จึงจะมีการเปลี่ยนแปลงในขั้นสุดท้ายและตกออกมา
\”ไข่\” ที่เจริญขึ้นมาตั้งแต่เริ่มต้นของรอบเดือน จะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่ง
มากขึ้นตามขนาดและจำนวนของ \”ไข่\” ฮอร์โมนเอสโตรเจน จะมีผลกระตุ้นเยื่อบุโพรงมดลูกให้
เจริญหนาขึ้นมาตามลำดับ จนถึงระยะกลางของรอบเดือน ระดับของเอสโตรเจนที่มากถึงระดับ
200 พิโครกรัม ต่อมิลลิลิตรขึ้นไป และความเข้มข้นคงอยู่ ในระดับนี้นานมากกว่า 50 ชั่วโมง
แทนที่จะส่งผลกดการหลั่งของ LH กลับกลายเป็นการชักนำ ให้เกิดการกระตุ้นให้หลั่งสาร LH
จากสมองมากขึ้น  (POSITIVE  FEEDBACK) เกิดภาวะที่เรียกว่า LH SURGE ซึ่งเป็นกระบวน
การสำคัญที่มีผลทำให้ \”ไข่\” ตกภายใน ระยะเวลา 24-36 ชั่วโมงถัดมา
ตำแหน่งที่ \”ไข่\” ตกในรังไข่ จะเปลี่ยนไปเป็นส่วนที่เรียกว่า CORPUS LUTEUM
ทำหน้าที่สร้างและหลั่งฮอร์โมนเพศทั้ง เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนออกมา
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะไปมีผลทำให้เยื่อบุโพรงมดลูก เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม
ที่ \”ตัวอ่อน\” จะไปฝังตัว
\”ไข่\” จะมีอายุการใช้งาน 24 ชั่วโมง หากไม่มีการปฏิสนธิ จะสลายไป
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ผู้ชาย (SPERMATOGENESIS) ขบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
ต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 70 วัน จึงจะสมบูรณ์ ซึ่งจะอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาท
ส่วนกลาง (HYPOTHALAMIC – PITUITARY AXIS) สัญญาณจากสมอง (GONADOTROPIN :
FSH & LH) จะกระตุ้นให้เซลล์ที่อัณฑะสร้างฮอร์โมน เพศชาย (TESTOSTERONE & ANDROGEN
BINDING PROTEIN) ท่อเล็ก ๆ ภายในอัณฑะ (SEMINIFEROUS TUBULES) จะเป็นแหล่ง
กำเนิดของเซลล์สืบพันธุ์ช่วงแรก ๆ แล้วต่อมาจะเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ให้
ยาวขึ้นและเกิดหาง มองดูมีลักษณะคล้ายลูกอ๊อด
กระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ เป็นไปโดยธรรมชาติและถูกควบคุมโดย กลไกที่คล้าย
คลึงกับการสร้างไข่ (NEGATIUE FEEDBACK) ทั้งฮอร์โมนเพศชายและการสร้างตัวอสุจิ จะ
ลดลงตามอายุที่มากขึ้น โดยสังเกตุได้จากการสูงขึ้นของคำสั่งจากสมอง (FSH & LH)
การที่ผู้ชายมีถุงอัณฑะ ก็เพื่อให้อัณฑะอยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่าในร่างกาย โดยปกติอุณหภูมิ
จะต่ำกว่าประมาณ 2 – 4 องศาเซนติเกรด การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิสูงขึ้น อาจจะมีผลทำให้เกิด
การไหลเวียนของโลหิตลดลง ที่สำคัญคือ จะมีผลกระทบต่อการสร้าง และการเติบโตขึ้นสุดท้าย
ของเชื้ออสุจิ อย่างแน่นอน สังเกตุได้ว่า ผู้ชายที่ทำงานใกล้ความร้อน เช่น พวกพ่อครัว หรือ
คนเติมฟืนในรถไฟสมัยก่อน มักประสบปัญหามีลูกยากเนื่องจากเชื้ออ่อน แต่พอแพทย์แนะนำให้
เปลี่ยนอาชีพ หรือเปลี่ยนสถานที่ไปทำงานในที่อุณหภูมิปกติ ก็สามารถมีลูกได้
การดื่มสุรามากๆ สามารถมีผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย และยังมีผลต่อภาวะ
มีบุตรยากด้วย จากการศึกษาพบว่า
1. จะมีผลรบกวนสัญญาณหรือคำสั่งจากสมอง (GONADOTROPIN)
2. มีผลโดยตรงต่อเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศที่อัณฑะ
สารที่ควรหลีกเลี่ยงอื่น ๆ ซึ่งน่าจะมีผลต่อการสลายตัวของเชื้ออสุจิ ได้แก่ยาฆ่าแมลง
(ดี.ดี.ที),ยาฆ่าหญ้าและสารพิษต่าง ๆ

ลักษณะของน้ำอสุจิ โดยปกติจะมีลักษณะเป็นด่างเล็กน้อย วัดความเป็นกรดเป็นด่าง (PH) อยู่
ที่ 7.3 ถึง 7.7 ภาวะความเป็นด่างของน้ำอสุจิ มีความสำคัญช่วยทำให้
ความเป็นกรดภายในช่องคลอดลดลง จนไม่เป็นอันตรายต่อ \”ตัวอสุจิ\” ใน
ระยะเวลาภายใน 8 นาทีเท่านั้น
ปริมาณที่หลั่งออกมา ครั้งหนึ่งจะประมาณ 2.5-5.0 มิลลิลิตร เมื่อแรกหลั่งออกมา
ใหม่ ๆ จะจับตัวกันเป็นวุ้น และจะละลายเป็นน้ำเหลว ๆ ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที อันเป็น
ผลจากเอ็นไซม์จากต่อมลูกหมาก

ลักษณะของตัวอสุจิ ตัวอสุจิที่ปกติ จะมีการเคลื่อนไหวในแนวตรงไปข้างหน้า การเคลื่อนไหว
ของอสุจิมีส่วนสำคัญมากในการปฏิสนธิ โดยปกติ ตัวอสุจิจะต้องมีการเคลื่อนไหวมากกว่า ร้อยละ
60 ของทั้งหมด และร้อยละ 40 จะต้องมีการเคลื่อนไหวที่ดี
ถ้ามีการเคลื่อนไหวน้อยกว่าร้อยละ 50 ต้องทำการตรวจว่า \”อสุจิ\” ส่วนใหญ่มีชีวิต
อยู่หรือตาย
จำนวน\”ตัวอสุจิ\” ของคนเราโดยปกติ ส่วนใหญ่จะมากกว่า 40 ล้านตัว ต่อ มิลลิลิตร
และจำนวนทั้งหมดจะอยู่ระหว่าง 150 – 200 ล้านตัว จำนวนตัวอสุจิที่มากเกินไป (มากกว่า
300 ล้านตัว ต่อ มิลลิลิตร) หรือน้อยเกินไป (น้อยกว่า 20 ล้านตัว ต่อ มิลลิลิตร) จะเป็น
สาเหตุของภาวะมีลูกยาก
รูปร่างของ \”ตัวอสุจิ\” โดยปกติจะมี 3 ส่วน ส่วนหัวจะกลมเป็นรูปไข่,ลำตัวป้อม
ยาวกว่าส่วนหัวเล็กน้อย และส่วนหางจะยาวเรียวเล็กลง ยาวเป็น 7 – 15 เท่าของส่วนหัว

การเคลื่อนที่ของ \”อสุจิ\” เพื่อไปปฏิสนธิ (SPERM TRANSPORT)
ดั่งที่เรารู้ การปฏิสนธิเกิดขึ้นที่ปีกมดลูก ณ ตำแหน่งใดก็ได้ แต่การที่ \”อสุจิ\” จะ
เคลื่อนที่ไปถึงตำแหน่งดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องด้วยระยะทาง เมื่อเปรียบเทียบกับขนาด
และความเร็วของการว่ายของ \”อสุจิ\” นั้นถือว่าไกลมาก นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคขัดขวางอีกมาก
เช่น ภาวะความเป็นกรดภายในช่องคลอด,ความเข้มข้นของมูกในปากมดลูก และอื่น ๆ
โดยปกติ อัตราเร็วการว่ายของ \”อสุจิ\” มนุษย์ในมูกของปากมดลูกที่ตรวจได้จากห้อง
ทดลองอยู่ระหว่าง 25 ไมโครเมตรต่อวินาที ถึง 50 ไมโครเมตรต่อวินาที ถ้า \”อสุจิ\” ว่ายไป
ตามคอมดลูกเป็นแนวตรง ด้วยความเร็วขนาดนี้จะต้องใช้ประมาณ 20 นาที จึงจะผ่านคอมดลูก
ขึ้นไปได้
มูกที่ปากมดลูก มีส่วนในการว่ายผ่านไปของ \”ตัวอสุจิ\” สู่โพรงมดลูก ซึ่งจะสามารถ
ว่ายผ่านไปได้ ตั้งแต่วันที่ 9 ของรอบเดือนและมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงวันไข่สุก หลังจากไข่สุก
แล้ว 24-48 ชั่วโมง \”ตัวอสุจิ\” จะไม่สามารถว่ายผ่านมูกไปได้
แต่การว่ายของ \”อสุจิ\” ในมูกของปากมดลูกนั้น มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโครงสร้าง
ของมูกมาก เพราะโครงสร้างมูกของปากมดลูกมีลักษณะเป็น เส้น ๆ ยาวคล้ายราวสะพาน
(FILAMENTS OF MUCOUS MICROSTRUCTURE) ลักษณะเช่นนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อการ
เคลื่อนไหวของ \”อสุจิ\” นอกจากนี้ปฏิกริยาทางไฟฟ้าเคมี & ไฮโดรไดนามิก ระหว่าง \”อสุจิ\”
กับ \”มูก\” (ELECTROCHEMICAL & HYDRODYNAMIC INTERACTIONS) มีส่วนช่วยผลักดันการ
เคลื่อนที่ของ \”อสุจิ\” ให้เป็นไปได้อย่างรวดเร็วกว่าการว่ายธรรมดา
ขณะเดียวกัน จะเกิดกระบวนการคัดเลือก \”อสุจิ\” ที่ปกติ โดยมูกของปากมดลูก
ทำหน้าที่เป็นตะแกรง (FILTER) กรอง โดยอาศัยพื้นฐานจากขนาดของหัวและรูปร่างของ
\”อสุจิ\” ถ้ารูปร่างและหัวของ \”อสุจิ\” ผิดปกติ ก็ไม่สามารถว่ายผ่าน \”มูก\” ไปได้
การเคลื่อนที่ของ \”อสุจิ\” ไปจนถึงปีกมดลูก อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (RAPID
SPERM TRASPORT TO FOLLOPIAN TUBES) จากการศึกษาพบว่า \”อสุจิ\” ที่ผ่านการ
\”คัดเชื้อ\” และฉีดผสมเทียมให้คนไข้สตรี สามารถตรวจพบได้ที่ปีกมดลูกและในช่องท้อง ภายใน
5 นาที อัตราเร็วของการเคลื่อนที่เช่นนี้มากกว่าการว่ายธรรมดาโดยใช้หาง กลไกน่าจะเกิดจาก
ขบวนการหดรัดตัวร่วมกันและสัมพันธ์กัน ระหว่างช่องคลอด,มดลูกและปีกมดลูก
อีกลักษณะหนึ่ง คือ การเคลื่อนที่ของ \”อสุจิ\” ที่เป็นไปค่อนข้างช้า โดยส่วนหนึ่ง
เมื่อสัมผัสมูกของปากมดลูก ก็จะค่อย ๆ ว่ายขึ้นไปเรื่อย ๆ อีกส่วนหนึ่ง จะสะสมอยู่ที่คอมดลูก
ระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยว่ายขึ้นไปตามทางอวัยวะภายในสตรี
โดยเราพบว่า ประมาณ 10-15 นาที ภายหลังใส่ \”เชื้ออสุจิ\” ไว้ที่ช่องคลอด จะพบ
จำนวน \”ตัวอสุจิ\” คงที่ในมูกของปากมดลูก และจะยังคงที่เช่นนี้ต่อไป ประมาณ 24 ชั่วโมง จาก
การศึกษาของสถาบันหลายแห่งพบว่าไม่พบ \”อสุจิ\” เลยที่ปากมดลูก เมื่อเวลาผ่านไป 48 ชั่วโมง
ภายหลังผสมเทียม

ความสามารถในการปฏิสนธิ (SPERM CAPACITATION) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางสรีระ
วิทยาของ \”อสุจิ\” เป็นการเตรียมตัวเพื่อให้สามารถปฏิสนธิกับ \”ไข่\” ได้ เพราะ \”อสุจิ\” ที่
แรกหลั่งออกมา ไม่สามารถปฏิสนธิกับ \”ไข่\” ได้ แม้จะจัดให้อยู่รวมกัน
การทำให้ \”เชื้ออสุจิ\” มีความสามารถในการปฏิสนธิ ในห้องปฏิบัติการนั้น ในการ
ศึกษาวิจัยแรก ๆ ต้องใช้ระยะเวลา 6 – 7 ชั่วโมง ในตู้อบ (INCUBATION) \”อสุจิ\” จึง
สามารถเจาะเข้าไปผสมใน \”ไข่\” ได้ แต่ปัจจุบันนี้ เราใช้เวลาเพียงแค่ 2 ชั่วโมง ก็ทำให้
\”อสุจิ\” มีความสามารถเช่นนั้นแล้ว วิธีการนี้คือ \”การคัดเชื้อ\” นั่นเอง ซึ่งเป็นกระบวนการล้าง
\”ตัวอสุจิ\” ให้ปราศจากสารในน้ำอสุจิ (SEMINAL PLASMA)
สำหรับในธรรมชาติ มีการวิจัยมากมายแต่หาข้อสรุปไม่ได้เกี่ยวกับ ความสามารถใน
การปฏิสนธิของ \”อสุจิ\” แต่มีเหตุผลที่พอเชื่อว่า ความสำคัญของคุณสมบัติในการปฏิสนธิอยู่ที่หัว
ของ \”อสุจิ\” (SPERM HEAD MEMBRANE) ถ้าสามารถทำให้หัวของ \”อสุจิ\” เกิดปฏิกิริยาเคมี
ย่อยสลายได้แล้ว (ACROSOMAL REACTION) \”อสุจิ\” จะสามารถเจาะเปลือกนอกของ \”ไข่\”
(ZONA PELLUCIDA) เข้าไปปฏิสนธิได้
อาจเป็นไปได้ว่า ขณะที่ \”อสุจิ\” ว่ายผ่านมูกของปากมดลูกขึ้นไปเข้าสู่มดลูก และ
ปีกมดลูก จะเกิดกระบวนการฟอกล้างสารที่ป้องกันไม่ให้ปฏิสนธิบริเวณหัวของ \”อสุจิ\” ซึ่งตำแหน่ง
ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของ \”อสุจิ\” น่าจะเป็นภายใน
โพรงมดลูกหรือปีกมดลูก

การปฏิสนธิ (FERTILIZATION) ภายหลังไข่ตก \”ไข่\” มีอายุการใช้งานเท่าใด ยังไม่เป็นที่
แน่นอน แต่คาดว่า อยู่ในระหว่าง 12-24 ชั่วโมง (อาจได้ถึง 48 ชั่วโมง) หากไม่มีการ
ปฏิสนธิในช่วงนี้ \”ไข่\” จะสลายไป
สำหรับ \”ตัวอสุจิ\” มีความสามารถในการปฏิสนธิได้ ในร่างกายสตรี ช่วงระยะเวลา
ประมาณ 48 ชั่วโมง (บางตำรา มีรายงานว่า มีเพศสัมพันธ์นานถึง 7 วัน ก่อน \”ไข่\” ตก
ยังสามารถตั้งครรภ์ได้) เมื่อ \”อสุจิ\” เข้าปฏิสนธิกับ \”ไข่\” ได้หนึ่งตัวแล้ว จะเกิดการ
เปลี่ยนแปลงที่เปลือกนอกของ \”ไข่\” เพื่อเป็นการป้องกัน \”อสุจิ\” ตัวอื่น ๆ ไม่ให้เข้าผสมกับ
\”ไข่\” อีก
มีหลักฐานที่แสดงว่า มีการคัดเลือกและต่อต้าน \”อสุจิ\” และ \”ตัวอ่อน\” ที่ผิดปกติ
ในอวัยวะสืบพันธุ์สตรี เช่น \”อสุจิ\” ที่ผิดปกติจะผ่านมูกปากมดลูกได้ยาก ถึงแม้จะตั้งครรภ์ขึ้นมา
ได้ ยังมีขบวนการแท้งบุตรเองในช่วงอายุครรภ์ 3 เดือนแรกถึงร้อยละ 15 ซึ่ง ร้อยละ 50-60
ของ \”ตัวอ่อน\” ที่แท้งออกมา มีโครโมโซมผิดปกติ
ธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่ สรรค์สร้างสรรพสัตว์ขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์ แม้ในที่สุดร่างกาย
จะแตกสลายไป แต่ยังเหลือไว้ในสิ่งซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ของตัวเราตลอดกาล นั่นก็คือ \”ความชั่วดี\”
และ \”ลูกหลาน\”
พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี

นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&
พ.ต.อ.นพ.เสรี ธีรพงษ์ ผู้เขียน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *