“อิ๊กซี่ 3”

การศึกษาค้นคว้า วิจัยเกี่ยวกับ \”อิ๊กซี่\”

ในประเทศสหรัฐอเมริกา เคยมีการเสนอให้ปิดหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการ
จดทะเบียนลิขสิทธิ์ ของงานประดิษฐ์ความคิดใหม่ ๆ เพราะคิดว่า สิ่งประดิษฐ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้
มีมากเกินไปจนไม่น่าจะมีใครคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ ได้อีกแล้ว
ความคิดเช่นนี้ย่อมไม่เป็นจริงแน่นอน ตราบใดที่คนเรายังมี \”มันสมอง\” รู้จักคิดรู้จัก
จินตนาการบนพื้นฐานแห่งเทคโนโลยี่ในปัจจุบัน นอกจากนั้น สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น และ
กำลังจะเกิดขึ้น มักจะสลับซับซ้อนและแปลกประหลาดมหัศจรรย์ยิ่งขึ้นด้วย จนไม่น่าเชื่อว่าจะเป็น
ไปได้

การศึกษาวิจัยค้นคว้า ช่วยให้การรักษาภาวะมีลูกยากพัฒนาก้าวหน้าขึ้นมาก โดยเฉพาะ
การทำ \”อิ๊กซี่\” เพื่อรักษากรณีสามีที่ \”เชื้ออ่อนมาก\” หรือ ไม่มี \”ตัวอสุจิ\” ในน้ำเชื้อ
DR.BASIL TARLATZIS ได้รายงานไว้ในการประชุม \”เอสเชอร์\” (ESHRE
WORKSHOP) ในเดือนธันวาคม ค.ศ.1995 (พ.ศ.2538) ภายหลังจากวิเคราะห์ข้อมูลจาก 65
สถาบันรักษาผู้มีบุตรยาก ตลอดปี ค.ศ.1993 และ ค.ศ.1994 (พ.ศ.2537 & พ.ศ.2538)
สรุปได้ ดังนี้
1. การทำ \”อิ๊กซี่\” ในโลกนี้ มีเพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล
2. อัตราการถูกทำลายของ \”ไข่\” จากกรรมวิธี \”อิ๊กซี่\” ต่ำมาก (ประมาณร้อยละ
10)
3. อัตราการปฏิสนธิ ไม่ว่าจะได้ \”ตัวอสุจิ\” จากแหล่งใด นับว่าสูงมาก ในราว
ร้อยละ 50-60 แม้ว่า คุณภาพของ \”อสุจิ\” จะแย่มากเพียงไรก็ตาม
4. อัตราการตั้งครรภ์จากการทำ \”อิ๊กซี่\” เป็นที่น่าพอใจ
5. การตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ มักจะไม่แท้งกลางคัน แต่จะดำเนินไปจนกระทั่งคลอด
6. อัตราการตั้งครรภ์แฝดสูง ซึ่งอาจจำเป็นต้องพิจารณาทำหัตถการลดจำนวนลง
7. อัตราความพิการแต่กำเนิดหรือโครโมโซมผิดปกติ ไม่แตกต่างไปจากธรรมชาติ
ข้อมูล การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธี \”อิ๊กซี่\” จาก 58 สถาบัน ในปี ค.ศ.1994
(พ.ศ.2537)
จำนวนคนไข้ 8,313 คน
จำนวน \”ไข่\” (MII) ที่นำมาทำ \”อิ๊กซี่\” 86,165 ใบ
จำนวน \”ไข่\” ที่ถูกทำลายสลายไป 7,531 ใบ (8.7%)
จำนวน \”ไข่\” ที่มีการปฏิสนธิ 52,392 ใบ (60.8%)
จำนวน \”ตัวอ่อน\” ที่ใส่กลับเข้าสู่คนไข้สตรี 37,545 ตัวอ่อน
และแช่แข็ง (43.6% ของ \”ไข่\” ที่ทำ \”อิ๊กซี่\”)

จากจำนวน \”ไข่\” สุกที่นำมาทำ \”อิ๊กซี่\” เกือบแสนใบ มากกว่า 5 หมื่นใบ (60.8%)
มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงถึงเกือบ 4 หมื่นใบ (43.6%) โดยส่วน
หนึ่งเป็น \”ตัวอ่อน\” ที่นำกลับเข้าสู่ร่างกายคนไข้สตรี อีกส่วนหนึ่งเป็น \”ตัวอ่อน\” ที่แช่แข็งไว้ใช้
ในโอกาสต่อไป จากงานวิจัยนี้ พบมีอัตราการตั้งครรภ์เพียงร้อยละ 20.7 (กำลังตั้งครรภ์อยู่)

สำหรับการศึกษาค้นคว้าวิจัย ในกรณีคู่สมรสที่ฝ่ายชายไม่มี \”อสุจิ\” ในน้ำเชื้อ นั้น ก็
ประสบความสำเร็จอย่างสูง เช่นกัน
ปัจจุบันนี้ เราทราบ คุณสมบัติของ \”ตัวอสุจิ\” ในท่อนำน้ำเชื้อส่วน EPIDIDYMIS เป็น
อย่างดี ทั้งกรณี ท่อนำน้ำเชื้ออุดตัน และไม่อุดตัน (OBSTRUCTIVE AND NON-OBSTRUCTIVE
AZOOSPERMIA)
ปกติ \”ตัวอสุจิ\” ที่ผลิตในอัณฑะ จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและความสามารถในการ
ว่ายดีขึ้นตามระยะทางที่เคลื่อนออกมาเป็นลำดับ
เมื่อมาถึงท่อนำน้ำเชื้อส่วน EPIDIDYMIS ซึ่งเป็นแหล่งที่พักและเจริญของ \”อสุจิ\”
ก่อนหลั่งออกสู่ภายนอก \”ตัวอสุจิ\” จะมีรูปร่างสมบูรณ์แล้ว ส่วนความสามารถในการว่าย จะดีขึ้น
ตามระยะทางที่ผ่านออกมา
ในกรณีผู้ชายที่ไม่มี \”อสุจิ\” ออกมาภายนอก และท่อนำน้ำเชื้อภายในไม่มีการอุดตัน
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากกลุ่มเซลล์ที่สร้าง \”อสุจิ\” ทำงานบกพร่อง \”ตัวอสุจิ\” ในส่วนที่แม้รูปร่าง
จะปกติ ก็ไม่มีความสามารถว่ายออกมาได้
แต่ในกรณีที่มีการอุดตันทางออกของท่อนำน้ำเชื้อ (OBSTRUCTIVE AZOOSPERMIA)
\”ตัวอสุจิ\” ที่อยู่ใกล้จุดอุดตัน มักจะแก่และเคลื่อนไหวได้น้อยมากหรือตายสะสมกันอยู่บริเวณนั้น
\”ตัวอสุจิ\” ที่อยู่ลึกเข้าไปข้างในส่วนต้น ๆ ของ EPIDIDYMIS กลับเคลื่อนไหวได้ดีกว่า ซึ่งตรง
ข้ามกับในภาวะปกติ นอกจากนั้น \”ตัวอสุจิ\” เหล่านี้ ยังมีคุณสมบัติในการว่ายเข้าไปปฏิสนธิกับ
\”ไข่\” ได้เองด้วย
การทราบถึง คุณสมบัติของ \”อสุจิ\” ในส่วนต่าง ๆ ของท่อนำน้ำเชื้อ จะช่วยให้เรา
สามารถเลือกเจาะดูดหรือตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่มี \”อสุจิ\” คุณภาพดีที่สุดออกมา
การศึกษาค้นคว้างานวิจัยจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน พบว่า
การฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก (IUI) โดยใช้ \”อสุจิ\” ที่เจาะดูดได้จากอัณฑะด้วยวิธี
\”MESA\” ให้ ผลสำเร็จร้อยละ 0-4 เท่านั้น
การทำ \”เด็กหลอดแก้ว\” วิธีมาตรฐาน (IVF-ET) โดยใช้ \”อสุจิ\” จากวิธี \”MESA\”
ประสบความสำเร็จ มีอัตราการตั้งครรภ์เพียงร้อยละ 5-10 เท่านั้น
การทำ \”อิ๊กซี่\” ด้วย \”อสุจิ\” จากวิธี \”MESA\” หรือ \”TESE\” ให้ผลสำเร็จสูงกว่ามาก
ได้มีการศึกษาเปรียบเทียบ โดย SILBER และคณะ ในปี ค.ศ.1994 (พ.ศ.2537)
ถึง ผลของการใช้ \”ตัวอสุจิ\” ที่ได้จากวิธี \”MESA\” ว่า เมื่อนำมาทำ \”เด็กหลอดแก้ว\” (IVF)
และ \”อิ๊กซี่\” (ICSI) แล้ว จะมีการปฏิสนธิและตั้งครรภ์แตกต่างกันอย่างไร

ตารางเปรียบเทียบผลของ IVF (MESA) กับ ICSI (MESA) ในกลุ่มประชากรที่คล้าย ๆ กัน
•••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
จำนวนราย จำนวนไข่สุก จำนวนตัวอ่อน อัตราการปฏิสนธิ(%) อัตราการตั้งครรภ์(%)
•••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
IVF (MESA) 1427 98 6.9% 9% (4.5%)
67 ราย
ICSI (MESA) 197 80 41% 47% (30%)
17 ราย
•••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
จะเห็นว่า การทำ \”เด็กหลอดแก้ว\” วิธีมาตราฐาน (MESA/IVF) จากจำนวนคนไข้
67 ราย มีอัตราการปฏิสนธิเพียงร้อยละ 6.9 และอัตราการตั้งครรภ์ร้อยละ 9 เท่านั้น และจาก
จำนวนการตั้งครรภ์ทั้งหมดมีเพียงครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 4.5) เท่านั้น ที่อยู่จนครบกำหนดและคลอด
ออกมามีชีวิต
สำหรับ การทำ \”อิ๊กซี่\” (MESA/ICSI) ในคนไข้เหล่านี้จำนวน 17 ราย มีอัตรา
การปฏิสนธิร้อยละ 41 และอัตราการตั้งครรภ์ถึงร้อยละ 47
จากจำนวนการตั้งครรภ์ทั้งหมด จะมีอัตราการตั้งครรภ์จนได้ทารกกลับบ้านจริง ๆ
ร้อยละ 30 (ส่วนที่เหลือจะเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่สมบูรณ์ จนมีการสูญเสีย \”ตัวอ่อน\” หรือแท้งไป
ในที่สุดขณะที่อายุครรภ์ยังน้อย ๆ อยู่)

นอกจากนี้ ในปี ค.ศ.1995 (พ.ศ.2538) SILBER และคณะ ยังเปรียบเทียบผล
การปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ด้วยวิธี \”อิ๊กซี่\” เช่นเดียวกัน แต่ต่างกันตรงที่ใช้ \”อสุจิ\” จากการ
เจาะดูดจากท่อนำน้ำเชื้อ (MESA/ICSI) กับจากการบดชิ้นเนื้ออัณฑะที่ตัดออกมา (TESE/ICSI)

ตารางเปรียบเทียบการปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ภายหลังจากทำ \”อิ๊กซี่\” ด้วย \”อสุจิ\”
จากวิธี \”MESA\” และจากวิธี \”TESE\”
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
จำนวนราย อัตราการปฏิสนธิ อัตราการตั้งครรภ์
ในเบื้องต้น การตั้งครรภ์กำลังดำเนินอยู่
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
MESA 33 47% 20 (65%) 12 (30%)
TESE 32 49% 14 (52%) 10 (37%)
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
จะเห็นว่า อัตราการปฏิสนธิและอัตราการตั้งครรภ์ของวิธี MESA/ICSI และ TESE/
ICSI จัดอยู่ในอัตราที่สูงมากทีเดียว แต่จำนวนรายที่นำมาศึกษายังน้อยอยู่
DR.TARLATZIS ได้รวบรวมข้อมูลที่มากกว่า จากรายงานของ 33 ศูนย์รักษามีบุตร
ยาก พบว่า ได้ผลสำเร็จสูงพอสมควร ดังนี้
การทำ \”อิ๊กซี่\” โดยอาศัย \”ตัวอสุจิ\” ที่เจาะดูดออกมาจากอัณฑะ (MESA/ICSI :
มีซ่า/อิ๊กซี่) ของคนไข้ที่มารักษา 335 คน ประสบความสำเร็จมีอัตราการตั้งครรภ์ถึงร้อยละ 30.8
และ
คนไข้อีกจำนวนหนึ่ง 170 คน ได้ทำ \”อิ๊กซี่\” โดย อาศัย \”ตัวอสุจิ\” ที่สกัดจากการบด
ชิ้นเนื้อเล็ก ๆ ของอัณฑะที่ตัดออกมา (TESE/ICSI : เทเซ่/อิ๊กซี่) ประสบผลสำเร็จ มีอัตรา
การตั้งครรภ์ร้อยละ 22.2
ความพิการแต่กำเนิดของทารกที่เกิดจากการทำ \”อิ๊กซี่\”
ทารกที่คลอดออกมาแล้วจำนวนมากกว่า 800 คน พบเพียง 21 คน (2.6%) เท่านั้น
ที่มีความพิการแต่กำเนิดชนิดรุนแรง และอีก 8 ราย (1%) มีความผิดปกติเพียงเล็กน้อย ซึ่งเมื่อ
เทียบกับทารกที่คลอดออกมาตามธรรมชาติจะเห็นว่า ไม่มีความแตกต่างกันเลย
นอกจากนี้ ได้มีการตรวจหาโครโมโซม (PRENATAL KARYOTYPE) ของทารกใน
ขณะตั้งครรภ์จาก 9 ศูนย์รักษามีบุตรยากจำนวน 361 คน พบว่า 354 คน (ร้อยละ 98) ทารก
มีโครโมโซมปกติ
ภาวะตั้งครรภ์แฝด
พบร้อยละ 17.6 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแฝดสอง มีส่วนน้อยประมาณร้อยละ 1 เป็นแฝดสาม
ความพิการแต่กำเนิดในเด็กแฝด ก็พบเพียงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 2.5 ซึ่งไม่ต่าง
จากทารกทั่ว ๆ ไป
ความสำเร็จของการตั้งครรภ์ เท่าที่มีรายงาน จะอยู่ในราวร้อยละ 20-40 ขึ้นอยู่กับ
สถาบันที่ทำการรักษา สำหรับในประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งเป็นประเทศผู้นำในการทำ \”อิ๊กซี่\” จะพบ
ว่า มีอัตราการตั้งครรภ์โดยเฉลี่ยร้อยละ 30
ผลสำเร็จของการทำ \”อิ๊กซี่\” เป็นที่แน่นอนแล้วว่า ไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหรือสภาพของ
\”ตัวอสุจิ\” แต่ขึ้นอยู่กับ อายุของสตรีที่มารักษาเป็นสำคัญ โดยพบว่า
สตรีที่อายุต่ำกว่า 34 ปี มีอัตราการตั้งครรภ์ร้อยละ 38
สตรีมีอายุระหว่าง 35-39 ปี มีอัตราการตั้งครรภ์ร้อยละ 23
สตรีอายุมากกว่า 40 ปี มีอัตราการตั้งครรภ์ร้อยละ 6
ผลสำเร็จ จากวิธี \”อิ๊กซี่\” นี้ขึ้นอยู่กับ ความชำนาญของทีมแพทย์ผู้รักษา,เครื่องมือที่
ทันสมัย และห้องปฏิบัติการเลี้ยง \”ตัวอ่อน\” ที่มีคุณภาพอย่างยิ่ง
สำหรับค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับสถานที่รักษา หากทำในสถาบันของรัฐคาดว่า คงอยู่ใน
ระหว่าง 3-5 หมื่นบาท ต่อ 1 ครั้งดำเนินการ แต่ในสถาบันเอกชนจะแพงขึ้นไปอีก 2-3 เท่า

การเป็นหมันชายตามความเข้าใจสมัยก่อนที่ว่า ไม่มี \”ตัวอสุจิ\” ในน้ำเชื้อที่หลั่งออก
มา ไม่เป็นจริงเสียแล้วในปัจจุบัน
ขอเพียงแต่ให้มี \”ตัวอสุจิ\” หลงเหลืออยู่ในอัณฑะ ท่านจะสามารถสร้างฝันมีลูกสมบูรณ์
เองได้โดยไม่ต้องเดินทางไปยังต่างประเทศ เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของประเทศ
ไทย ไม่แพ้ชาติใดในโลก

 @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
พ.ต.อ.นพ.เสรี ธีรพงษื ผู้เขียน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *