“อิ๊กซี่ 2” : “มีซ่า/อิ๊กซี่”,”เทเซ่/อิ๊กซี่”

กรรมวิธีช่วยเหลือชายที่เป็นหมัน
สร้างฝันมีลูกของตัวเองให้เป็นจริง

ใครจะคิดว่า ผู้ชายที่เป็นหมัน เพราะไม่มี \”ตัวอสุจิ\” ในน้ำเชื้อ จะสามารถมีลูก
เลือดเนื้อเชื้อไขของตัวเองได้ และเป็นลูกที่สมบูรณ์เหมือนลูกของคนอื่น ๆ ด้วย
ความพยายามของมนุษย์ที่จะช่วยเหลือให้ชายที่เป็นหมันมีลูกได้นั้น มีมานานแล้ว
ปี ค.ศ.1948 (พ.ศ.2481) ได้มีการรายงานครั้งแรก ถึงประโยชน์ของการตรวจ
หาพยาธิสภาพของอัณฑะชายที่เป็นหมัน
ค.ศ.1969 (พ.ศ.2512) GIRGIS และคณะ ได้ทำการวิเคราะห์จนสามารถแบ่ง
กลุ่มลักษณะทางพยาธิสภาพของชายที่เป็นหมันจำนวน 843 คน ออกได้เป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่หนึ่ง เกิดจากการอุดตันของท่อนำน้ำเชื้อ (OBSTRUCTIVE AZOOSPERMIA)
พบประมาณร้อยละ 55 ซึ่งเกิดจากการอุดตันมาแต่กำเนิด หรือเกิดอุด
ตันขึ้นมาภายหลัง ตัวอย่างเช่น ภาวะไม่มีท่อนำน้ำเชื้ออสุจิแต่แรกเกิด
(CONGENITAL ABSENCE OF THE VAS DEFERENS)
กลุ่มที่สอง เกิดจากกระบวนการทำงานของกลุ่มเซลล์ที่สร้าง \”ตัวอสุจิ\” บกพร่อง
(FUNCTIONAL AZOOSPERMIA) พบร้อยละ 45 ซึ่งลักษณะหนึ่งเกิด
จากกลุ่มเซลล์ที่สร้าง \”อสุจิ\” หยุดทำงานถาวร และอีกลักษณะหนึ่งกลุ่ม
เซลล์ดังกล่าวทำงานได้บ้าง แต่สร้าง \”ตัวอสุจิ\” ไม่สมบูรณ์พอที่จะหลั่ง
ออกมาสู่ภายนอกได้
กลุ่มที่สองนี้ไม่มีการอุดตันของท่อนำน้ำเชื้อ แต่มักมีประวัติการ
ติดเชื้อจำพวก คางทูม,วัณโรค นำมาก่อน
การแบ่งกลุ่มพยาธิสภาพเช่นนี้ ช่วยให้เราคาดคะเนแนวทางการรักษาและการพยากรณ์
โรคได้ดีพอสมควรทีเดียว
ค.ศ.1984 (พ.ศ.2527) PRYOR และคณะ ได้จุดประกายความหวังโดยก่อให้เกิด
การตั้งครรภ์สำเร็จเป็นครั้งแรกในการทำ \”เด็กหลอดแก้ว\” (IVF-ET) ด้วยการใช้ \”ตัวอสุจิ\”
ที่เจาะดูดออกมาจากท่อนำน้ำเชื้อ (EPIDIDYMIS) ของผู้ชายเป็นหมันคนหนึ่ง โดยมีชื่อเรียกวิธี
นี้ในเชิงวิชาการว่า \”MESA\” (\”มีซ่า\” ย่อมาจาก MICROSURGICAL EPIDIDYMAL SPERM
ASPIRATION) โชคไม่ดี ที่การตั้งครรภ์ครั้งนี้สิ้นสุดลงด้วยการแท้งเพียงแค่อายุครรภ์ 9 สัปดาห์
จนกระทั่ง ปี ค.ศ.1988 (พ.ศ.2531) SILBER และคณะ ได้ใช้วิธีการเดียวกัน
(MESA/IVF) ประสบความสำเร็จได้ทารกรายแรกของโลกจากคู่สมรสที่สามีไม่มี \”ตัวอสุจิ\” ใน
น้ำเชื้อ แต่…พบว่า การทำ \”เด็กหลอดแก้ว\” วิธีมาตรฐาน (IVF-ET) โดยใช้ \”อสุจิ\” ที่
เจาะดูดออกมาจากอัณฑะส่วน EPIDIDYMIS ได้ผลสำเร็จค่อนข้างน้อย จึงมีการค้นหาวิธีการอื่น
มาช่วยเหลือต่อไป
ค.ศ.1992 (พ.ศ.2535) PALERMO และคณะ ทำ \”อิ๊กซี่\” สำเร็จ ได้หนูน้อย
\”อิ๊กซี่\” เป็นรายแรกของโลก หลังจากนั้นจึงมีการนำเอาวิธี \”อิ๊กซี่\” มารักษาร่วมด้วยในคู่สมรสที่
สามีเป็นหมันโดย
หากใช้ \”ตัวอสุจิ\” ที่ได้จากการเจาะดูดออกมาจากท่อนำน้ำเชื้อ (EPIDIDYMIS)
เพื่อมาทำ \”อิ๊กซี่\” ก็เรียกว่า \”MESA/ICSI\” (มีซ่า/อิ๊กซี่)
หากใช้ \”ตัวอสุจิ\” ที่ได้จากการบดชิ้นเนื้อเล็ก ๆ ของอัณฑะที่ตัดออกมา ก็เรียกว่า
\”TESE/ICSI\” (\”เทเซ่/อิ๊กซี่\” ย่อมาจาก \”TESTICULAR SPERM EXTRACTION/
INTRACYTOPLASMIC SPERM INJECTION\”)
สำหรับข้อบ่งชี้ในการทำ \”มีซ่า/อิ๊กซี่\” ได้แก่
1. ภาวะที่ไม่มีท่อนำน้ำเชื้อทั้งสองข้างแต่กำเนิด (CONGENITAL BILATERAL
ABSENCE OF THE VAS DEFERENCE)
2. การต่อหมันชายที่ล้มเหลว (FAILED VASOVASOSTOMY OR VASOEPIDIDYMOSTOMY)
3. การอุดตันของท่อฉีดน้ำเชื้อ (OBSTRUCTIONS AT THE LEVEL OF BOTH
EJACULATORY DUCTS)
4. ภาวะผิดปกติที่มีการไหลย้อนกลับของ \”น้ำอสุจิ\” ที่หลั่งออกมา เข้าไปในกระเพาะ
ปัสสาวะ (RETROGRADE EJACULATION)
5. ภาวะที่อวัยะเพศชายไม่แข็งตัวเนื่องจากไขสันหลังถูกทำลาย (ANEJACULATION
BECAUSE OF SPINAL CORD INJURY)
ข้อบ่งชี้ในการทำ \”เทเซ่/อิ๊กซี่\” ได้แก่
1. ทุกข้อบ่งชี้ของการทำ \”มีซ่า/อิ๊กซี่\”
2. ภาวะที่มีพังผืดในอัณฑะจนทำ \”มีซ่า\” ไม่ได้
3. ภาวะที่กลุ่มเซลล์สร้าง \”อสุจิ\” ทำงานบกพร่อง (GERM CELL HYPOPLASIA;
INCOMPLETE SERTOLI CELL ONLY SYNDROME; INCOMPLETE MATURATION ARREST;
TUBULAR SCLEROSIS)
4. ชายที่มีปัญหาด้านการหลั่ง \”น้ำอสุจิ\” ในกรณีจะทำ \”เด็กหลอดแก้ว\”
5. ภาวะที่ \”ตัวอสุจิ\” มีความพิการอย่างมาก (NECROZOOSPERMIA)
ทารกรายแรกของโลกทั้งจากวิธี \”มีซ่า/อิ๊กซี่\” และ \”เทเซ่/อิ๊กซี่\” เกิดในปีเดียวกัน
คือ ปี ค.ศ.1994 (พ.ศ.2537) ที่ประเทศเดียวกัน คือ เบลเยี่ยม
สำหรับประเทศไทย มีการทำ \”เทเซ่/อิ๊กซี่\” สำเร็จเป็นครั้งแรกที่โรงพยาบาลตำรวจ
โดย พ.ต.อ.นายแพทย์ จงเจตน์ อาวเจนพงษ์ ประกาศอย่างเป็นทางการ เมื่อ เดือนมีนาคม
พ.ศ.2539 ทารกที่ได้เป็นทารกคู่แฝด แข็งแรง สมบูรณ์ดี
ขั้นตอนการทำ \”มีซ่า/อิ๊กซี่\” และ เทเซ่/อิ๊กซี่\” คล้ายคลึงกันมาก มีแตกต่างกัน
เล็กน้อย ดังนี้
ในส่วนของสามี มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 ตรวจอวัยวะสืบพันธุ์ โดยตรวจดูลักษณะและขนาดของอัณฑะ รวมทั้งพยาธิ
สภาพ บริเวณนั้นด้วยว่า ผิดปกติหรือไม่
กรณีที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนะนำให้ทำการตัดชิ้นเนื้อตรวจพยาธิสภาพชิ้นเล็ก ๆ เสียก่อน
ว่า ยังมีการสร้าง \”ตัวอสุจิ\” หรือไม่ แล้วจึงทำขั้นตอนต่อไป
กรณีที่ผิดปกติ ซึ่งส่วนใหญ่ที่พบ คือ อัณฑะฝ่อลีบเล็ก แนะนำว่า โอกาสที่จะประสบ
ความสำเร็จในการรักษามีน้อยมาก คู่สมรสมีทางเลือกที่จะใช้ \”เชื้ออสุจิ\” ของชายอื่นแทน หรือ
จะเสี่ยงรักษาต่อซึ่งต้องทำการตัดชิ้นเนื้ออัณฑะเพื่อตรวจพยาธิสภาพก่อนเช่นกัน
ขั้นตอนที่ 2 การตรวจทางพยาธิสภาพ เป็นการตรวจทางพยาธิสภาพของชิ้นเนื้ออัณฑะ
ก่อนให้การรักษา โดยการตัดชิ้นเนื้ออัณฑะเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 7-10 มม. โดยศัลยแพทย์ระบบ
ทางเดินปัสสาวะเพื่อตรวจพิสูจน์ว่า อัณฑะยังมีการสร้าง \”อสุจิ\” อยู่หรือไม่
กรณีที่ภายในอัณฑะไม่มีการสร้าง \”อสุจิ\” แล้ว แนะนำให้ยุติการรักษาหรือใช้ \”เชื้อ
อสุจิ\” ของชายอื่นแทน
กรณีที่อัณฑะยังสร้าง \”ตัวอสุจิ\” อยู่ จะนัดให้ฝ่ายชายมาตัดชิ้นเนื้ออัณฑะอีกครั้งหนึ่งใน
วันที่เจาะ \”ไข่\” ของฝ่ายหญิงเพื่อทำ \”อิ๊กซี่\”
ในบางกรณี อาจไม่จำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อของอัณฑะ มาตรวจหาพยาธิสภาพก่อน เช่น
เคยทำหมันชายแล้วแก้หมันไม่สำเร็จ เพราะเชื่อว่า ยังมีการสร้าง \”อสุจิ\” อยู่อย่างแน่นอน
เพียงแต่ถูกขัดขวางไม่ให้ออกมาสู่ภายนอกได้เท่านั้น
ส่วนกรรมวิธีนำเอา \”ตัวอสุจิ\” ออกมาจากอัณฑะ จะเลือกใช้วิธี \”มีซ่า\” หรือ
\”เทเซ่\” นั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
ขั้นตอนที่ 3 กรรมวิธีนำเอา \”ตัวอสุจิ\” ออกมาจากอัณฑะ ในขณะที่ฝ่ายภรรยาเข้า
ห้องผ่าตัดเจาะดูด \”ไข่\” ฝ่ายสามีก็ต้องเข้าห้องผ่าตัดเช่นกัน เพื่อดำเนินกรรมวิธีนำเอา
\”ตัวอสุจิ\” ออกมา
กรรมวิธี \”มีซ่า\” จะเป็นการใช้เข็มที่ทำขึ้นเป็นพิเศษโดยเฉพาะ (MICROPUNCTURE
PIPET) เจาะลงบริเวณ EPIDIDYMIS ของอัณฑะ แล้วดูดเอา \”อสุจิ\” ออกมา
กรรมวิธี \”เทเซ่\” จะเป็นการกรีดตัดชิ้นเนื้อของอัณฑะเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาดประมาณ
7-10 ม.ม. แล้วส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการไปบดและเขี่ยหา \”ตัวอสุจิ\” ออกมา เมื่อพบ
\”ตัวอสุจิ\” แล้ว จะนำไปล้างในน้ำยา จากนั้นจึงนำไปทำ \”อิ๊กซี่\” ต่อไป
ในส่วนของภรรยา มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 กระตุ้น \”ไข่\” และ เจาะเก็บ \”ไข่\” โดยใช้ยาหรือฮอร์โมนฉีดกระตุ้น
เพื่อให้ได้ \”ไข่\” หลาย ๆ ใบ เมื่อ \”ไข่\” เหล่านั้นโตได้ขนาดที่เหมาะสม จึงเจาะเก็บออก
มา
ขั้นตอนที่ 2 ทำ \”อิ๊กซี่\” เมื่อได้ \”ไข่\” ออกมาแล้ว จะนำมาคัดเลือกเอาเฉพาะ
\”ไข่\” ที่สุกเต็มที่ (ระยะ METAPHASE II) เท่านั้น ขณะเดียวกันจะให้สามีเข้าห้องผ่าตัด
เพื่อทำการเจาะดูด \”ตัวอสุจิ\” ที่บริเวณ EPIDIDYMIS (วิธี MESA) หรือกรีดตัดเอาชิ้นเนื้อ
อัณฑะชิ้นเล็ก ๆ ไปบดและเขี่ยหา \”ตัวอสุจิ\” (วิธี \”TESE\”) เมื่อพบ \”ตัวอสุจิ\” แล้ว ก็จะนำ
เอามาเจาะใส่ \”ไข่\” เพียงตัวเดียวโดยใช้เครื่องมือพิเศษ (MICROMANIPULATOR)
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินสภาพการปฏิสนธิของ \”ตัวอ่อน\” \”ไข่\” ที่ทำ \”อิ๊กซี่\” แล้ว
จะถูกนำมาเลี้ยงไว้ในน้ำยาเลี้ยง \”ตัวอ่อน\” ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซนติเกรด ภายใต้บรรยากาศที่
เหมาะสม ทิ้งไว้ประมาณ 16-18 ชั่วโมง จึงมาตรวจดูว่า มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นหรือไม่ หากมีการ
ปฏิสนธิ จึงจะพิจารณานำ \”ตัวอ่อน\” กลับเข้าสู่ร่างกายคนไข้สตรีต่อไป
ขั้นตอนที่ 4 การนำ \”ตัวอ่อน\” กลับเข้าสู่ร่างกายคนไข้สตรี โดยอาจจะดำเนินการ
นำกลับเข้าทางปากมดลูกหรือปีกมดลูก ก็แล้วแต่ความเหมาะสม

\”มีซ่า/อิ๊กซี่\” และ \”เทเซ่/อิ๊กซี่\” เป็นกรรมวิธีที่ใช้ได้ผลอย่างดียิ่ง ในกรณีสามีเป็น
หมัน ประสบความสำเร็จใกล้เคียงกัน แนวทางการรักษาคล้าย ๆ กัน แต่ก็มีส่วนที่แตกต่างกันบ้าง
เล็กน้อย คือ \”มีซ่า/อิ๊กซี่\” จะเลือกใช้ในกรณีที่คาดว่า มี \”ตัวอสุจิ\” ที่บริเวณส่วน EPIDIDYMIS
ของอัณฑะ ส่วน \”เทเซ่/อิ๊กซี่\” ใช้ได้กับทุกกรณี

คนเราแต่งงานกัน ใช่ว่า จะมีความสุขเพียงสองคนได้ตลอดชีวิต บางทีการใช้ชีวิต
ร่วมกันเพียงแค่สองคน อาจจะจำเจ,หงอยเหงาและเนือย ๆ ราวกับว่า เราใช้ชีวิตนี้อย่างไร้
จุดหมาย ปราศจากคุณค่า
\”ลูก\” อันเป็นตัวแทนและพยานแห่งความรัก เป็นสิ่งซึ่งทำให้เรารู้จัก \”คุณค่า\” ของ
ตัวเองอย่างแท้จริง คุณค่าในการ \”เสียสละ\” และ \”ให้\” โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เพียงแต่ว่า
\”คุณค่า\” เหล่านี้ มักจะสงวนไว้เฉพาะ สายเลือดของเรา เท่านั้น

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
พ.ต.อ.นพ. เสรี ธีรพงษ์ ผู้เขียน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *