“หมอ”

\”หมอ\”

ครั้งนั้น ฉันยัง เยาว์วัย ชีวิต จิตใจ สุขสันต์
คราใด เจ็บป่วย ขึ้นพลัน หมอนั้น รักษา ทันที
เจ็บป่วย มากน้อย เพียงใด หมอได้ ดูแล ถ้วนถี่
ความรู้ มากมาย หมอมี พอที่ ช่วยเหลือ ประชาชน
คิดหวัง ตั้งแต่ ครั้งนั้น ใฝ่ฝัน หลายครั้ง หลายหน
โตขึ้น เป็นหมอ อดทน ช่วยคน เจ็บป่วย ปลอดภัย
จะต้อง เป็นหมอ เก่งกาจ สามารถ บรรเทา ทุกข์ไข้
รอบรู้ โรคร้าย ทั่วไป เร็วไว ขจัดได้ ทุกครา

บัดนี้ ความฝัน เป็นจริง ทุกสิ่ง เรียนรู้ รักษา
โรคภัย ไข้เจ็บ นานา วิชา ทั้งมวล รู้ครบ
คิดว่า เป็นหมอ เก่งกาจ สามารถ รอบรู้ เรียนจบ
เจ็บป่วย ทุกโรค ค้นพบ ประสบ สำเร็จ แท้จริง
แต่ครั้น เวลา ผ่านเลย ที่เคย คิดเอา เขลายิ่ง
โรคใหม่ ยาเก่า ต้องทิ้ง ทุกสิ่ง เปลี่ยนแปลง ตลอดมา
รู้แล้ว \”หยุดเรียน\” เลิกคิด ชีวิต คือการ ศึกษา
ปฏิบัติ ทบทวน ค้นคว้า ช่วยพา ชีวา ก้าวหน้าเอย

แพทย์หญิง อรวรรณ แสงสุวรรณ

••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
การศึกษาเปรียบเหมือนกับ การพายเรือทวนกระแสน้ำ
หากไม่มุ่งไปข้างหน้า ก็ย่อมจะถอยหลัง
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

คนไข้ & แพทย์ : เพื่อนผู้หวังดี
\”ระยะทางระหว่างคนสองคน จะสั้นที่สุดด้วยเสียงหัวเราะ\”

\”เมื่อความผิดหวัง ผ่านเข้ามา จงอย่าเสียใจ
สร้างความหวังใหม่ ท้อทำไม ชีวิตยังไม่สิ้น
…………………………….
……………………………\”

บทเพลงนี้ เป็นที่นิยมร้องกันมากในหมู่นิสิตนักศึกษาในรั้ววิทยาลัย ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง
ใช้คำง่าย กินความลึก ใครได้ยิน ได้อ่านบทประพันธ์ ก็มีอารมณ์ร่วม สะเทือนใจไปด้วย

ในชีวิตของคนเรา ก็เป็นเช่นเดียวกัน มักมีคนผิดหวังเสียใจอยู่บ่อย ๆ แต่คงไม่มาก
ไปกว่า บุคคลที่ตั้งความหวังไว้อย่างสูง ในวิทยาการสมัยใหม่ที่ช่วยเหลือผู้มีลูกยาก แล้ววันหนึ่งมา
พบกับ \”ความผิดหวัง\” \”ความผิดหวัง\” ที่เกิดขึ้นนี้เป็นอารมณ์สะเทือนใจที่มากยิ่งนัก เกิดขึ้น
ทั้งตัวของคนไข้สตรีเองและสามี บางคนถึงกับร้องไห้เสียงดังและบริภาษออกมาว่า \”เสียทั้งเงิน,
เสียทั้งเวลา แล้วยังมาเสียใจอีก\”

ความจริง แม้จะใช้วิทยาการเทคโนโลยี่ก้าวหน้าอย่างไร ก็ยังเกิดผลที่ล้มเหลวได้
โดยรวม ๆ แล้ว ผู้ที่มารักษาภาวะมีบุตรยาก พบกับความสำเร็จเบื้องต้นประมาณร้อยละ 30-40
สำหรับในสตรีอายุมากกว่า 40 ปี ภายหลังตั้งครรภ์แล้วยังมีโอกาสแท้งบุตรอีกร้อยละ 50 สตรี
ส่วนใหญ่ที่มารับการรักษาภาวะมีบุตรยากล้วนแต่อายุผ่านวัยรุ่นมีลูกง่ายไปแล้วทั้งนั้น จึงมีโอกาส
ที่จะพบกับความผิดหวัง สำหรับผู้ที่ยังมีความหวังอยู่และยังคงรับการรักษาต่อไป ส่วนหนึ่งก็ประสบ
ความสำเร็จ
ความสำเร็จในเชิงรักษาภาวะมีบุตรยาก โดยใช้วิทยาการเทคโนโลยี่สมัยใหม่นั้น ขึ้น
กับ 2 ปัจจัยใหญ่
1. ความรู้,ความชำนาญ,ประสบการณ์ของแพทย์ผู้ทำการรักษา
2. ความพร้อมสมบูรณ์ทันสมัยและคุณภาพอย่างสูงของห้องปฏิบัติการ โดยเฉพาะห้อง
ปฏิบัติการเลี้ยง \”ตัวอ่อน\”

แพทย์ผู้ทำการรักษา ต้องหาความรู้อยู่เสมอ อย่าทอดทิ้ง \”ความรู้\” ได้มีนักปราชญ์
ทางการแพทย์ท่านหนึ่ง ได้ให้ข้อคิดเชิงปรัชญาไว้อย่างน่าฟังมาก ว่า

TO STUDY THE PATIENTS WITHOUT BOOKS IS
TO SAIL THE SEA WITHOUT THE MAP,
WHILE TO STUDY THE BOOKS WITHOUT THE PATIENTS
IS NOT TO GO TO THE SEA.
คำแปล : การศึกษาผู้ป่วย โดยไม่อาศัยความรู้จากตำรับตำรา ก็เสมือนกับการ
ล่องเรือไปในท้องทะเลโดยไม่มีแผนที่ ในขณะที่การอ่านแต่หนังสือตำรา โดยไม่ศึกษาจากผู้ป่วย
นั้น เท่ากับว่าไม่ได้ไปที่ทะเลเลยทีเดียว
หมายความว่า : การศึกษาทางการแพทย์ ต้องอาศัยทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติ จึง
จะบรรลุผลสำเร็จ

แพทย์ ควรศึกษาหาความรู้ตลอดเวลาควบคู่ไปกับการรักษา ที่สำคัญคือ การทำวิจัย
และการพัฒนา (Research and Development) ถ้าไม่มีเวลาทำวิจัย ก็ต้องอ่านศึกษางาน
วิจัยที่ผู้อื่นได้ทำไว้ในสมัยปัจจุบันที่สุด ต้องคอยติดตามความก้าวหน้าทางการแพทย์ในต่างประเทศ
แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในบ้านเรา
สิ่งสำคัญของแพทย์อย่างหนึ่งก็คือ \”ประสบการณ์\” ผู้ที่ประสบความสำเร็จทุกคนล้วน
แกร่งดุจหินผา ที่ตั้งตระหง่าน ยืนสง่า ฝ่าลม ต้านฝน ทนแดดอยู่นานแสนนาน ผู้ที่ทำมาก เคย
ผิดพลาดมามาก ผิดแล้วเรียนรู้แก้ไข ไม่ยอมแพ้ ถือหลัก \”ผิดเป็นครู\” & \”ถูกเป็นครู\” ในที่สุด
ย่อมประสบความสำเร็จเป็น \”แพทย์\” ที่มีคุณภาพ ดังเรื่องที่ปรมาจารย์ด้านประกันชีวิต
คุณชัชวาลย์ โชติวานิช ได้ประพันธ์ไว้ในหนังสือของท่าน เรื่องวิญญาณตามหลังหมอ ดังนี้
กาลครั้งหนึ่ง หมอคนใดรักษาคนไข้ตาย 1 รายจะมีวิญญาณ ของคนตายเดินตามหลัง
หมอผู้นั้น มีอยู่วันหนึ่ง พ่อของชายหนุ่มคนหนึ่งได้ล้มป่วยลง จึงสั่งให้ ลูกชายไปตามหมอมารักษา
โดยสั่งเอาไว้ว่า พยายามเชิญหมอที่มีวิญญาณตามน้อย ๆ หน่อย เมื่อลูกชายไปติดต่อหมอผู้มีชื่อเสียง
และทำการรักษามานานปี แลเห็นวิญญาณคนตายเดินตามหลังหมอผู้นั้นเป็นจำนวนพัน ๆ ราย จึงไม่
กล้าเชิญมารักษาพ่อของตน พยายามเสาะหาอยู่ตลอดวัน ก็ยังหาไม่ได้ เพราะหมอยิ่งมีชื่อเสียง
ยิ่งมีวิญญาณเดินตามหลังยิ่งมาก หาไปหามา เผอิญ! พบหมอหนุ่มคนหนึ่งมีวิญญาณเดินตามหลังแค่
10 รายก็ดีใจ  จึงเชิญให้มารักษาอาการไข้ของพ่อตน ระหว่างเดินมากลางทาง ชายหนุ่มจึงเอ่ย
ถามหมอว่า คุณหมอออกมารักษาคนไข้นานกี่มากน้อยแล้ว คุณหมอตอบว่า \”เพียงสามเดือน\” ถาม
อีกว่าทั้งหมดรวมแล้วทำการรักษาคนไข้กี่ราย คุณหมอตอบว่า \”เพียงสิบราย\” แสดงว่าตายหมด
ทั้งสิบราย
นิยายเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า อันความชำนาญและจัดเจนของคนเรานั้น ส่วนมากได้มาจาก
การประสบกับความล้มเหลวมามาก จึงมีความชำนาญและจัดเจน ดังคำพังเพยของไทยที่ว่า
\”ผิดเป็นครู\”

ไม่มีแพทย์ท่านใดรักษาคนไข้ แล้วไม่ต้องการให้สำเร็จมี \”ลูก\” ไว้เชยชม แต่ก็ต้อง
มีที่คนไข้ตั้งครรภ์ไม่สำเร็จ แม้จะช่วยเหลือด้วยเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยแล้ว ขอเพียงแพทย์ผู้นั้นได้ใช้
ความรู้อย่างถูกต้องเหมาะสม,ดูแลอย่างใกล้ชิดและทุ่มเทอย่างที่สุดแล้ว (ด้วยความจริงใจ & มี
จรรยาบรรณ) ก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ เพราะยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย คือ
\”ตัวคนไข้เอง\”
การเป็นแพทย์ จะต้องมี จรรยาบรรณ ควบคู่กันไป แต่ก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถาน-
การณ์ด้วย มีเรื่องเล่าว่า
มีเศรษฐีสามีภริยาคู่หนึ่ง ร่ำรวยมหาศาล เป็นชาวออสเตรเลีย แต่งงานมานานหลาย
ปียังไม่มีลูก ได้ไปรับการรักษาที่คลีนิคมีลูกยากแห่งหนึ่ง แพทย์ได้วินิจฉัยแล้ว คนไข้สตรีมีข้อบ่งชี้
ให้ต้องรักษา โดยวิธีทำ \”เด็กหลอดแก้ว\” ภายหลังจากที่เก็บ \”ไข่\” ได้ก็ผสมกับ \”เชื้ออสุจิ\”
เป็น \”ตัวอ่อน\” ขณะนั้น คนไข้สตรีสุขภาพไม่ดีไม่สามารถนำ \”ตัวอ่อน\” กลับเข้าสู่ร่างกายได้
จึงทำการ \”แช่แข็ง\” ไว้ก่อน สามีภริยาคู่นี้ก็ไปพักรักษาตัวที่บ้านจนหาย ขณะที่นั่งเครื่องบิน
เดินทางมาเพื่อหยอด \”ตัวอ่อน\” ก็เกิดเครื่องบินตก สามีภริยาคู่นี้เสียชีวิต คราวนี้ทุก ๆ คน
ที่เป็นญาติ ก็ทะเลาะกัน,แย่งชิงแสดงตัวเป็นผู้จัดการทรัพย์สมบัติ ทนายความประจำตระกูล ก็ออก
แถลงการณ์ว่า ไม่มีใครจะเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สมบัติได้ เพราะ \”ทายาท\” ที่แท้จริงนั้น ยังเป็น
\”ตัวอ่อน\” แช่แข็งอยู่เลย
หากท่านเป็นแพทย์ผู้ทำการรักษา ท่านจะตอบว่าอย่างไร เพราะอะไร
คำตอบของแพทย์ผู้นี้ ก็คือ \”ตัวอ่อน\” ตายไปแล้ว ที่พูดเช่นนี้ เพราะต้องการตัด
ปัญหาทางกฎหมายที่จะเกิดตามมาอีกมากกับทารก (\”ตัวอ่อน\” แช่แข็ง) นี้ หากปล่อยให้กำเนิดมา
แพทย์ท่านนี้ทำผิดจรรยาบรรณหรือไม่ ที่โกหกและปล่อยให้ \”ตัวอ่อน\” นั้นตายไป

เรื่องของ \”จรรยาบรรณ\” เป็นเรื่องที่ต้องมีอยู่ในใจของแพทย์ทุกท่าน หลังจากปี
ค.ศ.1978 (พ.ศ.2521) นับแต่กำเนิด \”เด็กหลอดแก้ว\” รายแรกของโลก \”หลุยส์ บราวน์\”
วิทยาการทางด้านนี้ก็ก้าวหน้าไปมาก มีงานวิจัยเกี่ยวกับ \”ตัวอ่อน\” ของมนุษย์จำนวนมาก ส่วน
หนึ่งของประชาชนไม่เห็นด้วยกับการค้นคว้านี้ แต่จากการทำแบบสอบถามต่อประชาชนทั่วไปใน
ประเทศออสเตรเลีย พบว่า ร้อยละ 81 เห็นด้วยกับงานวิจัย \”เด็กหลอดแก้ว\” เพื่อแก้ปัญหา
ภาวะมีบุตรยาก

ความจริงแล้ว มีการวิจัยจึงมีการพัฒนา และทุกครั้งที่ทำการกระตุ้นไข่ เพื่อทำ \”กี๊ฟ\”
หรือ \”เด็กหลอดแก้ว\” จะมี \”ไข่\” จำนวนหนึ่งเหลือ (เนื่องจากมีการจำกัด \”ไข่\” ที่ใช้) \”ไข่\”
ที่เหลือจะทำอย่างไร เก็บไว้เฉย ๆ ก็สลายตายไป มีทางเดียวให้เกิดประโยชน์คือ ทำงาน
วิจัย อาจทำโดยนำมาผสมกับ \”เชื้ออสุจิ\” ให้เป็น \”ตัวอ่อน\” คนเราเมื่อตายลง ยังยอมบริจาค
ร่างเพื่องานวิจัยศึกษาเรียนรู้ ทำไมกับ \”ตัวอ่อน\” เหล่านี้ ซึ่งทิ้งไว้ก็ต้องตายไปโดยไร้คุณค่า
เมื่อเราก็นำมาทำวิจัย ก็จะก่อประโยชน์มหาศาลกับมวลมนุษย์ จึงไม่สมควรได้รับการตำหนิ
ที่น่าสมควรตำหนิ ควรจะเป็นการนำวิทยาการมาใช้ไม่เหมาะสมมากกว่า ยกตัวอย่าง
เช่น ต้องการเลือกเพศบุตร (กรณีมีบุตรง่าย) แพทย์ก็แนะนำให้ทำ \”เด็กหลอดแก้ว\” ซึ่งเป็น
กรรมวิธีซึ่งเสียเงินจำนวนมาก เสียเงิน โดยไม่จำเป็น และโอกาสตั้งครรภ์ก็น้อยเพียงร้อยละ
15-20 เท่านั้น
หรือในกรณีอวดอ้างว่า สามารถเลือกเพศบุตรได้ถึงร้อยละ 100 โดยถ้าตั้งครรภ์
ขึ้นมาแล้ว ก็นำเซลล์รกไปศึกษาโครโมโซมขณะอายุครรภ์ประมาณ 7-8 สัปดาห์ ถ้าพบว่าเป็นเพศ
ที่ไม่ต้องการ ก็ทำแท้งให้ผู้ป่วย วิธีการนี้เหมาะในประเทศจีนซึ่งจำเป็นต้องมีลูกคนเดียว แต่
ไม่เหมาะกับเมืองไทยซึ่งเป็นเมืองพุทธ

\”คนไข้\” คู่กับ \”ความหวัง\” ส่วน \”แพทย์\” คู่กับ \”ความรู้ความชำนาญ\” และ
\”จรรยาบรรณ\”
\”คนไข้\” หวังดีต่อ \”หมอ\” ให้ประสพความสำเร็จ \”หมอ\” ก็หวังดีต่อ \”คนไข้\”
ให้ประสบความสมหวัง ต่างคนต่างหวังดีต่อกัน ไม่อยากให้ใครผิดหวัง หากว่า \”ผิดหวัง\” ก็
เสียใจมากด้วยกันทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม ขออย่าได้สูญเสียกำลังใจ เพราะกำลังใจจะช่วยให้
ฝ่าฟันไปสู่จุดหมายได้สำเร็จ ดั่งบทเพลงกวีของจีนที่ว่า

หากภูเขาเขียวยังไม่ทลาย ย่อมหาฟืนท่อนไม้เผาไฟได้
หากชีวิตยังไม่สูญสลาย ย่อมหาพบสิ่งที่หวัง ด้วยยังมี กำลังใจ \”สู้\” อยู่
เพลง คือ บทกวีง่าย ๆ ที่แฝงด้วยความหมาย ให้อารมณ์ ความรู้สึก ซาบซึ้ง
สะเทือนใจและมีจินตนาการที่เป็นภาพชัดเจน
\”บทเพลง\” จะต้องมี \”คำร้อง\” และ \”ทำนองดนตรี\” และยังต้องมี \”นักร้อง\” ขับ
กล่อมออกมาจึงจะทำให้บทเพลงนั้นมีความหมาย
\”นักร้อง\” ร้องเพลงเพราะ ก็เป็นสิ่งที่สมควรอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องปรบมือให้ แต่
ถ้าร้องเพลงไม่เพราะ ก็ไม่สมควรเรียกตนเองว่า \”นักร้อง\”

\”แพทย์\” มีฝีมือชำนาญในการรักษาผ่าตัดได้ดี ก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าไม่ชำนาญ
เรื่องการรักษา ผ่าตัดหรือความรู้ไม่ดี ก็สมควรได้รับคำตำหนิ เพราะฉะนั้น \”แพทย์\” ต้องหมั่น
ศึกษาหาความรู้และฝึกฝนตนเองให้ชำนาญอยู่เสมอ โดยไม่ต้องรอรับคำยกย่องจากผู้อื่น

\”ดนตรี\” ท่วงทำนอง แต่งขึ้นมาโดยอาศัยตัวโน๊ต และบันไดเสียง ต้องใช้จินตนาการ
อย่างมากและแต่งขึ้นมายากลำบาก แต่ \”ดนตรี\” ยังแฝงอยู่เบื้องหลัง \”เพลง\” ที่ร้องและ
\”บทเพลง\” ก็อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ \”นักร้อง\” อีกทีหนึ่ง
\”ดนตรี\” ที่สมบูรณ์ จะทำให้ บทเพลง ที่ร้องไพเราะมาก ๆ
\”บทเพลง\” ที่ไพเราะ จะทำให้ นักร้อง ร้องเพลงได้ดี, มีอารมณ์, ประสบความ
สำเร็จ และมีชื่อเสียง
\”นักร้อง\” เป็นเพียงผู้ที่ท่อง บทเพลง และร้องตาม ท่วงทำนองดนตรี ที่มีคนแต่งไว้
เท่านั้น \”นักร้อง\” ใช้ความสามารถเพียงเล็กน้อย ก็ประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงมากในหมู่คน
ทั่วไป
\”นักแต่งเพลง\” ใช้ความสามารถมากกว่า แต่ประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงคนรู้จัก
น้อยกว่า
\”นักดนตรี\” ผู้แต่งท่วงทำนอง ใช้ความสามารถมากที่สุด แต่ได้รับความสำเร็จมี
ชื่อเสียงคนรู้จักน้อยที่สุด
นี่คือ ความเป็นจริงที่มีอยู่ในโลกนี้ หมายถึงว่า ผู้ที่อยู่เบื้องหลัง ย่อมจะเป็น ผู้ที่
สำคัญกว่า,ทำงานหนักกว่า และสนับสนุนอยู่เบื้องหลังอย่างซื่อสัตย์ หากผู้ที่ประสบความสำเร็จ
หลงลืมผู้ที่อยู่เบื้องหลังแล้วไซร้ แน่นอน!.. เขาผู้นั้นย่อมจะยืนอยู่ที่เดิมไม่ได้ และไม่นานนักก็จะ
ล้มลง โดยไม่มีโอกาสที่จะลุกยืนขึ้นได้อีกเลย เหมือนบ้านที่ไม่ได้บำรุงฐานและเสาคาน ปล่อยให้
ชำรุดทรุดโทรม บ้านนั้นก็ตั้งอยู่ไม่ได้ต้องล้มครืนลงสักวันหนึ่ง \”แพทย์\” ที่ไม่ได้ให้ความเคารพ,
ซื่อสัตย์ และนับถือผู้ที่อยู่เบื้องหลัง อันได้แก่ คนไข้และครู ผู้ให้วิชา ย่อมประสบความล้มเหลว
อย่างแน่นอน

ท้ายที่สุดนี้
ขอขอบพระคุณ พันตำรวจเอก นายแพทย์ จงเจตน์ อาวเจนพงษ์ ผู้ให้การส่งเสริม
สนับสนุนข้าพเจ้ามาตลอด
ขอขอบพระคุณ อาจารย์ ถาวร สิกขโกศล บรมครูตลอดกาลของข้าพเจ้า ที่ช่วยให้
หนังสือเล่มนี้สำเร็จขึ้นมาด้วยภาษาที่ถูกต้องสละสลวย
ขอขอบพระคุณ คุณพ่อคุณแม่,ครู,อาจารย์,ผู้ร่วมงานและคนไข้ ทุก ๆ ท่าน ที่ประสิทธิ์
ประสาทวิชาต่าง ๆ ให้ ทั้งโดยตั้งใจและโดยไม่ได้ตั้งใจ ตั้งแต่ข้าพเจ้าลืมตาดูโลกมา
สุดท้ายนี้ ขอขอบพระคุณ ภริยาของข้าพเจ้า นางเพ็ญศรี ธีรพงษ์ ที่คอยเป็นกำลังใจ
อย่างมากมาย,สนับสนุนและเป็นแรงดลใจให้ข้าพเจ้าเขียนหนังสือเรื่องนี้ จวบจนสำเร็จลุล่วงไป
ได้ด้วยดี

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&
พ.ต.อ.นพ.เสรี ธีรพงษ์ ผู้เขียน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *