ทางเลือกในการช่วยเหลือให้เกิดการตั้งครรภ์

ทางเลือกในการช่วยเหลือให้เกิดการตั้งครรภ์

การช่วยเหลือให้เกิดการตั้งครรภ์ มิใช่มีเพียงแต่ การฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก,การทำ
กี๊ฟ และการทำเด็กหลอดแก้ว วิธีอื่น ๆ ที่มีผู้นำมาใช้รักษา และได้ผลพอสมควร ได้แก่
1. การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่อุ้งเชิงกรานโดยตรง (DIRECT INTRAPERITONEAL
INSEMINATION ชื่อย่อ \”DIPI\”)
2. การนำเอา \”ไข่\” และ \”เชื้ออสุจิ\” เข้าไปใส่ไว้ในอุ้งเชิงกราน (PERITONEAL
OOCYTE SPERM TRANSFER ชื่อย่อ \”POST\”)
3. การนำเอา \”ไข่\” และ \”เชื้ออสุจิ\” ไปใส่ไว้ในโพรงมดลูก โดยตรง (DIRECT
OOCYTE TRANSFER) ทุกวิธีการดังกล่าวข้างต้น มีกระบวนการขั้นตอนช่วงแรกเหมือนกัน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การกระตุ้นไข่ โดยใช้ยากิน หรือยาฉีด หรือทั้งสองชนิดร่วมกัน เพื่อต้อง
การให้ได้ \”ไข่\” ที่จะนำมาใช้จำนวนหลายใบ ในระหว่างที่ \”ไข่\” จำนวนมากเหล่านี้กำลัง
เจริญเติบโต จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ด้วยการดูอัลตราซาวน์ผ่านทางช่องคลอดเป็นระยะ ๆ
และเจาะเลือดตรวจฮอร์โมนที่ \”ไข่\” สร้างขึ้น เมื่อ \”ไข่\” เหล่านี้มีขนาดโตมากกว่า 17
มิลลิเมตร ตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไป จึงฉีดยา (HUMAN CHORIONIC GONADOTROPIN) กระตุ้นให้
\”ไข่\” ตกออกมาตามเวลาที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมเชื้ออสุจิ \”เชื้ออสุจิ\” ที่จะนำมาใช้ในวิธีการดังกล่าวขั้นต้น
ต้องผ่านกระบวนการ \”คัดเชื้อ\” ตามวิธีมาตรฐานเสียก่อน เพื่อให้ได้ \”เชื้ออสุจิ\” ที่แข็งแรงและ
สามารถปฏิสนธิกับ \”ไข่\” ได้ทันที
การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่อุ้งเชิงกรานโดยตรง (DIRECT INTRAPERITONEAL INSE-
MINATION)
สืบเนื่องจากความไม่แน่ใจว่า การฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูกนั้น \”เชื้ออสุจิ\” อาจจะ
เดินทางไปไม่ถึงปีกมดลูก เพื่อรอปฏิสนธิกับ \”ไข่\” ที่ตกออกมา จึงมีผู้คิดว่า หากนำเอา
\”เชื้ออสุจิ\” เข้าไปไว้ในตำแหน่งอุ้งเชิงกรานที่ต่ำสุด (CULDESAC) ซึ่งเป็นบริเวณที่ \”ปีกมดลูก\”
ทั้งสองข้างมักมาวางอยู่ จะทำให้เกิด การปฏิสนธิง่ายขึ้น เพราะ \”เชื้ออสุจิ\” จะว่ายเข้าไปใน
\”ปีกมดลูก\” ได้ง่าย เมื่อ \”ไข่\” ถูก \”ปีกมดลูก\” จับดูดเข้าไป ก็น่าจะมีการปฏิสนธิเกิดขึ้นทันที
MANHES และ HERMABESSIERE ได้รายงานเป็นครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ.1985
(พ.ศ.2528) โดยการใช้เข็มยาวปราศจากเชื้อโรคเจาะผ่านผนังช่องคลอดโดยมีอัลตราซาวน์
ช่วยชี้นำ จากนั้นจึงฉีดเชื้ออสุจิที่ผ่านการ \”คัดเชื้อ\” แล้ว เข้าไปในบริเวณอุ้งเชิงกรานส่วนต่ำ
ที่สุด (CULDESAC) ในช่วงเวลาที่ไข่ตก
ข้อบ่งชี้
1. ภาวะมีบุตรยากที่หาสาเหตุไม่ได้
2. มูกปากมดลูกไม่เหมาะสม
3. ภาวะที่สามีมีเชื้ออ่อน
4. ผู้ป่วยที่ล้มเหลวจากการผสมเทียมโดยใช้ \”เชื้ออสุจิ\” จากชายอื่น
กรรมวิธีการฉีดเชื้ออสุจิที่ผ่านการ \”คัดเชื้อ\” แล้วเข้าสู่ช่องท้องบริเวณอุ้งเชิงกราน
(\”DIPI\”)
หลักการ ก็คือ การนำ \”เชื้ออสุจิ\” ไปไว้ในตำแหน่งอุ้งเชิงกรานที่อยู่ต่ำสุด (POUCH
OF DOUGLAS) ในช่วงเวลาที่ \”ไข่\” ตก ดังรูป

* \”DIPI\” อาจจะทำโดยการเดาสุมเจาะผ่านผนังช่องคลอด เข้าไปในตำแหน่งที่
ต้องการหรือภายใต้การชี้นำด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกวิธีหลังมากกว่า
* ผู้ป่วยจะอยู่ในท่านอนขึ้นขาหยั่ง (LITHOTOMY) ก่อนอื่นจะต้องทำความสะอาดช่อง
คลอดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ จากนั้นใช้อัลตราซาวน์ตรวจดูผ่านทางช่องคลอด เพื่อหาตำแหน่งที่ต้องการ
(POUCH OF DOUGLAS) ซึ่งเราอาจจะมองเห็นของเหลวเล็ก ๆ น้อย ๆ ในบริเวณนี้ หลังจาก
นั้น ใช้เข็มยาวที่ปราศจากเชื้อ เจาะผ่านผนังช่องคลอดโดยมีอัลตราซาวน์ส่องชี้นำ ควรลองดูด
เอาของเหลวที่เห็นจากอัลตราซาวน์ออกมาก่อน เพื่อให้แน่ใจว่า ปลายเข็มอยู่ในตำแหน่งที่
เหมาะสม ฉีดเชื้ออสุจิผ่านเข็มยาวอันนี้เข้าไปจำนวนเล็กน้อย อย่าลืมบอกคนไข้ว่า จะมีความรู้สึก
เจ็บเสียวแปลบเวลาที่เข็มแทงผ่านผนังช่องคลอดในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น หลังจากฉีดเชื้อ
แล้ว ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันที
ผลสำเร็จ
จากการรวบรวมข้อมูลของหลาย ๆ สถาบัน พบว่า มีอัตราการตั้งครรภ์ร้อยละ 10.2
ต่อ การรักษา 1 รอบเดือน ซึ่งไม่มากไปกว่า วิธีฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก ปัจจุบันจึงมีที่ใช้น้อยมาก
การนำเอา \”ไข่\” และ \”เชื้ออสุจิ\” เข้าไปใส่ไว้ในอุ้งเชิงกราน (PERITONEAL
OOCYTE SPERM TRAMSFER ชื่อย่อ \”POST\”)
รายงานครั้งแรกที่ HALLAM MEDICAL CENTRE ในกรุงลอนดอน โดยการนำเอา
\”เชื้ออสุจิ\” ที่ผ่านการคัดเชื้อแล้ว และ \”ไข่\” จำนวน 4 ใบ เข้าไปไว้ในอุ้งเชิงกรานใน
ตำแหน่งที่ต่ำสุด (POUCH OF DOUGLAS)
ข้อบ่งชี้
\”POST\” ใช้รักษาในผู้ป่วยสตรีที่ \”ปีกมดลูก\” ดีอย่างน้อยหนึ่งข้าง ดังนั้น จึงเหมาะ
สำหรับ
1. ผู้ป่วยที่มีมูกที่ปากมดลูกเป็นอันตรายต่อตัวอสุจิ
2. ผู้ป่วยที่ \”ไข่\” มีการเปลี่ยนแปลงจนถึงขั้นปฏิสนธิได้แล้ว แต่ไม่มีการตกออกมา
จากรังไข่ (LUTEINIZED UNRUPTURED FOLLICLE SYNDROME)
3. ผู้ป่วยมีลูกยากที่หาสาเหตุไม่ได้ (UNEXPLAINED INFERTILITY)
4. ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่อต้าน \”ตัวอสุจิ\” (MALE OR FEMALE ANTISPERM
ANTIBODIES)
กรรมวิธีการนำเอา \”ไข่\” และ \”เชื้ออสุจิ\” เข้าไปใส่ไว้ในอุ้งเชิงกรานส่วนที่ต่ำสุด
ภายหลังจากเจาะได้ \”ไข่\” ออกมาเรียบร้อยแล้ว ตรงบริเวณตำแหน่งอุ้งเชิงกราน
ส่วนต่ำที่สุด (POUCH OF DOUGLAS) จะต้องได้รับการดูดและล้างด้วยน้ำยาเพาะเลี้ยงจนสะอาด
จากนั้น เข็มที่ทำการเจาะดูดจะต้องวางไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อทำหน้าที่เป็นทางนำเอา
สายพลาสติกเล็ก ๆ ที่บรรจุ \”เชื้ออสุจิ\” จำนวน 1 มิลลิลิตร และ \”ไข่\” จำนวน 4 ใบ ไปยัง
ตำแหน่งดังกล่าว เมื่อทำการฉีดให้ \”เชื้ออสุจิ\” และ \”ไข่\” ทั้ง 4 ใบ ผสมกันในอุ้งเชิงกราน
ตำแหน่งนี้แล้ว ทั้งเข็มและสายพลาสติกจะถูกถอนออกมาพร้อม ๆ กัน กรรมวิธีนี้กินเวลาประมาณ
15 นาที ผู้ป่วยจะได้รับอนุญาตให้กลับบ้านในเวลา 1 ชั่วโมงถัดมา
ผลสำเร็จ จากการรักษา พบว่า อัตราการตั้งครรภ์ร้อยละ 25 และอัตราการคลอด
บุตรมีชีวิตร้อยละ 20 ต่อรอบการรักษา
ข้อได้เปรียบของ \”POST\” ที่มีต่อ การฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก และ \”DIPI\” คือ
1. เวลาที่นำ \”ไข่\” ออกมาต้องแน่นอนตายตัว
2. \”POST\” สามารถนำ \”ไข่\” ที่เหลือไปทำ \”เด็กหลอดแก้ว\” และแช่แข็งเพื่อนำ
มาใช้ต่อไปอีกในอนาคตได้
เมื่อเปรียบเทียบกับ \”กี๊ฟ\” \”POST\” มีข้อได้เปรียบในส่วนที่ผู้ป่วยสามารถกลับบ้าน
ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องนอนพักโรงพยาบาล วิธีการง่ายกว่าและราคาถูกกว่า นอกจากนี้ยัง
ไม่จำเป็นต้องดมยา หรือเจาะท้องส่องกล้อง ซึ่งมีความเสี่ยงจากกรรมวิธีดังกล่าว ดังนั้น วิธีการ
นี้อาจจะเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็เป็นได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคงต้องรอดูข้อมูลงานวิจัยอื่น ๆ อีกหลาย
แห่งมาประมวลกัน จึงจะเป็นข้อสรุปที่ถูกต้องแน่นอน
DIRECT OOCYTE TRANSPER
การตั้งครรภ์ครั้งแรกที่ใช้วิธีการนำเอา \”ไข่\” และ \”เชื้ออสุจิ\” เข้าไปใส่ไว้ใน
โพรงมดลูกโดยตรงนั้น ได้รับการรายงานโดย CRAFT และคณะ เมื่อปี พ.ศ.2525 (ค.ศ.1982)
กรรมวิธีนี้ ประกอบด้วยการเพาะเลี้ยง \”ไข่\” ที่เจาะออกมาเป็นเวลา 6 ชั่วโมง และอีก 1
ชั่วโมงเป็นการเตรียม \”เชื้ออสุจิ\” จากนั้นก็นำเอา \”ไข่\” และ \”อสุจิ\” ในอัตราส่วน \”ไข่\” 1
ใบ ต่อ 20,000 ตัวอสุจิ ใส่เข้าไปในโพรงมดลูกโดยตรง
ข้อบ่งชี้
วิธีการนี้สามารถใช้ได้ในทุกกรณีของผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ทำ \”เด็กหลอดแก้ว\” วิธีการแต่
ดั้งเดิมนั้น ให้ผลสำเร็จน้อย ในปัจจุบันนี้ จึงได้มีการปรับปรุงกรรมวิธีให้ต่างไปจากเดิมโดย
ทีมงานของ HALLAM MEDICAL GENTRE กล่าวคือ \”ไข่\” จะถูกลอกเอาเนื้อเยื้อหนา (CUMULUS)
ที่หุ้มล้อมอยู่รอบ ๆ ออกไป แล้วจึงหยอด \”ตัวอสุจิ\” ลงไปในหลอดแก้วที่บรรจุ \”ไข่\” นั้น ต่อเมื่อ
มองเห็น \”ตัวอสุจิ\” เกาะติดกับ \”เปลือกไข่\” แล้วจึงทำการย้ายเข้าไปไว้ในโพรงมดลูก ซึ่ง
จะกินเวลาทั้งหมดประมาณ 5 ชั่วโมง นับจากเมื่อเจาะ \”ไข่\” ออกมา
ผลสำเร็จ
ในรายงานของ CRAFT และคณะ พบมีการตั้งครรภ์เพียง 2 รายใน 31 รายเท่านั้น
ในขณะที่ HALLAM MEDICAL CENTRE พบมีการตั้งครรภ์ร้อยละ 18.64 ต่อรอบเดือน
กรรมวิธีนำเอา \”ไข่\” และ \”ตัวอสุจิ\” หรือ \”ไข่\” ที่มี \”ตัวอสุจิ\” เกาะติดที่เปลือก
ไข่ ไปใส่ไว้ในโพรงมดลูก เป็นวิธีการที่ลอกเลียนแบบการทำ \”เด็กหลอดแก้ว\” แต่ง่ายกว่า
ผลสำเร็จจากการศึกษาของคนไข้จำนวนมากจะพบว่า มีอัตราการตั้งครรภ์ร้อยละ 20
ต่อรอบเดือน ดังนั้น จึงถือว่าเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของการทำ \”เด็กหลอดแก้ว\” ได้
฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿
พ.ต.อ. นพ. เสรี ธีรพงษ์ ผู้เขียน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *