การแช่แข็ง “อสุจิ”,”ตัวอ่อน” และ “ไข่”

การแช่แข็ง \”อสุจิ\\”ตัวอ่อน\” และ \”ไข่\”
CRYOPRESERVATION OF SPERMS,EMBRYOS AND OOCYTES

ใครจะโง่ไปเชื่อเรื่องราวในภาพยนตร์ ที่มีการแช่แข็ง \”คน\” จากศตวรรษหนึ่ง
แล้วนำมาละลายให้มีชีวิตใหม่ในอีกศตวรรษหนึ่ง ความคิดและจินตนาการของผู้สร้างภาพยนตร์
คงเชื่อว่า การแช่แข็ง ที่กล่าวขานกันในวงการวิทยาศาสตร์ น่าจะนำมาประยุกต์ใช้กับมนุษย์ร่าง
ใหญ่ ๆ ได้ แท้ที่จริง การแช่แข็ง ที่ว่านี้ ใช้ได้เฉพาะกับ เซลล์เล็ก ๆ ที่มีขนาดเพียงเซลล์เดียว
หรือไม่กี่เซลล์เท่านั้น ตัวอย่างเช่น การแช่แข็ง \”อสุจิ\\”ตัวอ่อน\” และ \”ไข่\” เป็นต้น
การแช่แข็ง \”อสุจิ\” มีวิวัฒนาการมานานพอสมควร เริ่มตั้งแต่ ค.ศ.1866 (พ.ศ.
2409) MANTAGAZZA ได้ตั้งข้อสังเกตว่า น่าจะมีการแช่แข็ง \”อสุจิ\” ของสัตว์เพศผู้เพื่อนำมา
ใช้ในกรณีที่ลูกเสียชีวิตไปด้วยเหตุอันใดก็ตาม เป็นเวลา 1 ปี แล้วสัตว์เพศเมียไม่สามารถ
ตั้งครรภ์ใหม่ได้ตามธรรมชาติ
ค.ศ.1897 (พ.ศ.2440) DAVENPORT ได้รายงานว่า \”อสุจิ\” ของมนุษย์สามารถมี
ชีวิตอยู่ได้ขณะถูกแช่แข็งที่อุณหภูมิ -17 องศาเซลเซียส
ค.ศ.1983 (พ.ศ.2481) JAHNEL พบว่า \”อสุจิ\” ของมนุษย์จำนวนหนึ่งสามารถ
กลับมาดำรงชีวิตเหมือนเดิมได้ เมื่อละลายตัวออกมาภายหลังถูกแช่แข็งที่อุณหภูมิ -79 องศา
เซลเซียสเป็นเวลา 40 วัน
การแช่แข็ง \”อสุจิ\” ก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งมีการค้นพบคุณสมบัติในการ
ป้องกัน \”ตัวอ่อน\” หรือ \”อสุจิ\” ไม่ให้เป็นอันตรายจากผลึกน้ำแข็งภายในเซลล์ ของสาร
กลีเซอรอล โดย POLGE และคณะในปี ค.ศ.1949 (พ.ศ.2492) นี่เอง ทำให้การแช่แข็ง
\”อสุจิ\” กลายเป็นเรื่องง่ายดายไปเลย
มีคำถามว่า \”อสุจิ\” ที่ละลายออกมา สามารถปฏิสนธิกับ \”ไข่\” ได้จริงหรือ?…..
สมมติว่า สามารถปฏิสนธิสำเร็จ กระบวนการแช่แข็งข้างต้นนี้ จะมีผลต่อพัฒนาการของ \”ตัวอ่อน\”
มนุษย์หรือไม่?… เพราะสมัยนั้น \”อสุจิ\” ที่จะละลายตัวออกมา เคลื่อนไหวได้น้อยมาก แต่ด้วย
การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทำให้ \”อสุจิ\” ที่ละลายตัวออกมาสามารถ
เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น และมีจำนวนมากขึ้นตามลำดับ
คำถามดังกล่าว ได้รับคำตอบโดยปริยาย เมื่อ ค.ศ.1954 (พ.ศ.2497) BUNGE
และ SHERMAN ประสบความสำเร็จ ทำให้คนไข้สตรีตั้งครรภ์จาก เชื้ออสุจิแช่แข็ง 3 ราย บุตรที่
ได้ 3 คนแข็งแรง สมบูรณ์ ไม่มีความพิการแต่กำเนิด
ค.ศ.1963 (พ.ศ.2506) SHERMAN ค้นพบ เทคนิคการใช้ ไนโตรเจนเหลว ในการ
แช่แข็ง \”อสุจิ\” ที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส ซึ่งเทคนิคนี้ให้ผลดีและได้ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน
ทารกที่เกิดจาก เชื้ออสุจิแช่แข็ง ในทุกวันนี้จึงมีมากมายนับไม่ถ้วน แต่ละคนล้วนปรกติเหมือนทารก
ทั่ว ๆ ไป
SHERMAN ได้ทำการค้นคว้า วิจัย ทดลอง จนสรุปได้ว่า อัตราการตั้งครรภ์ผิดปรกติ
มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น และอัตราการแท้งบุตรเองอยู่ในราวร้อยละ 13 พอ ๆ กับที่พบตาม
ธรรมชาติ
ธนาคารอสุจิ (SPERM BANK) เป็นแหล่งเก็บ เชื้ออสุจิแช่แข็ง ของผู้คนต่าง ๆ ไม่
ว่าจะเป็น สามี,หนุ่มโสด หรือผู้บริจาค การเก็บข้อมูลของ ธนาคารอสุจิ เป็นไปอย่างมีระบบ
โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่อย่างมีระเบียบ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติทั่ว ๆ ไป,ประวัติการเจ็บป่วย,
ผลเลือดต่าง ๆ จำพวก เอดส์,ซิฟิลิส,ตับอักเสบ และข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องรู้อีกมากมาย เพื่อ
ความปลอดภัยของสตรีผู้ได้รับ \”เชื้ออสุจิแช่แข็ง\” และเพื่อเป็นประโยชน์ในอนาคต
สำหรับระยะเวลาที่สามารถเก็บ \”เชื้ออสุจิแช่แข็ง\” ไว้ได้ จะอยู่ในช่วงประมาณ 10
ปี หลังจากนั้น อัตราการรอดชีวิตของ \”อสุจิ\” ภายหลังละลายตัวจะต่ำมาก ๆ

อัตราการรอดชีวิตของ \”เชื้ออสุจิแช่แข็ง\”
โดยปรกติ \”อสุจิ\” ที่จะนำมาแช่แข็ง ควรจะมีความเข้มข้นอย่างน้อย 80 ล้านตัวต่อ
มิลลิลิตร และการเคลื่อนไหวไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จึงจะได้ผลดี แต่หากจำเป็น ไม่ว่า \”อสุจิ\”
นั้นจะมีความเข้มข้นเท่าใด เคลื่อนไหวได้หรือไม่ เช่น \”อสุจิ\” ที่สกัดจากอัณฑะในรายที่ไม่มี
\”อสุจิ\” ในน้ำเชื้อ ก็สามารถทำได้ และมีประสิทธิผลดีพอสมควร
สำหรับอัตราการรอดชีวิตของ \”อสุจิ\” ภายหลังละลายตัวออกมา โดยมาตรฐานจะมาก
กว่า 50% ของที่มีอยู่เดิม ซึ่งสามารถเคลื่อนไหวได้ดี
การแช่แข็ง \”ตัวอ่อน\” (CRYOPRESERVATION OF EMBRYOS)
กระบวนการแช่แข็ง \”ตัวอ่อน\” มีความละเอียดอ่อนกว่า การแช่แข็ง \”อสุจิ\” อย่าง
มาก เพราะ \”ตัวอ่อน\” มีความทนทานน้อยและตายง่ายกว่า \”อสุจิ\” ดังนั้น จึงต้องอาศัยเครื่อง
มือที่มีคุณภาพสูง ซึ่งได้รับการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์อย่างมีระบบ เพื่อให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด
(PROGRAM FREEZING) กระบวนการแช่แข็ง ใช้เวลานานถึง 2 ชั่วโมง จึงจะทำให้ \”ตัวอ่อน\”
เย็นจัดถึงจุดเยือกแข็งที่อุณหภูมิ -196 องศาเชนติเกรด
นอกจากนั้น ยังต้องพิถีพิถัน ในการใช้ สารป้องกัน \”ตัวอ่อน\” ไม่ให้เป็นอันตราย
จากผลึกน้ำแข็งภายในเซลล์ (CRYOPROTECTANT) ซึ่งการเลือกใช้สารชนิดใด ต้องขึ้นอยู่กับ
ระยะของ \”ตัวอ่อน\” ที่จะเก็บแช่แข็ง
ความสำคัญของการแช่แข็ง \”ตัวอ่อน\”
1) เพื่อเก็บรักษา \”ตัวอ่อน\” ส่วนเกินที่เหลือใช้จากการหยอด \”ตัวอ่อน\” กลับเข้าสู่
ร่างกายในครั้งนั้น
2) ถือเป็นการควบคุม จำนวน \”ตัวอ่อน\” ที่ใช้ในการรักษาแต่ละครั้ง
3) เพื่อเลื่อนระยะเวลาหยอด \”ตัวอ่อน\” ออกไป ในกรณีที่ เยื่อบุโพรงมดลูกมีปัญหา
หรือ คนไข้อยู่ในสภาพเสี่ยงอันตรายต่อภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป
4) เป็นกรรมวิธีหนึ่งในการเก็บรักษา \”ตัวอ่อน\” สำหรับบริจาคแก่ผู้อื่น

ระยะเวลาของการเก็บรักษา (STORAGE TIME) และอัตราการรอดชีวิตของ \”ตัวอ่อน\” แช่แข็ง
SURVIVING RATE)
\”ตัวอ่อน\” ที่เก็บแช่แข็งไว้ ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 ถูกนำกลับมาใช้ภายในระยะ
เวลา 6 เดือน มีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ที่ไม่ถูกนำกลับมาใช้หลังจาก 2 ปีไปแล้ว
\”ตัวอ่อน\” แช่แข็งสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างน้อย 5 ปี โดยไม่มีปัญหาเรื่องการละลาย
ตัวและรอดชีวิตกลับมา แต่หลังจาก 4 ปี ของการแช่แข็งเป็นต้นไป จะมีอัตราการรอดชีวิตกลับมา
ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
จากการศึกษาพบว่า การตั้งครรภ์จำนวน 50 ครรภ์ อันเกิดขึ้นจาก \”ตัวอ่อน\” ที่แช่
แข็งไว้นานถึง 2 ปี มีอัตราการแท้งพอ ๆ กับการตั้งครรภ์ที่เกิดจาก \”ตัวอ่อน\” ใหม่ ๆ (Fresh
embryos) และทารกที่เกิดมาแล้ว ส่วนใหญ่ (30 ราย) สุขภาพแข็งแรงดี มีทารกเพียงราย
เดียวที่พิการแต่กำเนิดอย่างรุนแรง นอกนั้น ยังอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์
การรอดชีวิตของ \”ตัวอ่อน\” แช่แข็งจะขึ้นอยู่กับ ลักษณะโครงสร้างของ \”ตัวอ่อน\”
(morphological features) กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ขึ้นอยู่กับ ระยะการเจริญเติบโตของ
\”ตัวอ่อน\” นั่นเอง
โดยปรกติ \”ตัวอ่อน\” ที่เพิ่งปฏิสนธิ (PRONUCLEAR STAGE) จะแข็งแรงและทนทาน
ต่อการแช่แข็งมากที่สุด รองลงมาคือ \”ตัวอ่อน\” ระยะ 4-8 เซลล์ ส่วน \”ตัวอ่อน\” ที่แก่กว่านี้
จะทนทานต่อการแช่แข็งน้อยลงไปอีก
สำหรับอัตราการตั้งครรภ์ที่เกิดจาก \”ตัวอ่อน\” แช่แข็งนั้น พบได้ตั้งแต่ร้อยละ 18
(เมื่อใช้ \”ตัวอ่อน\” เพียงตัวเดียว) จนถึงประมาณร้อยละ 30 (จาก 3 ตัวอ่อน) และอัตรา
ครรภ์แฝดพบร้อยละ 20 ซึ่งไม่แตกต่างจากอัตราการตั้งครรภ์และครรภ์แฝดที่เกิดจาก \”ตัวอ่อน\”
ใหม่ ๆ (fresh cmbryos) เลย
การแช่แข็ง \”ไข่\” (OOCYTE FREEZING)
เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากในทางปฏิบัติ ซึ่งบางประเทศได้รับการยอมรับในแง่จริยธรรม
มากกว่า การแช่แข็ง \”ตัวอ่อน\” อีกด้วย
การแช่แข็ง \”ไข่\” มีประโยชน์สำหรับหญิงสาวที่มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะรังไข่ล้มเหลว
(OVARIAN FAILURE) อันเนื่องมาจากได้รับสารพวกเคมีบำบัด (CHEMOTHERAPY),ถูกผ่าตัด
(SURGICAL PROCEDURE) หรือเป็นโรคในอุ้งเชิงกรานบางชนิด
นักวิทยาศาสตร์การแพทย์บางท่านเชื่อว่า \”ไข่\” ที่จะนำมาแช่แข็ง ควรจะอยู่ใน ระยะ
ที่กำลังตกไข่พอดี (OVULATED PHASE) จึงจะเป็นระยะเหมาะสมที่สุด แต่ระยะการเจริญเติบโต
อื่น ๆ ของ \”ไข่\” ก็สามารถนำมาแช่แข็งได้เช่นเดียวกัน แม้แต่เนื้อเยื่อรังไข่ที่ยังไม่ได้รับการ
กระตุ้นใด ๆ (OVARIAN TISSUE CRYOPRESERVATION) ปัจจุบัน มีผู้ศึกษาเรื่องนี้มากมาย
และมีความก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ
ถึงแม้จะมีรายงานผลสำเร็จการตั้งครรภ์ที่เกิดจาก \”ไข่\” แช่แข็ง (CRYOPRESERVED
OOCYTES) ออกมาเป็นระยะ ๆ แต่ความสำเร็จที่แท้จริงยังจัดอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก เหตุผล น่าจะ
เนื่องมาจาก กระบวนการแช่แข็ง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างภายใน \”ไข่\” หลายส่วน
(Sperm binding proteins in Zona Pellucida and Cytoskeletal Damage)
นอกจากนี้ \”ไข่\” แช่แข็ง (CRYOPRESERVED OOCYTES) เมื่อปล่อยให้ละลายตัว
(THAWING) ออกมา มักจะมีปัญหาเรื่องการปฏิสนธิ แต่ปัญหาเรื่องนี้ สามารถแก้ไขได้ง่ายด้วย
การทำ \”อิ๊กซี่\”
คนไข้รายแรกที่ตั้งครรภ์สำเร็จจาก \”ไข่\” แช่แข็ง เป็นสตรีอายุ 29 ปี มีบุตรยาก
เนื่องจากปัญหาโรคภายในอุ้งเชิงกราน (Severe pelvic inflammatory disease) เธอ
ได้รับการทำ \”เด็กหลอดแก้ว\” (IVF-ET) โดยเจาะไข่ทางหน้าท้องได้ \”ไข่\” 6 ใบและแช่แข็ง
ไว้ภายหลังเลี้ยงในน้ำยา 5 ชั่วโมง ต่อมา \”ไข่\” แช่แข็ง 3 ใบ ถูกนำมาละลายและผสมกับ
\”อสุจิ\” ในอีก 4 ชั่วโมงถัดมา ปรากฏว่า \”ไข่\” มีการปฏิสนธิทุกใบ และถูกนำกลับเข้าไปใส่ไว้
ในโพรงมดลูก ในวันที่ 16 ของรอบเดือน 13 วันถัดมาตรวจผลเลือดพบว่า \”ตั้งครรภ์\”
หลังจากนั้นอีก 20 วัน ตรวจอัลตราซาวน์ทางช่องคลอดพบว่า \”ตั้งครรภ์แฝด\”
คนไข้ได้รับการผ่าตัดคลอดในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) ขณะอายุ
ครรภ์ 38 สัปดาห์ ได้ทารกเพศชายและหญิงอย่างละคน แข็งแรงดี ไม่มีความผิดปรกติใด ๆ
น้ำหนักแรกคลอดของแต่ละคนเท่ากับ 3.5 กิโลกรัม
คนไข้สตรีรายที่ 2 อายุ 37 ปี ตั้งครรภ์ด้วยเทคนิควิธีการเดียวกัน \”ไข่\” แช่แข็ง
ถูกนำกลับมาใช้เมื่อเวลาผ่านไป 4 เดือน โดยนำมาผสมกับ \”อสุจิ\” และใส่เข้าในโพรงมดลูก
ของรอบเดือนปรกติ ทารกที่ได้เป็นทารกเพศหญิง คลอดโดยการผ่าตัดทางหน้าท้องเมื่อครบกำหนด
สุขภาพแข็งแรงดี ไม่มีความผิดปรกติแต่กำเนิดใด ๆ
สำหรับ อัตราเสี่ยงต่อภาวะทารกพิการแต่กำเนิด จาก \”ไข่\” แช่แข็งนั้น ยังไม่มีสถิติ
ที่แน่นอน
กระบวนการแช่แข็ง \”อสุจิ\” และ \”ตัวอ่อน\” ได้พัฒนามาจนใช้การได้เป็นอย่างดี แต่
การแช่แข็ง \”ไข่\” ยังคงต้องได้รับการพัฒนาต่อไป สำหรับเมืองไทย เริ่มมีการทดลองนำมาใช้
บ้างแล้ว คงต้องรอเวลาสักระยะหนึ่ง จึงจะแพร่หลายและมีคุณภาพใกล้เคียงกับการแช่แข็ง
\”อสุจิ\” และ \”ตัวอ่อน\”
ในชีวิตของคนเรา อะไรจะมีค่าเท่า \”ชีวิตในวันนี้\” การกระทำความดีอย่างเดียว
ไม่อาจให้ความสุขได้มากเท่ากับการมี \”ลูก\” สืบสกุล
หากท่านมี \”ลูก\” ในวันนี้ไม่ได้ ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตาม อาจใช้วิธีแช่แข็ง \”เซลล์
สืบพันธุ์\” หรือ \”ตัวอ่อน\” เอาไว้ก่อน รอจนเทคโนโลยี่ก้าวหน้าจนถึงขั้นรักษาได้หรือท่านมีความ
พร้อม \”ลูก\” ของท่าน ก็จะได้เกิดมาท่ามกลางความสบายใจ ก่อนที่ท่านจะจากโลกนี้ไป

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
พ.ต.อ.นพ.เสรี ธีรพงษื ผู้เขียน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *