การเจาะ “ไข่” ใส่ “ตัวอสุจิ” (MICROMANIPULATION)

ในวงการแพทย์รักษาภาวะมีบุตรยาก ได้มีการค้นคิดหาวิธีการต่าง ๆ มากมาย มา
ช่วยเหลือให้เกิดกระบวนการ \”ตั้งครรภ์\” ขึ้น วิธีการบางอย่างอาจจะดูพิสดาร จนคิดว่าเป็นไป
ไม่ได้ วิธีการบางอย่างอาจจะล้มเลิกไปแล้วเหลือไว้เป็นเพียงตำนานเท่านั้น แต่วิธีการที่ล้มเหลว
อย่างหนึ่งอาจจะนำไปสู่ การค้นคิดถึงวิธีการที่สำเร็จอีกอย่างหนึ่งได้ ขอเพียงแต่ให้มีความคิด
และความพยายาม ย่อมมีหนทางค้นพบวิธีที่ดี,เหมาะสม และให้ผลสำเร็จสูงได้
\”MICROMANIPULATION\” (อ่านว่า ไมโครแมนนิฟิวเลชั่น) เป็นกรรมวิธีที่พิสดาร
อย่างหนึ่ง ที่ช่วยให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ด้วยการเจาะ \”ไข่\” แล้วใส่ \”ตัวอสุจิ\”
เข้าไปหนึ่งตัวหรือหลายตัว โดยอาศัยเครื่องมือชนิดพิเศษ จากนั้น ก็นำไปเลี้ยงเป็น \”ตัวอ่อน\”
ในวิธีการของ \”เด็กหลอดแก้ว\” แล้วจึงนำกลับเข้าสู่ร่างกายของคนไข้สตรี
แต่เดิมมา กรรมวิธีการเจาะเข้าไปในเซลล์นั้น เป็นเพียงการทดลองทางชีววิทยา
เพื่อใส่ \”ยีน\” และ \”โปรตีน\” เข้าไป หรือกำจัดบางสิ่งบางอย่างออกจากเซลล์ นอกจากนี้ยังใช้
ศึกษาค้นหาสาเหตุ & ทดสอบขบวนการปฏิสนธิ เพื่อแก้ปัญหาภาวะมีลูกยากจากฝ่ายชาย
อาจเป็นด้วยความบังเอิญ หรือโชคดี..เกิดมีความคิดต่อเนื่องจากการทดลองดังกล่าว
ข้างต้น โดยนักวิทยาศาสตร์การแพทย์บางคน กล้าหาญใส่ \”ตัวอสุจิ\” เข้าไปภายในเซลล์ \”ไข่\”
เมื่อเกิดการปฏิสนธิขึ้นมา ก็นำ \”ตัวอ่อน\” ที่สมบูรณ์มาใส่กลับเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ ก็กลายเป็น
ความสำเร็จที่น่ามหัศจรรย์ทีเดียว
ประวัติศาสตร์เรื่องนี้ ได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อปี ค.ศ.1962 (พ.ศ.2505) เริ่มมีการ
ทดลองฉีด \”ตัวอสุจิ\” เข้าไปใน \”ไข่\” ของสัตว์ทดลองได้สำเร็จเป็นครั้งแรก โดย HIRAMOTO
* ค.ศ.1966 (พ.ศ.2509) ประสบความสำเร็จให้กำเนิด ทารกหนู ด้วยกรรมวิธีนี้
โดย LIN
* ค.ศ.1976 (พ.ศ.2519) YANAGIMACHI ได้รายงาน การเจาะใส่ \”ตัวอสุจิ\”
ของมนุษย์และตัวแฮมสเตอร์ เข้าไปใน \”ไข่\” ของตัวแฮมสเตอร์
* ในปี ค.ศ.1985 (พ.ศ.2528) เป็นครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จในมนุษย์ โดย
METKA และคณะ ได้ทำการเจาะไข่ใส่ \”ตัวอสุจิ\” หนึ่งตัวต่อ \”ไข่\” 1 ใบ จำนวน 9 ชุด ผลคือ
\”ไข่\” 1 ใบ มีการปฏิสนธิแบ่งตัวเป็น \”ตัวอ่อน\” ขนาด 4 เซลล์
การเจาะ \”ไข่\” ใส่ \”ตัวอสุจิ\” นั้น อาจจะใส่ \”อสุจิ\” เพียงตัวเดียวหรือหลายตัว
ก็ได้ ในกรณีที่ใส่ \”ตัวอสุจิ\” ไว้ที่ \”ช่องว่าง\” ระหว่างเปลือกนอก (ZONA PELLUCIDA) กับ
\”ไข่\” ที่แท้จริงที่เรียก \”PERIVITELLINE SPACE\” ก็เรียกว่า \”SPERM TRANSFER\” หากใส่
\”ตัวอสุจิ\” เข้าไปใน \”เนื้อไข่\” (EGG CYTOPLASM) จึงเรียกว่า \”SPERM INJECTION\”

ข้อบ่งชี้ (INDICATION)

การทำ MICROMANIPULATION จะทำในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ จากปัญหาของฝ่ายชาย
เป็นส่วนใหญ่ ดังต่อไปนี้เท่านั้น
1. \”เชื้ออสุจิ\” ไม่เคลื่อนไหว (IMMOTILE SPERM) อาจด้วยสิ่งแวดล้อมหรือพิการ
แต่กำเนิด สิ่งแวดล้อมที่มีผลคือ ยาบางชนิด ส่วนความพิการแต่กำเนิดที่มีผล คือ ส่วนหางของ
ตัวอสุจิไม่เคลื่อนไหว \”ตัวอสุจิ\” ที่คุณภาพต่ำหรือไม่เคลื่อนไหว มักจะมีส่วนกลางลำตัว
(MIDPIECE) และ หาง (TAIL) ผิดปกติ \”เชื้ออสุจิ\” เหล่านี้ ยังมีศักยภาพในการปฏิสนธิ
อยู่ กรรมวิธีนี้ ถือว่า \”คุ้มค่า\”ที่จะทำ
2. จำนวน \”เชื้ออสุจิ\” มีน้อยมาก (SEVERE OLIGOZOOSPERMIA) หมายถึง มี
จำนวนตัวอสุจิน้อยกว่า 5 ล้านตัวต่อมิลลิลิตร เนื่องด้วยหากนำไปทำ \”เด็กหลอดแก้ว\” จะมี
การปฏิสนธิน้อยมาก
3. การที่เชื้ออสุจิล้มเหลวในการเจาะไข่ ในเวลาที่จัดให้ผสมกันในหลอดทดลอง
(FAILURE OF PENETRATION OF EGG INVESTMENTS BY SPERM) ทั้ง ๆ ที่ \”ไข่\” ก็
สมบูรณ์ และ \”เชื้ออสุจิ\” ก็แข็งแรงดี ถ้าพบว่าเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ก็ควรเปลี่ยนมาใช้กรรมวิธีนี้
4. ปัญหาฝ่ายชายหลายๆ สาเหตุร่วมกัน (MULTIPLE MALE FACTOR PROBLEMS)
เมื่อพบว่า มีความผิดปกติ ในการวิเคราะห์คุณสมบัติของ \”เชื้ออสุจิ\” (SEMEN ANALYSIS)
มากกว่า 3 องค์ประกอบขึ้นไป ความสำเร็จ ในการทำให้ปฏิสนธิในหลอดทดลองจะลดลง หรือ
ต่ำกว่าร้อยละ 8

อัตราเสี่ยงต่อการมีโครโมโซมผิดปกติ
ภาวะเชื้ออ่อนในผู้ชาย (MALE SUBFERTILITY) อาจจะสัมพันธ์กับ โครโมโซมที่
ผิดปกติมากกว่าภาวะปกติ
ค.ศ.1972 (พ.ศ.2516) KJESSLER รายงานว่า ส่วนใหญ่ของความผิดปกติทาง
โครโมโซมในผู้ชายที่มีบุตรยาก จะเป็นกลุ่มที่มีเชื้ออ่อนหรือไม่มีตัวเชื้ออสุจิเลย
ค.ศ.1975 (พ.ศ.2518) CHANDLEY ได้รายงานว่า พบโครโมโซมผิดปกติในผู้ชาย
ปกติร้อยละ 2 แต่จะเพิ่มเป็นร้อยละ 6 เมื่อจำนวนตัวอสุจิน้อยกว่า 20 ล้านตัว ต่อมิลลิลิตร
และเพิ่มเป็นร้อยละ 15 ในผู้ชายที่ไม่มีตัวเชื้ออสุจิเลย (AZOOSPERMIA)

ความรู้เบื้องต้น
\”ไข่\” ของสตรีนั้น มีชีวิตที่เทียบเท่าครึ่งชีวิต เพราะถ้าไม่รวมกับอีกครึ่งชีวิตของ
\”ตัวอสุจิ\” ก็จะสลายไป
ถ้าจะเปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย \”ไข่\” ของสตรีนั้นคล้ายคลึงกับ \”ไข่ไก่\” มาก มี
\”เนื้อไข่\” (OOPLASM) อยู่ตรงกลาง เทียบได้กับ \”ไข่แดง\” ของไข่ไก่ มีเปลือกนอกหนา
เรียกว่า \”ZONA PELLUCIDA\” เทียบได้กับ เปลือกแข็งของไข่ไก่ และมีช่องว่างระหว่าง
เปลือกนอกกับ \”เนื้อไข่\” (OOPLASM) เรียกว่า \”PERIVITELLINE SPACE\” เทียบได้กับ
\”ไข่ขาว\” ของไข่ไก่
เวลา \”ตัวอสุจิ\” เจาะไข่ก็ต้องเจาะผ่านตั้งแต่ชั้นเปลือกนอก (ZONA PELLUCIDA)
ผ่านช่องว่าง \”PERIVITELLINE SPACE\” จึงจะเข้าไปปฏิสนธิภายใน \”เนื้อไข่\” (OOPLASM)
ได้
ชั้นเปลือกนอก \”ZONA PELLUCIDA\” มีประโยชน์ 2 อย่างคือ
หนึ่ง เวลาที่ \”ตัวอสุจิ\” เจาะผ่านเข้าไปปฏิสนธิได้ตัวหนึ่ง จะเกิดกลไกเปลี่ยนแปลงภาย
ในช่องว่าง PERIVITELLINE SPACE และที่เปลือกนอก (ZONA PELLUCIDA) ทำให้ \”อสุจิ\”
ตัวอื่น ๆ เจาะเข้าไปไม่ได้อีก จะได้ไม่เกิดการปฏิสนธิที่ผิดปกติ
สอง เมื่อเกิดการปฏิสนธิแล้ว มีการแบ่งตัวเกิดเป็น \”ตัวอ่อน\” จาก 2 เป็น 4,8,16… เป็นไป
อย่างมีทิศทางที่แน่นอนภายในกรอบ ถ้าหากไม่มีขอบเขตเป็นเปลือกนอก (ZONA PELLUCIDA)
อาจได้ \”ตัวอ่อน\” ที่ผิดไปจากที่ธรรมชาติต้องการ
\”ตัวอ่อน\” ที่เกิดจากการปฏิสนธิปกติ จะแบ่งเซลล์ไปเรื่อย ๆ จนเต็มภายในเปลือก
ไข่ หลังจากนั้น เมื่อจำนวนเซลล์ของ \”ตัวอ่อน\” มากขึ้นไปอีก ก็จะดันให้เปลือกไข่ (ZONA
PELLUCIDA) แตก แล้ว \”ตัวอ่อน\” จะหลุดออกมา ต่อมาเมื่อ \”ตัวอ่อน\” ฝังตัวในโพรงมดลูก
แล้ว ก็จะเจริญเติบโตไปเรื่อย ๆ จนได้ \”ทารก\”

เทคนิคการทำ MICROMANIPULATION แบ่งได้กว้าง ๆ 3 เทคนิค

1. เจาะเปิดเปลือกนอกของไข่ ชั้น \”ZONA PELLUCIDA\” เรียกว่า \”ZONA
DRILLING\” แล้วให้ \”ตัวอสุจิ\” หาทางเข้าไปปฏิสนธิภายใน \”เนื้อไข่\” (OOPLASM) เอาเอง
2. เจาะใส่ \”ตัวอสุจิ\” เข้าไปสู่ช่องว่างที่เรียกว่า \”PERIVITELLINE SPACE\”
ประมาณ 1-5 ตัว แล้วปล่อยให้ \”ตัวอสุจิ\” ว่ายเข้าไปปฏิสนธิภายใน \”เนื้อไข่\” (OOPLASM)
เองเช่นกัน เรียกวิธีนี้ว่า \”SUBZONAL SPERM INSERTION\”
3. เจาะเข้าไปใน \”เนื้อไข่\” (EGG CYTOPLASM) โดยตรง แล้วฉีด \”ตัวอสุจิ\”
เข้าไปหนึ่งตัว วิธีนี้เรียกว่า INTRACYTO PLASMIC INJEETION (ICSI)หรือ \”อิ๊กซี่\” นั่นเอง

ZONA DRILLING
ในวิธีดั้งเดิมนั้น ทำในหนู โดยการพ่นกรดบางชนิดผ่านทางหลอดแก้วปลายแหลม
เรียวเล็ก ๆ ไปบน \”ไข่\” กรดจะไปละลายที่เปลือกนอกของ \”ไข่\” (ZONA PELLUCIDA)
เกิดเป็น \”ช่องว่าง\” จากนั้น ก็หยอด \”เชื้ออสุจิ\” ลงไป \”ตัวอสุจิ\” จะว่ายผ่านช่องว่างนั้น
หาทางไปปฏิสนธิกับ \”ไข่\” เอง
วิธีนี้มีข้อเสีย คือ เรามักควบคุมปริมาณกรด ที่พ่นออกไปละลายเปลือกนอกของ \”ไข่\”
ไม่ได้ ทำให้เกิด \”ช่องว่าง\” ที่เปลือกไข่กว้างเกินไป เมื่อมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น แล้วแบ่งเซลล์
เพิ่มจำนวนมาก เซลล์บางเซลล์จะหลุดออกมาข้างนอกทางรูกว้าง ผลก็คือ \”ตัวอ่อน\” ไม่เจริญ
เติบโตไปตามปกติ ในที่สุดก็จะตายไป
ต่อมา COHEN และคณะ ประสบความสำเร็จ ในการให้กำเนิดมนุษย์คนแรกด้วยวิธีนี้
แต่เปลี่ยนจากใช้ \”กรด\” มาเป็น ใช้ \”เข็ม\” เจาะแทน \”เข็ม\” ที่ว่านี้ทำจาก หลอดแก้วเล็กๆ
ที่ทำให้ส่วนปลายแหลมเรียวเล็กมาก ๆ บริเวณที่เจาะ ก็คือ ตำแหน่ง 1 นาฬิกา เจาะทะลุไป
ที่ตำแหน่ง 11 นาฬิกาของ \”ไข่\” เราเรียกวิธีนี้ใหม่ว่า \”PARTIAL ZONA DISSECTION\”
(เรียกย่อ ๆ ว่า \”PZD\”)

SUBSONAL SPERM INSERTION (เรียกย่อ ๆ ว่า \”SUZI\”)
เป็นวิธีที่ใช้ หลอดแก้วเล็ก ๆ ที่ส่วนปลายเป็นเข็มเรียวเล็กๆ แทงทะลุชั้นเปลือกนอก
ของ \”ไข่\” (ZONA PELLUCIDA) เข้าไปใน \”ช่องว่าง\” ระหว่างเปลือกนอกกับ \”เนื้อไข่\”
(OOPLASM) ที่เรียก PERIVITELLINE SPACE แล้วปล่อยให้ \”ตัวอสุจิ\” จำนวนหนึ่งอยู่ใน
\”ช่องว่าง\” นี้ \”ตัวอสุจิ\” จะเข้าปฏิสนธิกับ \”ไข่\” เอง
จำนวน \”ตัวอสุจิ\” ที่เหมาะสมที่ควรจะใส่ในช่องว่าง \”PERIVITELLINE SPACE\”
ก็คือ ประมาณ 1-5 ตัว จะก่อให้เกิดการปฏิสนธิกับ \”ไข่\” ด้วย \”อสุจิ\” ตัวเดียว (MONOSPER-
MIC FERTILIZATION) สูงมาก ขณะที่เกิดภาวะ \”อสุจิ\” หลายตัว เข้าปฏิสนธิกับ \”ไข่\”
(POLYSPERMIC FERTILIZATION) สูงขึ้นในอัตราที่ยอมรับได้ คือ ประมาณ ร้อยละ 40 ของ
การปฏิสนธิทั้งหมด
\”ตัวอ่อน\” ที่ได้จะมีอัตราการฝังตัวสูงกว่าในกลุ่มแรก (PARTIAL ZONA DISSEC-
TION) ที่กล่าวแล้ว
วิธีนี้เหมาะที่จะใช้ในกรณีที่ สามี เชื้ออ่อนมาก (SEVERE OLIGOZOOSPERMIA)
นอกจากนี้เราสามารถใส่ \”อสุจิ\” ที่แช่แข็ง แล้วละลายออกมาใช้ก็ได้
เป็นที่แน่นอนว่า \”ตัวอสุจิ\” จะต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง เพื่อทำให้ตัวเองมีประสิทธิภาพ
มีความสามารถ (CAPACITATION & ACROSOMAL REACTION) จึงจะก่อให้เกิดการปฎิสนธิได้
\”ตัวอสุจิ\” ของมนุษย์ต้องใช้เวลา 1-2 ชั่วโมงในการเตรียม (SPERM PREPARATION) จึงจะมี
ความสามารถดังกล่าว Ng และ คณะได้ใช้วิธีพิเศษ (FICOLL METHOD) เตรียม \”เชื้ออสุจิ\”
เพื่อแยก \”ตัวอสุจิ\” ที่ดีออกมาจากน้ำเชื้ออสุจิที่ด้อยคุณภาพ สำหรับ \”อสุจิ\” ที่ไม่เคลื่อนไหว
ก็จะใช้เวลาในการเตรียมเพิ่มขึ้น โดยใช้เวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง เพื่อทำให้มีความสามารถ
ในการปฏิสนธิได้เช่นกัน
สำหรับ \”ไข่\” (OOCYTE) ก็มีความจำเป็น ที่จะต้องเติบโตจนสมบูรณ์เต็มที่
(MATURE) จึงจะปฏิสนธิได้ การที่มีการปฏิสนธิน้อยหรือไม่ดี มักเป็นผลจาก \”ไข่\” ที่แก่เกินไป
(POSTMATURE OR AGING OOCYTE)
การปฏิสนธิในหลอดแก้วทดลอง พบว่า การเคลื่อนไหวของ \”ตัวอสุจิ\” ไม่ใช่เป็นสิ่ง
ที่จำเป็นอย่างยิ่งยวด สำหรับการรวมกันของ \”อสุจิ\” กับ \”ไข่\” (SPERM – OOCYTE FUSION)
เหมือนในร่างกายมนุษย์ ดังนั้น เราจึงสามารถที่จะใช้ \”อสุจิ\” ที่ไม่เคลื่อนไหว (แต่มีชีวิต)
ให้มาปฏิสนธิกับ \”ไข่\” ได้
ทั้งวิธีการ PARTIAL ZONA DISSECTION และ SUBZONAL SPERM INSERTION
มีอัตราการเกิดภาวะ \”ตัวอสุจิ\” หลายตัวเข้าผสมใน \”ไข่\” ใบเดียวกัน (POLYSPERMY) สูงขึ้น
ประมาณร้อยละ 25 หรือมากกว่านี้ แต่ก็มีวิธีการแก้ไขหลายวิธี ยกตัวอย่างเช่น การกำจัดทิ้ง,
การป้องกันด้วยการเปลี่ยนแปลงระยะเวลา ในการหยอดผสม \”เชื้ออสุจิ\” ลงใน \”ไข่\” ที่แช่
สัมผัสกับสาร SUCROSE ในหลอดทดลอง นอกจากนี้อาจใช้วิธี MICROMANIPULATION เจาะ
เข้าไปใน \”ไข่\” ที่มีการปฏิสนธิผิดปกติ ดูดเอา \”อสุจิ\” ที่เกิน (EXTRA SPERM PRONUCLEUS)
ออกมา
INTRACYTOPLASMIC INJECTION (ชื่อย่อ \”อิ๊กซี่\”)
เป็นวิธีการที่รุนแรงวิธีหนึ่ง โดยการเจาะเข้าไปใน \”เนื้อไข่\” (EGG CYTOPLASM)
แล้วใส่ \”ตัวอสุจิ\” เข้าไปหนึ่งตัว วิธีการนี้ จะเป็นการข้ามขั้นตอนของการคัดเลือก \”ตัวอสุจิ\”
และขบวนการต่อต้านขัดขวางทางธรรมชาติ ของ \”ไข่\” เพราะใส่ \”ตัวอสุจิ\” เข้าไปใน \”ไข่\”
โดยตรง อย่างไรก็ตาม \”อสุจิ\” ที่ใช้ ควรผ่านการเตรียม (SPERM PREPARATION) ก่อน
เพื่อให้มีความสามารถในการปฏิสนธิ (CAPACITATION & ACROSOMAL REACTION)
โดยปกติควรเลือก \”อสุจิ\” ตัวที่แข็งแรงว่องไว แต่เราไม่มีวิธีการใด ๆ ที่จะรู้ว่า
\”อสุจิ\” ตัวนั้นมีโครโมโซมผิดปกติหรือไม่
การที่ \”ไข่\” ถูกเจาะ ย่อมทำให้ \”ไข่\” ได้รับอันตรายบ้าง มีผลทำให้ \”ไข่\” สลาย
ตัวตายไป ประมาณร้อยละ 30 \”ไข่\” ที่รอดชีวิต สามารถที่จะเกิดขบวนการปฏิสนธิต่อเนื่องได้
เหมือนกับในธรรมชาติ

ASSISTED HATCHING (การช่วยเหลือในการฟัก \”ตัวอ่อน\”)
หมายถึง การเพิ่มความสามารถของ \”ตัวอ่อน\” ในการฟักตัวออกมาภายนอกเปลือก
ด้วยการเจาะรูบริเวณ เปลือกนอกของ \”ไข่\” (ZONA PELLUCIDA) โดยใช้วิธี MICROMANIPU
LATION TECHNIQUES
ใน \”ตัวอ่อน\” ที่ปฏิสนธิภายนอกร่างกายในหลอดแก้วทดลอง มักจะมีการแข็งตัวของ
เปลือกนอกของ \”ไข่\” (ZONA PELLUCIDA) แล้ว ไม่สามารถที่จะฟักหรือดันให้เปลือกนอกของ
\”ไข่\” (ZONA PELLUCIDA) แตกเพื่อให้ \”ตัวอ่อน\” เจริญเติบโตแบ่งตัวต่อไปได้อีก
กรณีที่ไม่สามารถฟักตัวได้ \”ตัวอ่อน\” ก็จะเสียชีวิตอยู่ภายใน เหมือนกับ \”ลูกเจี๊ยบ\”
ไม่สามารถเจาะออกจากเปลือกไข่ได้ ก็จะตายอยู่ภายในฟองไข่ นั่นเอง
หากเราช่วยให้บริเวณเปลือกนอก ของ \”ไข่\” (ZONA PELLUCIDA) เป็นรู ก็จะ
เป็นตำแหน่งที่เปราะบาง ช่วยให้ \”ตัวอ่อน\” ดันให้เปลือกนอก (ZONA PELLUCIDA) แตก และ
หลุดออกมาเจริญเติบโตต่อไปได้
วิธีการที่ช่วยเหลือ ก็คือ การใช้ \”เข็ม\” ที่ทำจากปลายหลอดแก้วที่เรียวเล็กมาก ๆ
เจาะเปลือกนอกของ \”ไข่\” (ZONA PELLUCIDA) ที่บริเวณตำแหน่ง 1 นาฬิกา ทะลุไปตำแหน่ง
11 นาฬิกา วิธีการนี้นิยมเจาะเปลือกนอก (ZONA PELLUCIDA) ในวันที่ 2 ของการปฏิสนธิ
\”ตัวอ่อน\” ก็จะฟักตัวออกมาภายนอกเปลือกได้สมบูรณ์ พร้อมที่จะเจริญต่อไปอย่างปกติ การช่วยฟัก
ตัวของ \”ตัวอ่อน\” จะช่วยให้เกิดการตั้งครรภ์สูงขึ้นอย่างมาก

ผลการรักษาด้วยวิธี (MICROMANIPULATION)
* อัตราการปฏิสนธิด้วยวิธี \”PZD\” (วิธีที่ 1) ประมาณร้อยละ 35 ส่วนของวิธี
\”SUZI\” (วิธีที่ 2) ประมาณร้อยละ 15 – 20
* อัตราการฝังตัวของ \”ตัวอ่อน\” ของวิธี \”SUZI\” สูงกว่าวิธี \”PZD\” มากกว่า 2
เท่า
* อัตราการตั้งครรภ์ของวิธี \”PZD\” และวิธี \”SUZI\” พอ ๆ กัน คือ ประมาณ
ร้อยละ 20 ของการหยอด \”ตัวอ่อน\” แต่ละครั้งด้วยวิธี \”IVF-ET\”
* สำหรับกรรมวิธีที่ 3 ที่เรียกว่า \”อิ๊กซี่\” (INTRACYTOPLASMIC INJECTION)
นั้น เป็นการเจาะเข้าไปใน \”เนื้อไข่\” (EGG CYTOPLASM) โดยตรง แม้ว่าจะเป็นกรรมวิธีที่
รุนแรงก็จริง แต่ปัจจุบัน เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ และประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ
สำหรับทารกที่เกิดมา ก็ไม่แตกต่างไปจากทารกที่เกิดจากการช่วยเหลือด้วยวิธีอื่น ๆ
กรรมวิธี MICROMANIPULATION เป็นกรรมวิธีที่พิสดาร จนหลายคนอาจคิดไปไม่ถึง
วิธีนี้สามารถช่วยเหลือ แก้ไขภาวะมีลูกยาก ที่เกิดจากสาเหตุฝ่ายชายได้พอสมควร เป็นกำลังใจ
สำหรับ คนไข้ที่มีปัญหาดังกล่าว และเป็นแนวทางสำหรับแพทย์ที่รักษา เพื่อค้นหาวิธีอื่นอีก ที่อาจ
เป็นไปได้ต่อไป
สิ่งประดิษฐ์แปลก ๆ พิสดารใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ก็เพราะมีคนคิดว่า \”น่าจะ
เป็นไปได้\” และหาญกล้าทำในสิ่งที่คนอื่น ๆ พากันคิดว่า \”เป็นไปไม่ได้\”

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&
พ.ต.อ.นพ.เสรี ธีรพงษ์ ผู้เขียน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *