ละครแห่งชีวิต ลิขิตแห่งกรรม

ละครแห่งชีวิต ลิขิตแห่งกรรม\r\n \r\n \tข้าพเจ้าเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ และมักนำเอาข้อคิดดีๆ มาจินตนาการในงานเขียน… คำกล่าวที่ว่า ‘โลกนี้คือละครโรงใหญ่ ส่วนผู้คนนั้นไซร้ ก็เปรียบเป็นเช่น ตัวละคร’ ช่างเป็นความจริงเสียเหลือเกิน… ไม่มีใคร หนีพ้น ‘บทบาท’ ในละครโรงใหญ่นี้พ้น… บางคน บทบาทจบฉากลง ตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์… บางคน เป็นตัวเอก ตั้งแต่แรกคลอด…และอีกหลายคนไม่เคยเขียนบทบาทตัวเอง คงปล่อยให้ชะตาพาไป สุดแต่มันจะไปจบลง ณ ที่ใด ดังนั้น เขาจึงไม่ใช่ตัวเอก.. ใคร…จะคิดบ้าง..ว่า….บทบาท ต่างๆ ที่กำลังแสดงอยู่นั้น ถูกรังสรรค์ไว้แล้วบางส่วน…ด้วย ‘กรรม’ ในอดีตชาติและปรัตยุบันชาติ…\r\nไม่กี่วันที่ผ่านมา มีเรื่องร้ายแรงเรื่องหนึ่งเกกิดขึ้นที่โรงพยาบาลเอกชน ที่ข้าพเจ้าอยู่เวร Standby…. ยังจำได้ว่า ตอนนั้นเป็นเวลาประมาณ 4 นาฬิกาของเช้าวันหนึ่ง.. … พยาบาลห้องคลอด ได้โทรศัพท์มาหาข้าพเจ้าที่บ้านว่า ‘มีคนท้องครบกำหนด ชื่อคุณกานดา มาที่ห้องคลอด และฟังเสียงหัวใจทารกไม่ได้’ ข้าพเจ้าตกใจมาก รีบลุกจากที่นอน และขับรถไปโรงพยาบาลทันที เมื่อไปถึง ก็รีบตรวจตรวจดูทารกในครรภ์ของคุณกานดา ด้วยอัลตราซาวนด์ ผลปรากฏว่า ‘ลูกคุณกานดา หัวใจหยุดเต้น ไม่มีสัญญาณการสั่นไหวบริเวณทรวงอก ให้เห็นสักเล็กน้อย’ ข้าพเจ้าแทบจะช็อคอยู่ตรงนั้น แต่..ก็แข็งใจพูดกับคุณกานดา ว่า ‘สงสัยลูกคุณจะเสีย แล้ว’ คุณกานดา ร้องไห้โฮทันที แต่สามีคนไข้ยังทำใจได้ เพราะพยาบาลได้บอกเกริ่นๆไว้แต่แรกว่า ‘การฟังเสียงหัวใจเด็กไม่ได้ แสดงว่า ลูกของเขาอาจเสียชีวิต’ \r\nยังโชคดี ที่ปากมดลูกของคุณกานดา แข็งมาก การจะคลอดบุตรเองออกมา คงต้องใช้เวลาอีก 24 – 48 ชั่วโมง..ซึ่งคุณกานดาและญาต อยากให้ข้าพเจ้าผ่าเอาทารกออกมาเลย พอผ่าตัดเข้าไปในครรภ์ ปรากฏว่า ทารกที่เสียชีวิตนั้น เนื้อตัวลอกแล้ว นั่นแสดงว่า ทารกเสียชีวิตมาไม่น้อยกว่า 3 วัน ไม่ใช่เพิ่งมาเสียชีวิต ตามที่คนไข้บอก ข้าพเจ้าจึงรอดพ้นจากการถูกกล่าวหาว่า ประมาท เลินเล่อ หรืออะไร ก็ตามที่ญาตคนไข้จะคิดได้ ซึ่ง..คนไข้เอง ได้บอกว่า ‘ตอนหัวค่ำเด็กยังดิ้นอยู่เลย’ แต่..จากการซักถามสามีคนไข้ กลับได้ความไปอีกอย่างหนึ่งว่า ‘เด็กเริ่มดิ้นผิดสังเกต มาราว 3 – 4 วันก่อน โดยมีอยู่วันหนึ่ง ที่ลูกดิ้นอย่างรุนแรง เป็นเวลานานมาก.. บอกไม่ได้ว่า นานเท่าไหร่?? สักพักหนึ่ง ลูกก็หยุดดิ้น และไม่โก่งตัวอีกเลย หลังจากนั้น ก็ไม่มีการดิ้นแบบเดิมให้เห็นอีก’ \r\nอีกเหตุการณ์หนึ่ง เกิดขึ้นในเวลาใกล้คียงกัน กล่าวคือ มีอยู่วันหนึ่ง เวลาประมาณเที่ยงคืน ขณะที่ข้าพเจ้าอยู่เวรประจำการ ณ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง (ขอสงวนนาม)….. คุณ สุภัทรา อายุ 28 ปี ได้แวะเข้ามาที่ห้องคลอดด้วยเรื่องเจ็บครรภ์ใกล้คลอด พยาบาลได้ปลุกข้าพเจ้าออกมาจากห้องพัก เพื่อมาตรวจคนไข้ หลังจากตรวจร่างกายคุณสุภัทราแล้ว ก็สั่งการให้ติดเครื่องตรวจสุขภาพเด็กกับคนไข้ทันที ปรากฏว่า ทารกน้อยยังมีการเต้นของหัวใจปกติ (ด้วยอัตราประมาณ 140 ครั้งต่อนาที) และมีอยู่หลายครั้งที่มีการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจมากขึ้น (Acceleration) ด้วย ซึ่งแสดงว่า ลูกคุณสุภัทรา มีสุขภาพแข็งแรงดี นอกจากนั้น เครื่องยังจับได้ว่า มดลูกของคุณสุภัทรา มีการแข็งตัวทุกๆ 7 นาที และมีการคลายตัวตามปกติ \r\nประวัติการฝากครรภ์ของคุณสุภัทรา คือ เธอตั้งครรภ์ที่ 3 ฝากครรภ์ ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ มาตลอด ขณะนี้ เธอตั้งครรภ์ได้ 37 สัปดาห์เศษ โดยตั้งใจว่า จะไปคลอดที่นั่น.. เผอิญ!! เธอเจ็บครรภ์ ตอนดึก จึงแวะเข้ามาที่ โรงพยาบาลเอกชนใกล้บ้าน \r\nวันนั้น ยังจำได้ เป็นวันจันทร์ต้นเดือนแห่งมหาอุทกภัย [ตุลาคม] ข้าพเจ้าเข้านอนแต่หัวค่ำ เพื่อออมแรงไว้เผชิญกับคนไข้ยามดึก..ซึ่ง ก็เป็นจริงดังคาด.. พ้นเที่ยงคืนไปไม่นาน คุณสุภัทรา ก็มาที่ห้องคลอด คนไข้มีประวัติเคยคลอดบุตรเองมาแล้ว 2 ท้อง… ครรภ์นี้ จึงต้องการจะคลอดตามธรรมชาติ พยาบาลตรวจภายในคนไข้ให้ก่อนแล้ว รายงานว่า ‘ปากมดลูกเปิด 3 เซนติเมตร ความบาง 100%’ และจากการตรวจสภาพเด็ก (Non stress test) ทารกยังไม่พบมีปัญหา.. ข้าพเจ้าจึงบอกกับคุณสุภัทราว่า ‘หากต้องการจะไป โรงพยาบาลจุฬาฯ ตอนนี้ คิดว่า คงไม่มีปัญหา น่าจะไปทัน และคลอดได้ที่นั่น’ พอทราบเช่นนี้ คุณสุภัทรา ได้หยิบโทรศัพท์ขึ้นมา เพื่อติดต่อกับสามี แต่…ติดต่อยังไง ก็ติดต่อไม่ได้ ในที่สุด คุณสุภัทราก็บอกกับข้าพเจ้าว่า ‘ขอคลอดที่นี่แหละ’ ข้าพเจ้าจึงสั่งการให้พยาบาลช่วยสวนถ่ายอุจจาระให้กับคนไข้ทันที ก่อนจะดำเนินการต่อไป\r\nพอคุณสุภัทราออกจากห้องน้ำ ข้าพเจ้าได้บอกกับเธอว่า “ในทัศนะส่วนตัวของผมแล้ว ผมจำเป็นจะต้องเจาะถุงน้ำคร่ำให้กับคุณ เนื่องจากคุณมีประวัติลูกดิ้นน้อยลง.. จากประสบการณ์ของผม ‘การที่เด็กดิ้นน้อยลง อาจเป็นผลจากการที่ทารกขาดก๊าซออกซิเจนในกระแสเลือด ส่งผลให้เด็กถ่ายขี้เทาออกมา ซึ่งเราจะรู้ความรุนแรงของการขาดอ๊อกซิเจนได้ ก็จากสีของขี้เทาในน้ำคร่ำ’ ซึ่ง..ถ้าลูกของคุณIถ่ายขี้เทาออกมา ผมจะผ่าตัดคลอดให้ โดยไม่จำเป็นต้องคลอดเองตามธรรมชาติ”\r\nคุณสุภัทราเห็นด้วยกับความคิดของข้าพเจ้า ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเจาะถุงน้ำคร่ำให้กับเธอ เวลานั้น คาดว่า อยู่ในราว 1 นาฬิกาเศษ ของเช้าวันใหม่ ผลปรากฏว่า น้ำคร่ำที่ไหลทะลักออกมา เป็นน้ำคร่ำปนเลือดสีแดงฉาน จำนวนไม่ต่ำกว่า 500 มิลลิลิตร หรือ ค่อนขวดโค๊กลิตร.. ข้าพเจ้าตกใจจนแทบจะสิ้นสติ พลางเหลือบตาไปมองที่เครื่องตรวจสภาพเด็ก เพื่อดูการเต้นของหัวใจทารก….หัวใจเด็กลูกคุณสุภัทรา ยังคงเต้นปกติอยู่ ข้าพเจ้าตะโกนบอกกับพยาบาลห้องคลอดให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัด เพื่อขอผ่าตัดคลอดด่วน \r\nถือเป็นโชคดี ที่ปัจจุบัน โรงพยาบาลเอกชนแห่งนี้ มีวิสัญญีแพทย์ นอนเวรในห้องพักแพทย์เช่นเดียวกับข้าพเจ้า เราจึงสามารถดำเนินการผ่าตัดได้ทันที… ตอนนั้น สายตาข้าพเจ้ายังคงจับจ้องที่ตัวเลขที่บ่งบอกอัตราการเต้นของหัวใจทารกบนหน้าปัดเครื่องตรวจสภาพเด็ก ส่วนหูข้าพเจ้า ก็จดจ่อฟังเสียงการเต้นของหัวใจทารกที่ดังจากเครื่อง ในช่วงที่พยาบาลกำลังเตรียมคนไข้เพื่อผ่าตัดอยู่นั้น ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เวลาช่างผ่านไปอย่างเชื่องช้าเสียเหลือเกิน ข้าพเจ้ากลัวมากเลยว่า หัวใจเด็ก ลูกคุณสุภัทราจะเต้นช้าลง ๆ และหยุดเต้นในที่สุด \r\nสุดท้ายเวลาที่รอคอยก็มาถึง เราสามารถเข็นรถเปลพาคนไข้เข้าห้องผ่าตัดได้อย่างรวดเร็วทันใจ ตอนนั้น พยาบาลจำเป็นต้องถอดเอาเครื่องตรวจสภาพเด็กออก จึงไม่มีสิ่งบ่งบอกถึงว่า ทารกน้อยเป็นยังไง? วิสัญญีแพทย์ ใส่ท่อช่วยหายใจให้คนไข้สลบภายในเวลาไม่ถึงอึดใจ ข้าพเจ้า กรีดลงมีดทันทีที่วิสัญญีแพทย์บอกว่า ‘ทำได้’ \r\nการลงมีดกรีดที่ผิวหน้าท้อง และผ่าตัดลัดเลาะกล้ามเนื้อหน้าท้องของคนไข้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาไม่ถึง 5 นาที ก็เข้าถึงถุงน้ำคร่ำ ข้าพเจ้าใช้คีมคีบศีรษะเด็กออกมา.. เชื่อหรือไม่ว่า พอคลอดศีรษะทารกน้อยได้ ที่ปากของลูกคุณสุภัทรา ยังมีก้อนเลือดค้างอยู่ภายใน ข้าพเจ้าได้ใช้นิ้วมือล้วงเอาก้อนเลือดออกมาจำนวนหนึ่ง หลังจากนั้น ก็รีบใช้ลูกยางแดง ดูดเอาของเหลวในปากและจมูกเด็ก พอให้ทางเดินหายใจโล่ง จากนั้น ก็ส่งเด็กให้กับกุมารแพทย์ที่ยืนรอรับอยู่ \r\nไม่นานนัก ทารกน้อย ก็ร้องเสียงดัง ข้าพเจ้าถือว่า นี่คือเสียงสวรรค์ ที่ทำให้ทุกคนในห้องผ่าตัดสบายใจ ลูกคุณสุภัทรา เป็นเพศชาย น้ำหนักแรกคลอด 3,130 กรัม คะแนนศักยภาพแรกคลอด 9, 10 (จากคะแนนเต็ม 10) ณ นาทีที่ 1 และ 5 ตามลำดับ\r\nตอนแรกที่คนไข้มาถึงห้องคลอด เธอได้บอกกับข้าพเจ้าว่า ‘ท้องนี้ เป็นท้องที่ 3 แล้ว ขอให้คุณหมอทำหมันหลังคลอดให้ด้วย ไม่ว่าจะคลอด แบบใด’ โดยลงลายมือชื่อไว้ในใบยื่นคำขอ แต่….พอผ่าตัด นำเอาทารกน้อย ลูกของเธอออกมา ข้าพเจ้ากลับมีความคิดว่า ‘ยังไม่ควรทำหมันในเวลานั้น’ ข้าพเจ้าขอให้พยาบาลห้องผ่าตัด โทรศัพท์ไปถามที่ห้องเด็กว่า ‘ลูกคุณสุภัทรา เป็นยังไงบ้าง?’ พยาบาลห้องเด็กตอบกลับมาว่า ‘เด็กดีค่ะ…แต่ ถ่ายออกมาเป็นเลือดสด’ ข้าพเจ้าคิดในใจว่า ‘หรือว่า เลือดที่เห็นในน้ำคร่ำ เป็นเลือดที่เด็กถ่ายออกมา ลูกคุณสุภัทรา เป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้หรือเปล่า’ อย่ากระนั้นเลย!! ข้าพเจ้าขอให้พยาบาลช่วยตามสามีคนไข้เข้ามาในห้องผ่าตัด แต่..ก่อนจะเข้ามา ขอให้ไปแวะที่ห้องคลอด และดูน้ำคร่ำปนเลือดของคนไข้ที่เก็บไว้เสียก่อน เพื่อให้ทราบเหตุผลที่ข้าพเจ้าผ่าคลอดให้กับคุณสุภัทรา\r\nเมื่อสามีคนไข้เข้ามาในห้องผ่าตัด ข้าพเจ้าได้ชี้แจงว่า ‘การทำหมันนั้นง่าย แต่..การผ่าตัดแก้หมันนั้นยาก และมีโอกาสล้มเหลวสูง ดังนั้น ตอนนี้ ผมอยากจะยกเลิกการทำหมันไว้ก่อน รอให้ลูกของคุณแข็งแรง และมีอายุ สัก 6 เดือนหรือ 1 ปี คุณค่อยพาภรรยามาทำหมันแห้ง ตอนนี้ เรายังไม่รู้ว่า ลูกของคุณจะมีปัญหา เกี่ยวกับลำไส้หรือเปล่า?? เพราะลูกของคุณถ่ายเป็นเลือด เด็กอาจเป็นโรคลำไส้กลืนกัน ก็ได้’ \r\nสามีคุณสุภัทราตกลงยกเลิกการทำหมันให้กับคุณสุภัทรา ข้าพเจ้าจึงเย็บปิดผนังหน้าท้องด้วยความสบายใจ แต่ก็ไม่ลืมสังเกตที่รกของคนไข้ว่า มีการลอกตัวหรือไม่?? ปรากฏว่า มันลอกตัวเพียงเล็กน้อย ไม่ถึง 25% ตอนนี้ จึงเป็นข้อสังเกตว่า ‘Abruptio Placenta หรือภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดนั้น ผลการตรวจร่างกายและการตรวจด้วยเครื่องตรวจสภาพเด็ก อาจไม่ช่วยบอกอะไรได้ การเจาะน้ำคร่ำ เมื่อปากดลูกของคนไข้เปิดพอสมควร ต่างหาก ที่มีส่วนช่วยในการวินิจฉัย ’\r\nวันรุ่งขึ้น ข้าพเจ้าถามคุณหมอเด็กว่า ‘ทำไม ลูกคุณสุภัทรา จึงถ่ายเป็นเลือด’ คุณหมอเด็ก ตอบว่า ‘ลำไส้เด็กนั้นสั้น ลูกคุณสุภัทรา คงกินเลือดในน้ำคร่ำเข้าไปสักระยะหนึ่งแล้ว เลือดนั้น ยังไม่มีการย่อยสลาย จึงถ่ายออกมาเป็นเลือดสด เด็กไม่ได้มีโรคอะไรหรอก’ ข้าพเจ้าฟังแล้ว ก็สบายใจ และขอให้คุณหมอช่วยไปอธิบายให้กับคนไข้และญาตฟังอีกครั้งหนึ่ง\r\nนี่แหละ.. ละครแห่งชีวิต บทบาทของคุณสุภัทรา และคุณกานดา คือ คนไข้, ลูกคุณสุภัทรา สวมบท ผู้รอดชีวิต อย่างปฏหาริย์ ส่วนลูกคุณกานดา สวมบทผู้โชคร้าย เสียชีวิตตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ ข้าพเจ้านั้น สวมบท เป็นคุณหมอ.. ซึ่งเผอิญ!! โชคดี ได้เป็น สูติแพทย์ที่มีความสามารถ ช่วยเหลือลูกคุณสุภัทราได้ และไม่ผิดพลาดกรณีลูกคุณกานดา แต่…หากวันนั้น ข้าพเจ้าไม่เจาะถุงน้ำคร่ำ ให้กับคุณสุภัทรา หรือไม่ผ่าคลอดให้กับคุณกานดา ข้าพเจ้าอาจถูกสังคมประนามหยามเหยียด ว่า เป็นหมอที่ไม่รับผิดชอบ คนไข้อยู่ในมือ แล้วยังปล่อยให้เกิดเกิดโศกนาฏกรรมขึ้นมาได้…\r\n&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&\r\nพต.อ. นพ. เสรี ธีรพงษ์ ผู้เขียน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *