อุ้มบุญ 2 : คุณยายยังสาว

อุ้มบุญ 2 : คุณยายยังสาว

         ที่บ้านพักคนชรา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี  มีคุณยายอายุ 102 ปี คนหนึ่ง แข็งแรงมาก

ร้องเพลงเก่ง มนุษยสัมพันธ์ดี  ชอบเล่าเรื่องราวแต่หนหลังให้คนที่แวะมาเยี่ยมเยียนฟังและมักจะจบลงด้วยคำพูดว่า "เธอมีความสุขมากในสถานที่แห่งนี้ ดีกว่าอยู่กับลูกหลานเสียอีก"

         "แล้วยายไม่มีลูกหลานหรือ ถึงไม่มีใครมาเยี่ยม" ทุกคนที่มาเยือนชอบถาม

         "มี…มาอยู่ที่นี่ใหม่ ๆ ลูก ๆ มาเยี่ยมบ้าง   นาน ๆ เข้า เดี๋ยวนี้ไม่มีใครมาเยี่ยม

แล้ว หลาน ๆ ก็มี แต่กระจัดกระจายไปไหนก็ไม่รู้  ลูก ๆ ไม่สนใจเรา หลาน ๆ ก็พาลไม่สนใจ

พ่อแม่ของมันด้วยเหมือนกัน กรรมตามสนอง  ฮา..ฮา" ยายเล่าอย่างสนุกสนาน

         คนเราเกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่ ไม่ยอมดูแลท่านยามแก่เฒ่า   หากท่านรู้ล่วงหน้าว่า

จะเป็นอย่างนี้ ท่านคงไม่อยากมีลูกเป็นแน่แท้  คำกล่าวที่ว่า "แม่คนเดียวเลี้ยงลูกได้หลายคน แต่ลูกหลายคนเลี้ยงแม่คนเดียวไม่ได้" ยังคงเป็นจริงอยู่เสมอ ในบ้านพักคนชรา

         อย่างไรก็ตาม คงไม่มีแม่คนไหน ที่ไม่อยากมีลูก แม้ว่าจะอายุมากเท่าใดก็ตาม  เมื่อ

ไม่นานมานี้   เกิดเหตุการณ์ประหลาดขึ้นที่ประเทศอิตาลี"คุณแม่วัย 61 ปี   คลอดบุตรได้อย่าง

ปลอดภัย ซึ่งน่าจะเป็นคุณแม่สูงวัยมากที่สุดในโลก" นี่คือ  ผลงานของคณะแพทย์โรงพยาบาลเซนต์ บอร์โตโล (ST BORTOLO GENERAL HOSPITAL) แห่งมลรัฐไวเซนซ่า     เหตุการณ์นี้อาจจะประหลาดสำหรับคนทั่ว ๆ ไป แต่เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ในมือของนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ยุคปัจจุบัน    คำถามที่ตามมามากมาย ซึ่งหลายคนอยากรู้ คือ

         "อายุปูนนี้ ยังต้องการมีลูกอีกหรือ และจะมีลูกไปทำไม?"

         "เป็นไปได้หรือ ที่สตรีอายุรุ่นราวคราวยาย 60 ปี จะมีลูก"

         "อายุขนาดนี้ ประจำเดือนน่าจะหมดไปแล้ว"

         "ประจำเดือนหมดไปแล้ว ทำไมถึงมีลูกได้"

         สตรีอายุเกิน 45 ปี ขึ้นไปทุกคน หากต้องการจะมีลูก คงต้องคิดและวางแผนไว้ในใจ

แล้วว่า "มีลูกตอนนี้ เมื่อไหร่ลูกจะโต  ตอนลูกอายุ 20 ปี แม่ก็แก่มากถึง 70-80 ปี   ถ้าแม่แก่

ตายไปเสียก่อน ใครจะเลี้ยง"                             

 

         สำหรับคุณแม่สูงอายุรายนี้ แต่งงานตอนอายุ 36 ปี กับสามีหนุ่มอายุ 33 ปี   เธอได้

 

พยายามอยู่นานทีเดียว จนหมดประจำเดือนไปตามธรรมชาติ เมื่ออายุเพียง 45 ปี

         ขณะที่อายุล่วงถึงปีที่ 61 เธอตัดสินใจเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการทำ "เด็กหลอดแก้ว"

(IVF-ET) โดยใช้ "ไข่" ของผู้บริจาคร่วมกับ "เชื้ออสุจิ" ของสามี     การหยอด "ตัวอ่อน"

ทางปากมดลูก ครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จ   แต่ในการหยอดครั้งที่สอง ด้วยการเตรียมมดลูก

อย่างดี เธอก็ตั้งครรภ์ขึ้นมาได้สมใจ

         อายุครรภ์ 6 และ 10 สัปดาห์  เธอได้รับการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อยืนยันว่า

"ทารกมีสภาพปรกติอยู่ภายในโพรงมดลูก"

         ตลอดระยะเวลา 14 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์    จะได้รับฮอร์โมนเสริมเพื่อคง

สภาพของเยื่อบุโพรงมดลูกให้ดีอยู่เสมอ

         อายุครรภ์ 18 สัปดาห์ ได้รับการเจาะดูดน้ำคร่ำตรวจโครโมโซมของทารก

         อายุครรภ์ 22 สัปดาห์ ได้รับการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงอย่างละเอียดเพื่อหาความ

ผิดปรกติแต่กำเนิด

         อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ได้รับการทดสอบว่า เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่

         การตรวจทดสอบทุกอย่างที่ได้กระทำไปในข้างต้น ไม่พบว่ามีความผิดปรกติแต่อย่างใด

         การตั้งครรภ์ดำเนินไปด้วยดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ทั้งสิ้น  น้ำหนักของคุณแม่เพิ่ม

ขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ 9 กิโลกรัม

         เธอได้รับการผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง ขณะอายุครรภ์ 38 สัปดาห์ เป็นทารก

เพศชาย หนัก 2780 กรัม แข็งแรงดี ไม่มีความผิดปรกติให้เห็นเลย

         หลังคลอด   คุณแม่มีน้ำนมปรกติ   และเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาเป็นระยะเวลานานพอ

สมควร

         นับว่า วงการแพทย์ ได้สร้าง สิ่งที่มีคุณค่าสูงสุด ขึ้นมาในจิตใจของมนุษย์  แม้จะเป็น

เพียงหนึ่งครอบครัวก็ตาม   ซึ่งถือเป็น ตัวอย่างและกำลังใจให้กับครอบครัวอื่นอีกหลายครอบครัว  ที่มีฝ่ายภรรยาสูงวัย และกำลังได้รับการรักษาอยู่

                               

         สำหรับขั้นตอนของการรักษา (รายละเอียดอยู่ใน คนมีลูกยาก คนอยากมีลูก เล่ม 1)

 

สรุปย่อ ๆ ได้ดังนี้

         * กระตุ้น "ไข่" ของสตรีผู้บริจาคให้ได้หลาย ๆ ใบ และเจาะนำเอา "ไข่" เหล่า

นั้นออกมาเมื่อสุกเต็มที่

         * เตรียม "เชื้ออสุจิ" ของสามี (SPERM PREPARATION)

         * นำ "ไข่" บริจาค และ "เชื้ออสุจิ" สามี มาทำให้ปฏิสนธิกัน ด้วยวิธี "เด็กหลอด

แก้ว" ธรรมดา หรือ "อิ๊กซี่" ในกรณีจำเป็น

         * นำ "ตัวอ่อน" ที่ได้ใส่กลับเข้าไปในร่างกายของคนไข้สตรีผู้นั้น   อาจจะเป็นทาง

ปากมดลูกหรือปีกมดลูก ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

         จากนั้น ต้องเฝ้าติดตามว่า "ตั้งครรภ์" หรือไม่  ในระหว่างนั้น ต้องให้ฮอร์โมนเพื่อ

เสริมสภาพการคงตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก   หากพบว่า "ตั้งครรภ์" ยังต้องให้ฮอร์โมนต่อจนอายุ

ครรภ์ครบ 70 วัน เป็นอย่างน้อย     พ้นจากช่วงเวลานี้ไปแล้ว รกจะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนจน

เพียงพอกับการดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไป

         ทำไมจึงใช้อายุ 60 ปี เป็นเกณฑ์อายุสูงสุดในการ "อุ้มบุญ" ด้วย "ไข่" บริจาค

(OVUM DONATION)    โดยเฉลี่ย สตรีปัจจุบัน มีอายุยืนยาวกว่า 80 ปี ในประเทศที่พัฒนาแล้ว

ดังนั้น เราจึงใช้อายุ 60 ปี เป็นเกณฑ์สูงสุดในการรักษาด้วยวิธีนี้ เพราะเชื่อว่า เด็กจะสามารถ

เติบโตจนรับผิดชอบตัวเองได้ทันก่อนที่พ่อแม่จะตาย  หากต่อไป สตรีสามารถมีอายุยืนยาวขึ้นไปอีก

         ไม่แน่…เราอาจจะได้เห็นสตรีวัยคุณย่า "อุ้มท้อง"

         ทำไม จะต้องใช้ "ไข่" บริจาคในการรักษาสตรีสูงอายุเหล่านี้

         จากรายงานวิจัยที่ได้จาก    สถาบันสถิติแห่งชาติประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

เรื่องความสำเร็จในการทำ "เด็กหลอดแก้ว" ปี ค.ศ.1991 (พ.ศ.2534) จำนวน 1312 ราย

พบว่า                               

 

         อัตราการตั้งครรภ์  ด้วยการใช้ "ไข่" ของตัวเองทำ "เด็กหลอดแก้ว" ในช่วงอายุ

 

25-29 ปี เท่ากับ 19%     พออายุมารดามากกว่า 40 ปี ความสำเร็จจะลดลงเหลือเพียง 6%

เท่านั้น

         ที่โรงพยาบาล รอยัล  นอร์ท  ชอร์  แห่งมลรัฐซิดนีย์  (ROYAL  NORTH  SHORE

HOSPITAL OF SYDNEY)   พบว่า อัตราการตั้งครรภ์โดยการทำ "เด็กหลอดแก้ว" ด้วย "ไข่"

ของคนไข้เอง เท่ากับ 21% และลดลงเป็น 0% ภายหลังอายุ 41 ปี   จึงเป็นที่ตกลงกันว่า ไม่มีการรักษาในคนไข้สตรีที่มีอายุเกิน 42 ปี โดยใช้ "ไข่" ของตัวเอง

         จะเห็นว่า สตรีอายุ 42 ปีขึ้นไป  "ไข่" จะไม่ค่อยมีคุณภาพ การที่จะใช้ "ไข่" ของ

คนไข้เอง โอกาสสำเร็จย่อมมีน้อยมาก    ดังนั้น จึงควรพิจารณาใช้ "ไข่" บริจาคในคนไข้สตรี

อายุเกินกว่า 42 ปีขึ้นไปทุกรายที่กระตุ้น "ไข่" ไม่สำเร็จ

         เป็นเรื่องแปลก ที่คุณยาย คุณย่า คิดจะมามีลูกเมื่ออายุปูนนี้     แต่เป็นเรื่องที่ดี หาก

สามารถมีลูกได้ เพราะ "ลูก" คือ สิ่งที่มีค่าและวิเศษที่สุดของครอบครัว  ลูกจะนำความสุขอย่างที่สุดมามอบให้ในบั้นปลายของชีวิต

         การมีลูกได้ ย่อมเป็นการบอกนัย ๆ ว่า  "เธอไม่ได้แก่จนเกินไปและยังมีคุณสมบัติของ

สตรีในด้านการสืบพันธุ์พร้อมไม่บกพร่อง"  สมควรยกย่องในความหาญกล้าที่มามีลูกในยามนี้   เสีย  แต่ว่า กลัวลูกจะสับสนไม่เรียก "คุณแม่" แต่เรียกเป็น "คุณยาย"

                                  @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

 


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *