การเลือกเพศ 100% และการวิเคราะห์ “ตัวอ่อน” ก่อนการฝังตัว

 

                การเลือกเพศ 100% และการวิเคราะห์ "ตัวอ่อน" ก่อนการฝังตัว

                 (PREIMPLANTATION GENETIC DIAGNOSIS)

          กรรมวิธีเจาะ "ไข่" ใส่ "อสุจิ" ที่เรียกว่า "อิ๊กซี่" นั้น       เป็นกรรมวิธีเพื่อช่วยเหลือให้มีการปฏิสนธิขึ้นสำหรับ "คนมีลูกยาก" ในบางกรณี   ปัจจุบันนี้ ได้มีการดัดแปลงและประยุกต์ใช้วิธีการคล้าย ๆ กัน โดยใช้เข็มปลายเรียวเล็ก ที่ผลิตจากหลอดแก้วขนาดจิ๋ว เจาะใส่เข้าไปใน "ตัวอ่อน" ขนาด 2-8 เซลล์      แล้วดูดเอาเซลล์ออกมา 1 เซลล์ เพื่อตรวจสอบ "หน่วยพันธุกรรรม" ที่จำเป็น รวมทั้งโครโมโซมเพศด้วย  ทำให้ทราบถึง ความผิดปรกติและเพศของ "ตัวอ่อน" นั้น   กรรมวิธีดังกล่าว มีชื่อทางการแพทย์ว่า "PREIMPLANTATION GENETIC  DIAGNOSIS" แต่เรามักนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "PGD" มากกว่า

          โรคร้ายแรงของกรรมพันธุ์บางอย่าง ถ่ายทอดเฉพาะเจาะจงในทารกเพศชาย (X-Linked Recessive)   ดังนั้น "ตัวอ่อน" เพศชายซึ่งถ่ายทอดโรคดังกล่าวได้ จะถูกทำลายทิ้ง ทั้งหมด    คงเหลือไว้แต่ "ตัวอ่อน" เพศหญิง ที่จะนำใส่กลับเข้าไปในร่างกายของคนไข้สตรีผู้มีบุตรยาก ลูกที่เกิดมาก็จะปราศจากโรคร้ายแรงข้างต้น

          อาจมีผู้คนสงสัยและคิดว่า "ตัวอ่อน" ขนาด 2-8 เซลล์ ที่ถูกเจาะดูดเอาเซลล์ออก

ไป 1 เซลล์นั้น น่าจะพิการหรือตายไป   ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่  ในทางกลับกัน "ตัวอ่อน"

นั้น (ซึ่งมีเซลล์หายไป 1 เซลล์)   ยังมีศักยภาพในการเจริญเติบโตเหมือนเดิมทุกประการ และ

ทารกที่เกิดมาจะไม่มีความพิการแต่กำเนิดด้วย  (ความจริง ความพิการแต่กำเนิดของทารก ย่อม

มีได้เสมอ เทียบเท่ากับทารกที่เกิดตามธรรมชาติ      แต่ไม่ได้เป็นผลมาจากกรรมวิธีวิเคราะห์

"ตัวอ่อน")

 

          ภาวะมีบุตรยากและอัตราการแท้งกับอายุของมารดา

          อายุของมารดาเป็นตัวทำนายเกี่ยวกับผลการตั้งครรภ์ได้ดีที่สุด   จากการศึกษาวิจัย

ของประชากรในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา พบว่า มีการลดลงอย่างสม่ำเสมอของภาวะการเจริญ

พันธุ์ตามอายุของสตรีที่มากขึ้น (รูปที่ 1)

          "ไข่" ของสตรีมีการสูญสลายหรือฝ่อไปอย่างมากเริ่มตั้งแต่อายุ 37-38 ปี โดยมีค่า

ของฮอร์โมน "FSH" ในเลือดค่อย ๆ สูงขึ้นเป็นสัดส่วนกัน    สังเกตได้ว่า ค่าฮอร์โมน "FSH"

และเอสโตรเจน  จะช่วยเหลืออย่างมากในการทำนายความสำเร็จของกระบวนการ "เด็กหลอด

แก้ว" (IVF Outcome)   สำหรับ คนไข้สตรีซึ่งมีค่า "FSH" ที่สูงขึ้น (10-20 หน่วย) หรือค่าฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่มากกว่า 75 หน่วย (pg/ml) ในวันที่ 3 นับจากวันแรกของระดู จะแปล

ผลได้ว่า มีโอกาสน้อยกว่า 5% ที่จะประสบความสำเร็จในการทำ "เด็กหลอดแก้ว"

          สตรีตั้งครรภ์ที่อายุเกิน 35 ปี  ในวงการแพทย์ถือว่า มีอัตราเสี่ยงต่อภาวะผิดปรกติ

ทางกรรมพันธุ์และการแท้ง  ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจาก "ตัวอ่อน" ที่ผิดปรกติทางกรรมพันธุ์  กลไกทางธรรมชาติ ในการคัดออกหรือทำลาย "ตัวอ่อน" ผิดปรกติของสตรีอายุมาก มักจะไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ "ตัวอ่อน" ผิดปรกติ เจริญเติบโตต่อไปโดยไม่แท้งออกมา   อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีการตรวจสอบ ความผิดปรกติของทารกขณะอยู่ในครรภ์ได้   โดยการเจาะดูดเอาเซลล์ของรก (อายุครรภ์  7-8 สัปดาห์) หรือน้ำคร่ำ (อายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์) มาเพาะเลี้ยงและศึกษาโครโมโซม

           การวิเคราะห์ "ตัวอ่อน" ก่อนการฝังตัว (PREIMPLANTATION GENETIC DIAGNOSIS ชื่อย่อ "PGD"

          นับตั้งแต่มีรายงานความสำเร็จครั้งแรกของทารกที่ผ่านกรรมวิธี "PGD"  คลอดออก

มา เมื่อปี พ.ศ.2533 (ค.ศ.1990)  กระบวนการวิเคราะห์ "ตัวอ่อน" ก่อนการฝังตัว "PGD"

ก็มีความก้าวหน้าขึ้นมาอย่างมาก    ปัจจุบัน มีทารกกว่า 100 ราย รายงานจากทั่วโลกว่าได้ใช้

กระบวนการ ("PGD") นี้ โดยอาจจะใช้วิธี

          1. "PCR" [1](POLYMERASE CHAIN REACTION) หรือ

          2. "FISH" (FLUORESCENT IN SITU HYBRIDIZATION EMBRYOS)

          วิธีการ "PGD" นี้ ช่วยให้คนไข้สตรีไม่ต้องทำกรรมวิธีดูดเซลล์รก   (Chorionic

Villi Sampling) และเจาะดูดน้ำคร่ำ (AMNIOCENTESIS) ขณะตั้งครรภ์  ซึ่งเสี่ยงอันตราย

ค่อนข้างสูงต่อทั้งมารดาและทารก แต่กรรมวิธี "PGD" นี้เองก็มีความยุ่งยาก ในกระบวนการและ

ขั้นตอนการทำมิใช่น้อย   นอกจากนั้น ยังมีบางรายงานอ้างถึงความผิดพลาดในการวินิจฉัยโดยใช้กรรมวิธี "PCR" (POLYMERASE CHAIN REACTION)

          การวิเคราะห์ "ตัวอ่อน" โดยใช้เทคนิค "FISH"

          "FISH" (FLUORESCENT IN SITU HYBRIDIZATION)  มีความสามารถในการ

วิเคราะห์ความผิดปรกติทางพันธุกรรมของ "ตัวอ่อน" หลายอย่าง    (SINGLE GENE DEFECT

DISORDERS,ANEUPLOIDY ASSESSMENT,POLYPLOIDY) รวมทั้งบอกเพศ  ได้อย่างแน่นอนอีกด้วย  อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดยังอาจพบได้หากไม่ละเอียดรอบคอบพอ  ดังนั้น จึงต้องอาศัยความชำนาญของผู้ดำเนินการอย่างยิ่ง

         การเลือกเพศ (GENDER SELECTION)

          วัตถุประสงค์ของกรรมวิธี "PGD" นี้    เพื่อกำจัดโรคร้ายที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์

ปัจจุบัน  มีการเบี่ยงเบนวัตถุประสงค์ไปใช้ในกรณีเลือกเพศ   เนื่องจากให้ความถูกต้องของเพศ

ทารกที่จะเกิดมาถึง 100%      ในแง่จริยธรรมขณะนี้ ยังถือว่า การเลือกเพศ โดยใช้กรรมวิธี

"PGD" เป็นสิ่งที่ผิดอยู่  แต่อนาคตข้างหน้า อาจเปลี่ยนความคิดไปก็ได้     ยกตัวอย่างเช่น ใน

ครอบครัวของคนจีนที่มีลูกสาว 4 คน และอยากได้ "ลูกชาย" อย่างมาก   หากการตั้งครรภ์ครั้ง

ต่อไปได้ลูกสาวอีก   ครอบครัวอาจประสบปัญหาเรื่องการหย่าร่างหรือสามีมีภรรยาน้อย เป็นต้น

          การวิเคราะห์ "ตัวอ่อน" ก่อนการฝังตัว (PGD) นี้    มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย

และประสบความสำเร็จมานานหลายปี      ทารกกว่า 100 คนจากทั่วโลก เกิดมาอย่างสมบูรณ์

ภายหลังทำกรรมวิธีนี้ โชคไม่ดี ที่ยังมีความผิดพลาดอยู่บ้างจำนวนหนึ่ง ไม่มากนัก  อย่างไรก็ตาม  ปัจจุบันทั้งกรรมวิธี "PCR" และ "FISH" ก้าวหน้าในด้านวิทยาการไปไกล  จนสามารถให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการได้เป็นอย่างดี     

              บทสรุปสุดท้ายของการวิเคราะห์ "ตัวอ่อน" (PGD) นี้ ยังคงไม่มี ทั้งในแง่กรรมวิธีและจริยธรรม เพราะยังมีการพัฒนาค้นคว้าวิจัยกันอยู่ค่อนข้างมาก      ขณะเดียวกัน หากจะนำกรรมวิธีนี้ มาใช้เฉพาะในแง่เพื่อแก้ปัญหาโรคร้ายแรงที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์เท่านั้น    คงต้องประสบปัญหาเรื่องจำนวนของคนไข้ (ในหนึ่งปีมีเพียงไม่กี่ราย) ซึ่งจะมีผลต่อค่าใช้จ่ายที่แพงลิบลิ่ว  และการเสื่อมสภาพของอุปกรณ์เครื่องมืออย่างรวดเร็วโดยไร้ประโยชน์เท่าที่ควร ดังนั้น อาจเป็นไปได้ว่า ในอนาคตกรรมวิธี [1]"PGD" [1]จะนำมาใช้แก่คนไข้มีบุตรยากทุกคนที่มาทำ "เด็กหลอดแก้ว" หรือบุคคลธรรมดาที่มาเลือกเพศของบุตร

                         @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *