หัวใจสำคัญของการผ่าตัด
ข้าพเจ้าเพิ่งเสร็จสิ้นจากการสอนแพทย์ฝึกหัดผ่าตัดคลอดบุตรในสตรีรายหนึ่ง ซึ่งเดิมคิดว่า ไม่น่ามีปัญหา แต่ก็เกิดเรื่องขึ้นมาจนได้ โชคดี ที่ย้อนกลับไปตรวจดูแผลผ่าตัดข้างใน ระหว่างที่กำลังเย็บปิดช่องท้องอีกครั้ง จึงยับยั้งเลือดที่กำลังพุ่งออกมาจากบริเวณที่ทำหมันได้ทัน มิฉะนั้น ต้องเกิดเรื่องราวใหญ่โตตามมา อย่างแน่นอน
วันนี้ ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ผ่าตัดคลอดบุตรคนไข้รายหนึ่ง ซึ่งตั้งครรภ์ครบกำหนดและมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด คือ ท้องที่แล้วเคยผ่าตัดคลอดบุตร (Previous Cesarean Section)
การผ่าตัดดำเนินไปอย่างราบรื่น ขณะที่กำลังเปิดแผลบริเวณส่วนล่างของมดลูก
ข้าพเจ้าได้เล่าเรื่องราวสอนแพทย์ฝึกหัดไปด้วย ดังนี้
"คนไข้ที่เคยผ่าตัดคลอดบุตรมาแล้ว (Previous Cesarean Section) นั้น อย่าคิดว่า ผ่าตัดง่ายนะ หลายวันก่อน ที่โรงพยาบาลอำเภอแห่งหนึ่ง ศัลยแพทย์ได้ทำการผ่าตัดคลอดบุตร ให้กับคนไข้สตรีรายหนึ่งตามข้อบ่งชี้ข้างต้น ตอน 9.00 นาฬิกา พอตกเย็นคนไข้ช็อคตายโดยทีมแพทย์ช่วยเหลือคนไข้ไว้ไม่ทัน ต่อมา ได้ทำการชัณสูตรศพ ซึ่งตรวจพบกองเลือดภายในช่องท้องประมาณ 2 ลิตร เธอคิดว่า เลือดเหล่านี้ออกมาจากส่วนไหนของร่างกาย ทำไมพยาบาลหรือหมอผู้ดูแล จึงวินิจฉัยได้ช้า จนเป็นสาเหตุให้คนไข้ตาย"
ข้าพเจ้าไม่ได้รอคำตอบ มือข้างหนึ่งล้วงเข้าไปในโพรงมดลูก ช้อนบริเวณศีรษะ
ทารกให้ชันขึ้นมา แล้วใช้คีมคีบศีรษะดึงออกมา พอศีรษะโผล่พ้นขอบแผลของมดลูก ก็ใช้[1]ลูกยางแดงดูดน้ำคร่ำในปากและจมูกจนเกลี้ยงพอสมควร จากนั้น จึงดึงคลอดไหล่และลำตัวเด็กออกมา ทารก
ที่คลอดเป็นเพศชาย หนัก 2680 กรัม ร้องเสียงดังและหายใจได้ดี ข้าพเจ้าลองให้แพทย์ฝึกหัด
ล้วงคลอดรก ซึ่งแพทย์ฝึกหัดยังทำได้ไม่ดีนัก ข้าพเจ้าจึงต้องล้วงรกและสำรวจภายในโพรงมดลูกเอง ขณะเดียวกัน ปากก็พร่ำสอนต่อไป
"ตำแหน่งที่มีปัญหามากที่สุดของมดลูกในการผ่าตัดคลอด คือ มุมแผลมดลูกทั้งสองมุม เวลาเย็บปิดแผลมดลูก เราต้องแยกเย็บมุมแผลทั้ง 2 มุม ให้เรียบร้อยเสียก่อน โดยใช้เทคนิคเงื่อนผูกรัดเส้นเลือดลักษณะเลข 8 (FIGURE OF EIGHT SUTURE TECHNIC) อาจจะเย็บข้างละ 2 ครั้งก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเย็บเพียงครั้งเดียว" ข้าพเจ้าสอนพร้อมกับให้ทัศนคติของการตายในคนไข้รายดังกล่าวว่า "กรณีที่มีเลือดออกในคนไข้ที่ตาย คาดว่า น่าจะเกิดจากเลือด
ออกบริเวณมุมแผลบริเวณส่วนล่างของมดลูก ตอนที่ศึกษาเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่โรงพยาบาล
ศิริราช เคยมีกรณีทำนองนี้ แต่เกิดขึ้นหลังจากคนไข้กลับบ้านไปแล้ว 2 อาทิตย์ โดยมีเลือดออกมา จำนวนมากจากโพรงมดลูกเข้าไปในช่องคลอด หมอแผนกเอกซเรย์ ตรวจสอบด้วยเทคนิคพิเศษ จนสามารถมองเห็นจุดเลือดออกบริเวณมุมแผลของมดลูกส่วนล่าง
จากนั้น ได้ใช้สารชนิดหนึ่งฉีดไปตามสายหลอดพลาสติคเล็ก ๆ ที่สอดเข้าเส้นเลือด
จนถึงใกล้บริเวณจุดเลือดออก สารชนิดนั้นจะไปทำหน้าที่เป็นกาวอุดรูเส้นเลือด ทำให้เลือดหยุด
คนไข้จึงปลอดภัยโดยไม่ต้องผ่าตัด
แต่คนไข้รายที่เสียชีวิต เกิดมีเลือดออกหลังผ่าตัดทันทีและเลือดค่อย ๆ ออก ขณะนั้น คนไข้ยังอยู่ในสภาพสะลึมสะลือและปวดแผลผ่าตัด ทำให้หมอและพยาบาลผู้ดูแลวินิจฉัยได้ช้า พอวินิจฉัยได้ คนไข้อยู่ในสภาพแย่แล้ว จึงช่วยเหลือไม่ทัน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในโรงพยาบาลอำเภอเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งการดูแลไม่เข้มงวดเหมือนโรงพยาบาลใหญ่ ๆ นอกจากนั้น การที่ศัลยแพทย์[1]มาทำการผ่าตัดคลอดบุตร บางที อาจมองข้ามปัญหาทางสูติกรรมบางอย่างไป อย่างไรก็ตาม เราต้องถือเป็นบทเรียนเตือนใจให้ระมัดระวังอย่าประมาทในการผ่าตัดทุกครั้ง อย่าได้ไปตำหนิ
แพทย์ผู้นั้นเลย เพราะอาจมีปัญหาอื่น ๆ อีกที่เราไม่ทราบ"
ข้าพเจ้าเย็บแผลบริเวณมดลูกส่วนล่าง 2 ชั้น จากการดูลักษณะของแผลที่เย็บแล้ว
คิดว่าไม่น่ามีปัญหา แต่ข้าพเจ้ายังย้ำกับแพทย์ฝึกหัดว่า "คนไข้ที่เคยผ่าตัดคลอดบุตรมาก่อน บริเวณมดลูกส่วนล่างมักจะบางและไม่มีเลือดออกมากเวลาผ่าตัด แต่เพราะดูเหมือนง่ายและไม่มีเลือดออกมาก ทำให้หมอบางคนประมาท รีบเย็บปิดช่องท้องโดยไม่ตรวจเช็คให้ดีเสียก่อน สุดท้าย ต้องมาผ่าตัดเปิดหน้าท้องและตัดมดลูกทิ้งอีกที เพราะฉะนั้น เสียเวลาตรวจเช็คบาดแผลที่เย็บเสียหน่อย โดยเฉพาะตรงบริเวณมุมแผล เราก็จะกลับบ้านนอนหลับสบาย ไม่ต้องมาคอยกังวล"
หลังจากนั้น ข้าพเจ้าได้ทำหมันให้กับคนไข้ โดยการผูกและตัดท่อนำไข่บริเวณส่วน
กลาง (AMPULAR PART) ในระหว่างที่ทำหมัน ข้าพเจ้ายังได้สอนแพทย์ฝึกหัดต่อไปอีกว่า
"การทำหมันบริเวณท่อนำไข่นั้น อย่าได้ประมาทเชียว ระดับอาจารย์แพทย์มหาวิทยาลัยฯ ยังเคย
ผิดพลาดมาแล้ว โดยปมเชือกที่ผูกท่อนำไข่เกิดหลุดขณะที่คนไข้อยู่ในห้องพักฟื้น ทำให้ความดัน
ลหิตของคนไข้ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว จนเข้าสู่ภาวะช็อค อาจารย์แพทย์ท่านนั้นต้องรีบนำคนไข้
เข้าห้องผ่าตัดอีกครั้ง เพื่อเข้าไปผูกรัดเส้นเลือดของท่อนำไข่ซึ่งปมเชือกเลื่อนหลุด นี่จึงเป็น
สาเหตุให้เราต้องผูกรัดท่อนำไข่ 2 ชั้น เพื่อกันผิดพลาด"
– 3 –
ข้าพเจ้าผูกรัดท่อนำไข่บริเวณที่ทำหมัน 2 ชั้น และตัดบางส่วนของท่อนำไข่ทิ้งไป
จากนั้น จึงเช็ดเลือดที่ตกค้างในช่องท้อง ก่อนจะเย็บปิดผนังช่องท้อง ข้าพเจ้ายังคงพูดย้ำเตือน
พร้อมกับพลิกไปดูตำแหน่งที่ทำหมันอีกที
"เราควรตรวจเช็คตำแหน่งที่ทำหมันจนแน่ใจว่า ไม่มีเลือดออก จึงเย็บปิดช่องท้อง
ได้ ปมเชือกที่ทำหมันข้างซ้ายดูแล้วไม่มีเลือดออก" ข้าพเจ้าสอนไปเรื่อย ๆ แต่พอพลิกมดลูก
เพื่อดูท่อนำไข่ด้านขวา ปรากฏว่า มีเลือดออกมาจากบริเวณที่ผูกปมทำหมัน ข้าพเจ้ารู้สึกตกใจใน
สิ่งที่คาดไม่ถึง จึงพูดว่า
"พูดยังไม่ทันขาดคำเลยว่า ระดับอาจารย์แพทย์ยังเคยผิดพลาด นี่ถ้าเราไม่ย้อน
กลับมาตรวจดูอีกครั้งก่อนเย็บปิดช่องท้อง มีหวัง ต้องเจอปัญหาเช่นเดียวกับอาจารย์แพทย์ท่าน
นั้นอย่างแน่นอน" ข้าพเจ้าได้เย็บผูกท่อนำไข่บริเวณนั้นอีก 2 ชั้น และตรวจเช็คดูอย่างละเอียด
เมื่อแน่ใจแล้วว่า ไม่มีจุดเลือดออกทุกบริเวณของมดลูก จึงเย็บปิดหน้าท้อง"
การผ่าตัดร่างกายคนไข้ ไม่ว่าส่วนใดก็ตาม แพทย์ต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง
อย่างมาก แม้จะมีความชำนาญ แต่หากประมาท ก็อาจผิดพลาดเกิดเป็นโศกนาฏกรรมได้
ข้าพเจ้าผ่านชีวิตการเป็นแพทย์มากว่า 15 ปี ผ่าตัดคนไข้มามากมาย ยังคงได้รับรู้
และเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดเพิ่มขึ้นทุกวัน เดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้าทำการผ่าตัดช้าลง
กว่าสมัยก่อนมาก เพราะยอมเสียเวลาตรวจเช็คบริเวณที่ผ่าตัดซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นเวลานาน
ข้าพเจ้าอยากสรุปว่า [1]หัวใจของการผ่าตัด[1] ที่นอกเหนือจาก [1]ความรู้ ความสามารถ [1]
แล้ว ก็คือ [1] "ความไม่ประมาท"[1] นั่นเอง หมอผ่าตัดกลัว [1]"จุดเลือดออก"[1] มากที่สุด หากยังหยุดยั้ง
ตำแหน่งที่เลือดออกได้ไม่ดี คงไม่มีใครกล้าเย็บปิดผนังหน้าท้อง แต่การที่หมอบางคนเย็บปิด
หน้าท้องขณะที่ยังมีเลือดออกอยู่ คงเป็นเพราะไม่ยอมเสียเวลาเพียงเล็กน้อย ในการสำรวจตรวจ
ดูแผลผ่าตัดที่เย็บไว้ หมอผ่าตัดที่ได้ชื่อว่า [1]"หมอเทวดา"[1]!…แน่นอน…เป็นผลมาจากการผ่าตัด
ที่สำเร็จเรียบร้อยดีและคนไข้รอดชีวิต คงไม่มีใครอยากได้รับการผ่าตัดจาก ศัลยแพทย์มือดี แต่มี
ประวัติว่า คนไข้ส่วนใหญ่เสียชีวิตจากความประมาทเลินเล่อของหมอ
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@