“เด็กหลอดแก้ว 3”

\”ZIFT\” (ZYGOTE INTRAFOLLOPIAN TRANSFER)
ชื่อนั้นสำคัญไฉน ! คนเรากำหนดสิ่งต่าง ๆ ด้วยคำ 2-3 คำ ที่เรียกว่า \”ชื่อ\” ซึ่ง
สามารถอธิบายรูปร่าง, ลักษณะ, ขบวนการกระทำออกมาได้พร้อมมูลในคำ 2-3 คำนี้ เหมือนกับ
คำว่า \”ZIFT\” (\”ซี๊ฟ\”) ก็ย่อมาจากคำว่า Zygote Intrafollopian Transfer หมายถึง
ขบวนการทำ \”เด็กหลอดแก้ว\” โดยให้มีการปฏิสนธิภายนอกร่างกายในหลอดแก้วทดลอง แล้วนำ
กลับเข้าสู่ร่างกายทางปีกมดลูกขณะที่เป็นตัวอ่อนแรกปฏิสนธิ (Zygote) ถ้าตัวอ่อนที่นำมาใช้อยู่
ในระยะโปรนิวเคลียร์ (Pronuclear) ก็เรียกว่า \”PROST\” (PRONUCLER STAGE TUBAL
TRANSFER) ถ้าตัวอ่อนที่นำมาใส่อยู่ในระยะมากกว่านี้ ก็เรียกว่า \”TET\” (TUBAL EMBRYO
TRANSFER) หรือ \”TEST\” (TUBAL EMBRYO STAGE TRANSFER) หรือ \”TUFT\” (TRANS-
UTERINE FOLLOPIAN TRANSFER)
\”ZIFT\” หรือ \”GIFT\” กรรมวิธีไหนดีกว่ากัน
ถ้ามองในแง่หลักการแล้ว ZIFT ดีกว่า เพราะ ZIFT เป็นการใส่ \”ตัวอ่อน\” ที่
พร้อมที่จะเจริญเป็นมนุษย์ต่อไปได้เข้าไปในท่อนำไข่ ส่วน GIFT เป็นการใส่ \”เชื้ออสุจิ&ไข่\”
ซึ่งไม่รู้ว่า เมื่อเซลล์สืบพันธุ์ทั้งสองเข้าไปในท่อนำไข่แล้วจะปฏิสนธิกลายเป็น \”ตัวอ่อน\” หรือไม่
ข้อได้เปรียบที่ \”ซี๊ฟ\” มีเหนือกว่า \”กี๊ฟ\” ก็คือ
1. \”ไข่\” ที่เจาะออกมา หากยังไม่สมบูรณ์พอ ก็สามารถเลี้ยงให้เจริญเติบโตต่อไป
ในหลอดแก้วทดลอง จนสมบูรณ์ได้
2. เราใส่ \”ตัวอ่อน\” ที่พร้อมจะเจริญต่อไปเป็นมนุษย์ ลงไปในท่อนำไข่
3. เราสามารถตรวจพบ \”ตัวอ่อน\” ที่ผิดปกติได้ในหลอดแก้วทดลองก่อนที่จะดำเนิน
การต่อไป ส่วน \”กี๊ฟ\” เราไม่สามารถรู้สภาพของ \”ตัวอ่อน\” ที่ปฏิสนธิขึ้นมาในปีกมดลูกได้เลย
4. ในกรณีที่ ไม่เกิดการปฏิสนธิขึ้นในหลอดแก้วทดลอง คนไข้สตรีผู้นั้น ก็ไม่ต้อง
\”เจ็บตัว\” จากการเจาะท้องส่องกล้องเพื่อหยอด \”ตัวอ่อน\”
อย่างไรก็ตาม การใส่ \”ตัวอ่อน\” ลงไปในท่อนำไข่ ใช่ว่าจะอยู่รอดหมดทุกตัวอ่อน
โดยปกติ เราจะใส่ \”ตัวอ่อน\” ลงไปประมาณ 3 ตัวอ่อน สูงสุด 4 ตัวอ่อน (ในกรณีที่กระทำใน
คนไข้สตรีสูงอายุ หรือการพยากรณ์โรคไม่ดี) แต่ถ้ามี \”ตัวอ่อน\” น้อยมาก เพียงหนึ่งตัวอ่อน ก็
ต้องให้ความระมัดระวังเลือก \”ตัวอ่อน\” ที่มีลักษณะดี จึงจะ \”คุ้มค่า\” กับการเจาะท้องทำ
\”ZIFT\”
ทำไมต้องทำ \”ZIFT\”
การทำ \”ZIFT\” ให้ผลคุ้มค่า แต่ค่าใช้จ่ายก็สูงทีเดียว ข้อสำคัญอันหนึ่งที่ต้องรู้คือ
ผู้ป่วยที่จะทำ \”ZIFT\” ต้องมีปีกมดลูกดีอย่างน้อยหนึ่งข้าง เช่นเดียวกับ \”GIFT\”
การทำ \”ZIFT\” ต้องมีข้อบ่งชี้ คือ
@ เราจะทำ ZIFT ในรายที่เคยทำ GIFT มาก่อนแล้วล้มเหลว ซึ่งคนไข้ ส่วนใหญ่
จะไม่ค่อยยอมรับกลับไม่ใช้วิธีเดิม
@ ในรายที่หาสาเหตุไม่ได้ (Unexplained infertility) ซึ่งได้รับการรักษาวิธี
ต่าง ๆ แล้วไม่ได้ผล
@ ในรายที่มีปัญหาเรื่อง \”เชื้ออ่อน\” (Male Facfor)
@ ในรายที่คนไข้สตรีมีภูมิต้านทานต่อเชื้ออสุจิ (Female Antisperm Antibodies)
@ ในรายที่มีเยื้อบุโพรงมดลูกเกาะผิดที่ (Endometriosis)
@ ในรายที่เป็นโรค Polycystic Ovarian Disease (ชื่อย่อ \”PCOD\”) ที่ให้
การรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ แล้วประมาณ 6 เดือน ไม่มีไข่ตกหรือไม่มีการตั้งครรภ์
กรรมวิธีการทำ \”ZIFT\”
การดำเนินการทำ \”ซี๊ฟ\” ก็คือการทำ \”เด็กหลอดแก้ว\” นั่นเอง เพียงแต่กรรมวิธี
การนำตัวอ่อนกลับเข้าสู่ร่างกายเท่านั้นที่ทำเหมือน ๆ กันกับ \”กี๊ฟ\” ต่างกันก็ตรงที่หยอด \”ตัวอ่อน\”
เข้าไปในปีกมดลูก แทนที่จะเป็น เซลล์สืบพันธุ์ (\”ไข่\” & \”เชื้ออสุจิ\”)
การนำ \”ตัวอ่อน\” กลับเข้าสู่ร่างกายโดยการทำ \”ซี๊ฟ\” นี้อาจใช้ \”ตัวอ่อน\”เมื่ออายุ
ประมาณ 18-24 ชั่วโมง (นับจากเวลาตั้งแต่ผสม \”เชื้ออสุจิ\” ลงในหลอดแก้วทดลองที่มี \”ไข่\”
อยู่) หรืออายุมากกว่านี้เล็กน้อย แต่ไม่ควรเกินกว่า 3-4 วัน
เราสามารถนำ \”ตัวอ่อน\” มาใส่เข้าในปีกมดลูกได้ 2 ทาง ได้แก่
หนึ่ง ผ่านทางผนังหน้าท้อง โดยการเจาะท้องในลักษณะเดียวกันกับ \”กี๊ฟ\”ซึ่งก็คือ \”ซี๊ฟ\” นั้นเอง
สอง ผ่านทางโพรงมดลูก โดยการสอดใส่ท่อสายพลาสติกชนิดพิเศษที่บรรจุ
\”ตัวอ่อน\” เข้าไปทางปากมดลูก ผ่านโพรงมดลูก แล้วทะลุผ่านรูเปิดภายในของปีกมดลูกลึกเข้าไป
ประมาณ 2-3 เซนติเมตร หยอดให้ \”ตัวอ่อน\” อยู่บริเวณกึ่งกลางของท่อนำไข่ วิธีนี้เรียกว่า
\”TUFT\” (TRANSUTERINE FOLLOPIAN TRANSFER) แม้ว่าวิธีการนี้จะไม่ทำให้คนไข้สตรี
\”เจ็บตัว\” แต่การดำเนินการนั้นยุ่งยาก และผลการตั้งครรภ์ก็น้อยกว่า \”ZIFT\” มาก จึงไม่เป็นที่
นิยมทำกัน โดยเฉพาะในบ้านเรา
การดูแลภายหลังทำ \”ZIFT\” ก็เหมือนกับ \”GIFT\” คือ นอนพักที่โรงพยาบาล 1 วัน
หลังจากนั้นก็ควรพักผ่อนต่อที่บ้านอีกอย่างน้อย 3-4 วัน ไม่ควรทำงานหนัก แม้ไม่มีข้อห้ามในการมี
เพศสัมพันธ์ แต่ก็ต้องระมัดระวังหรืองดการมีเพศสัมพันธ์ ในช่วง 1 สัปดาห์ ภายหลังทำ \”ZIFT\”
นอกจากนี้ ก็ต้องให้การฉีดยาฮอร์โมนเพื่อสนับสนุนการทำงานของรังไข่ และทำให้เยื้อบุโพรง
มดลูกคงสภาพที่ดีต่อไป
ผลสำเร็จ มีงานวิจัยที่ทำใน สถาบันการแพทย์ในกรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม
ตั้งแต่ เดือนมกราคม ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) ถึง มีนาคม ค.ศ.1989 (พ.ศ.2532) ทำ
ZIFT จำนวน 245 ครั้ง ผลเป็นดังนี้

ตารางที่ 1 อัตราการตั้งครรภ์ เปรียบเทียบจากจำนวน \”ตัวอ่อน\” ที่ใช้

••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
จำนวน \”ตัวอ่อน\” ที่ใส่ จำนวนครั้ง จำนวนการตั้งครรภ์ (เปอร์เซนต์)
ในปีกมดลูก
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
1 22 5 ( 23% )
2 43 18 ( 42% )
3 180 82 ( 45% )
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
245 105 ( 43% )
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

ตารางที่ 2 อัตราการตั้งครรภ์ เปรียบเทียบจาก \”ข้อบ่งชี้\”
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
ข้อบ่งชี้ จำนวนครั้ง จำนวนการตั้งครรภ์ (เปอร์เซนต์)
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
หาสาเหตุไม่ได้ 126 53 ( 42% )
เชื้ออ่อน 75 28 ( 37% )
เยื้อบุโพรงมดลูกเกาะผิดที่ 18 11 ( 61% )
ภาวะภูมิต้านทานต่อเชื้ออสุจิ 18 9 ( 50% )
โรค Polycystic ovarian disease 8 4 ( 50% )
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
245 105 ( 43% )
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

ตารางที่ 3 อัตราการฝังตัวของ \”ตัวอ่อน\”
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
ข้อบ่งชี้ จำนวนของ \”ตัวอ่อน\” จำนวน \”ตัวอ่อน\” (เปอร์เซนต์)
ที่ใส่ ที่ฝังตัว
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
พวกที่หาสาเหตุไม่ได้ 346 69 20%
เชื้ออ่อน (Male Infertility)184 38 20%
เยื้อบุโพรงมดลูกเกาะผิดที่ 50 11 22%
ภาวะภูมิคุ้มกันต่อเชื้ออสุจิ 47 11 23%
โรค Polycystic ovarian disease 22 4 18%
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
649 133 20%
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
จะเห็นว่า การทำ \”ZIFT\” ย่อมให้ผลสำเร็จสูงกว่าการทำ \”IVF-ET\” (การทำ
\”เด็กหลอดแก้ว\” แล้วหยอดตัวอ่อนเข้าทางปากมดลูก) แต่มีข้อจำกัดที่ต้องมี ปีกมดลูกดีอย่างน้อย
หนึ่งข้าง แม้ว่า \”ตัวอ่อน\” จากกรรมวิธีทำ ZIFT ในบางครั้งอาจจะหลุดออกมาจากปีกมดลูก
แต่ปีกมดลูกก็สามารถที่จะเก็บกลับเข้ามาสู่ภายในท่อนำไข่ได้
@ ผลสำเร็จของการตั้งครรภ์ในการทำ ZIFT เท่าที่มีการศึกษากันมา อยู่
ในราวร้อยละ 20-40 ขึ้นอยู่กับ \”ข้อบ่งชี้\” และสถาบันที่ทำการรักษา ส่วนวิธีหยอด \”ตัวอ่อน\”
ผ่านทางโพรงมดลูก (\”TUFT\”) มีอัตราการตั้งครรภ์น้อยกว่านี้
@ อัตราการฝังตัวของ \”ตัวอ่อน\” จากการทำ ZIFT ประมาณร้อยละ 20
( หมายความว่า หากใช้ \”ตัวอ่อน\” 100 ตัวอ่อน ในการดำเนินการหนึ่งครั้ง จะมี \”ตัวอ่อน\”
เพียง 20 ตัวอ่อน ที่ฝังตัวในโพรงมดลูกและเจริญเติบโตต่อไปได้ )
จากงานวิจัยในปัจจุบันจะพบว่า อัตราการตั้งครรภ์และการฝังตัวของตัวอ่อนใน \”ซี๊ฟ\”
ใกล้เคียงกับ \”กี๊ฟ\” แต่จริง ๆ แล้ว อัตราการตั้งครรภ์ระหว่าง \”ซิ๊ฟ\” กับ \”กี๊ฟ\” ควรจะ
สัมพันธ์กับข้อบ่งชี้มากกว่า โดย \”กี๊ฟ\” ในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในกรณี พวกที่หาสาเหตุ
ไม่ได้ และ พวกที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกเกาะผิดที่ ส่วน \”ซี๊ฟ\” ควรสงวนไว้ใช้ในรายที่สามีมีปัญหา
เกี่ยวกับ \”เชื้ออสุจิ\” โดยเฉพาะ \”ซี๊ฟ\” จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนไข้มีลูกยากที่นอกเหนือ
จาก \”กี๊ฟ\”
ภาวะแทรกซ้อน จากการทำ \”ซี๊ฟ\” ก็เหมือน ๆ กับ \”กี๊ฟ\” คือ อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
จากการดมยา, การกระตุ้นไข่มากเกินไป, ท้องนอกมดลูก, ครรภ์แฝด และการเกิดอันตรายต่อ
อวัยวะข้างเคียงจากกระบวนการทำ \”ซี๊ฟ\”

\”ซี๊ฟ\” เป็นกรรมวิธีช่วยเหลือคนไข้มีลูกยาก ที่มีแนวความคิดต่อเนื่องมาจาก
\”เด็กหลอดแก้ว\” และ \”กี๊ฟ\” \”ซี๊ฟ\” เป็น \”ของขวัญ\” อีกชิ้นหนึ่ง จากจินตนาการความคิดสร้าง
สรรค์อันไม่รู้จักจบสิ้นของมนุษย์ วิธีการทำไม่ยากและผลสำเร็จสูงพอสมควร เหมาะสำหรับผู้ที่
เคยพลาดหวัง,ผิดหวังหรือล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากกรรมวิธีช่วยเหลือต่าง ๆ
\”ชีวิต\” ยืดยาวได้เท่าที่ ชีวิตมี \”ความหวัง\” และย่นย่อลงได้ด้วยคำเพียงคำเดียวว่า
\”อนิจจัง\” ชีวิตสามารถยืนยาวได้ชั่วนิจนิรันดร์ด้วยการสืบต่อ \”ชีวิตใหม่\” โดยอาศัย \”ลูก\” และ
สิ้นสุดหยุดลงได้เช่นกันจากการไม่มีผู้สืบสกุล \”ซี๊ฟ\”ให้ \”ชีวิตใหม่\” แล้วนำ \”ชีวิตใหม่\” กลับไป
สู่โลกที่แท้จริง \”ซี๊ฟ\” จึงเป็น \”ความหวัง\” อย่างหนึ่งที่ช่วยสืบสานต่อ สายใยแห่งชีวิต ไม่ให้
สะดุดหยุดลงไป

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&
พ.ต.อ.นพ.นพ.เสรี ธีรพงษ์ ผู้เขียน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *