ท่ามกลางความดีใจ ที่มีคนค้นคิดผลิตภัณฑ์ยาที่ใช้กระตุ้นไข่ ยังมีภยันตรายแอบแฝงซ่อน
อยู่ หากไม่หาทางป้องกันไว้ก่อน ก็อาจรุนแรงจนยากที่จะแก้ไขก็เป็นได้
เดี๋ยวนี้ ความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนนี้ เป็นที่ทราบกันดีแล้วในหมู่แพทย์ผู้รักษาภาวะมี
ลูกยาก เพราะว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญอันตรายและป้องกันได้
เราป้องกันได้อย่างไร
\”ป้องกัน\” ย่อมดีกว่า \”แก้ไข\”
เรา \”ป้องกัน\” ภาวะนี้ได้ เพราะรู้ว่า คนไข้ที่เสี่ยงต่อภาวะนี้มาก ๆ ได้แก่ บุคคลที่
มีลักษณะต่อไปนี้
บุคคลที่มีความเสี่ยงสูง บุคคลที่มีความเสี่ยงต่ำ
1. อายุน้อยกว่า 35 ปี 1. อายุมากกว่า 35 ปี
2. ลักษณะของรังไข่คล้ายกับโรค 2. มีความบกพร่องที่คำสั่งหรือสัญญาณจาก
Polycystic ovarian disease ศูนย์เบื้องบน (Hypogonadotrophic
Hypogadism)
3. รูปร่างผอมบางและตัวเล็ก 3. น้ำหนักมาก
4. มีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจน ขณะกระตุ้น 4. ปริมาณเอสโตรเจนขณะกระตุ้นต่ำกว่า
มากกว่า 4000 พิโครกรัมต่อมิลลิลิตร 4000 พิโครกรัมต่อมิลลิลิตร
5. มีจำนวนฟองไข่ (Ovarian follicles)5. มีจำนวน \”ไข่\” ที่สุก (Mature
มากกว่า 35 ใบ follicle) น้อยกว่า 20 ใบ
6. ให้การส่งเสิรมการทำงานของรังไข่ และ 6. ให้ฮอร์โมนสนับสนุนเยื่อบุโพรงมดลูกให้
คงสภาพเยื่อบุโพรงมดลูก ด้วยสาร Human คงสภาพดีอยู่เสมอ ด้วย Progesterone
Chorionic Gonadotropin หรือไม่ให้ยาใด ๆ
7. ใช้สูตรกระตุ้นที่ใช้สาร GnRH agonist 7. ใช้สูตรการกระตุ้นไข่ที่ใช้ Clomiphene
Citrate และ/หรือ HMG Protocol
8. การตั้งครรภ์ (ภายหลังรักษาโดยการกระตุ้นไข่)
\”ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมาก\” Rabau และคณะ ในปี ค.ศ.1967 (พ.ศ.2510) เป็น
คนแรก ผู้บรรยายลักษณะอาการและให้หลักเกณฑ์การพิจารณาไว้
หลักสำคัญพื้นฐาน ตามองค์การอนามัยโลก เมื่อปี ค.ศ.1973 (พ.ศ.2516) :
ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับ ระดับของเอสโตรเจนในเลือด ดังนี้
A. ระดับความรุนแรงน้อย (MILD HYPERSTIMULATION): จะเกิด เมื่อระดับของ
ฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดอย่างน้อยที่สุด 1500 พิโครกรัม ต่อ มิลลิลิตร อัลตร้าซาวน์พบมี
ฟองไข่ (ทั้งหมด) อย่างน้อย 10 ใบ ผู้ป่วยมีอาการท้องอืด และอึดอัดเพียงเล็กน้อย ไม่มีภาวะ
แทรกซ้อนใด ๆ เกิดขึ้น
B. ระดับความรุนแรงปานกลาง (MODERATE HYPERSTIMULATION)
* จะเกิดขึ้นเมื่อระดับเอสโตรเจนในเลือดอย่างน้อยที่สุด 3000 พิโครกรัม ต่อ
มิลลิลิตร
* รังไข่จะโตมากและมีอาการปวดร่วมด้วย
* พบภาวะท้องมาร : มีน้ำในช่องท้องน้อยกว่า 1.5 ลิตร
* อาจพบอาการคลื่นใส้ อาเจียน และท้องเสียได้
C. ระดับความรุนแรงมาก (SEVERE HYPERSTIMULATION)
* คนไข้มีอาการแทรกซ้อน ดังนี้
– มีภาวะท้องมารอย่างมาก และอาจร่วมกับภาวะมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
– มีภาวะเลือดข้น
– มีภาวะการอุดตันของหลอดเลือด
– มีการทำงานของไตลดลง และมีการเปลี่ยนแปลงของเกลือแร่
เราพบว่าในจำนวนคนไข่ที่ได้รับการกระตุ้นไข่นั้น มีอยู่จำนวนน้อยเพียงร้อยละ 0.5
เท่านั้นที่เกิดภาวะนี้ แต่ก็เป็นอันตรายมากทีเดียว ลักษณะที่สำคัญก็คือ การที่มีน้ำเลือดจำนวนมาก
ซึมออกนอกเส้นเลือด ทำให้ปริมาณน้ำเลือดในเส้นเลือดต่าง ๆ ในร่างกายลดลงอย่างมาก และมี
ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงสูงมาก
ในคนไข้สตรี ที่เราคิดว่า จะเกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป จะเป็นการฉลาด
ที่จะใส่สายท่อพลาสติคเตรียมไว้ เพื่อระบายน้ำในช่องท้องที่จะเกิดขึ้น ในเวลาที่ทำ \”กี๊ฟ\” หรือ
\”ซี๊ป\” นั้นเลย และให้นอนโรงพยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด จนกว่าอาการจะดีขึ้น รายละเอียดต่างๆ
จะได้กล่าวต่อไป
แผนการป้องกัน
ความสำคัญอยู่ตรงที่ว่า ภายหลังจากพบว่า ผู้ป่วยเป็นโรค Polycystic Ovarian
disease แล้ว ควรได้รับการดูแลที่ใกล้ชิดกว่าคนไข้ทั่วไป โดยขณะทำการกระตุ้นไข่ ให้ทำการ
เฝ้าสังเกต ถ้าพบว่า มีปริมาณเอสโตรเจนที่ไข่สร้างขึ้นสูงมาก และลักษณะของฟองไข่เป็นพวก
ที่ยังไม่สมบูรณ์ขนาดค่อนข้างเล็ก และขนาดกลางอยู่จำนวนมาก (immature & intermediate
follicles) เข้าลักษณะที่เป็นอันตรายดังกล่าวข้างต้น ก็ให้การดังต่อไปนี้
1. ยกเลิกการกระตุ้นให้ไข่ตกโดยใช้ HCG (Human chorionic gonadotropin)
2. ลดขนาดของ HCG (Human chorionic gonadotropin) หรือใช้ GnRH
agonist แทน ในการกระตุ้นให้ไข่ตก
3. เจาะ \”ไข่\” ให้เจาะดูดน้ำใน \”ฟองไข่\” ออกให้มากที่สุด และพยายามเจาะให้
หมดทุกใบ
4. กระตุ้นให้ไข่ตก แล้วเก็บ \”ไข่\” ทั้งหมดมาผสมกับ \”เชื้ออสุจิ\” ให้มีการปฏิสนธิ
ภายนอก เมื่อได้ \”ตัวอ่อน\” ในระยะ Pronuclei stage ก็ทำการ \”แช่แข็ง\” ตัวอ่อนไว้ก่อน
แล้วค่อยมาทำการ หยอด \”ตัวอ่อน\” ในรอบเดือนต่อไป หรือโดยการเตรียมมดลูกใหม่
5. กระตุ้นให้ \”ไข่\” ตก แล้วทำ \”GIFT\” หรือ \”ZIFT\” ตามข้อบ่งชี้ให้กับผู้ป่วย
หลักจากนั้น ก็ไม่ต้องให้ยาชนิดใดเลยหรือให้เพียง Progesterone อย่างเดียว เพื่อคงสภาพ
ของเยื่อบุโพรงมดลูกให้ดีอยู่เสมอ
สรุปลักษณะอาการแสดง และผลเลือดทางห้องปฏิบัติการของภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมาก
เกินไป
ลักษณะอาการแสดง
1. ภาวะท้องมาน (ASCITES) เนื่องจากมีน้ำเลือดซึมออกจากเส้นเลือด เข้าไปใน
ช่องท้อง ทำให้ท้องอืดขึ้น ในเวลาอันรวดเร็ว คนไข้จะรู้สึกอึดอัด หายใจลำบาก และรับประทาน
อาหารไม่ลง ถ้ารุนแรง น้ำในท้องอาจมากถึง 6 ลิตรก็เป็นได้
2. ภาวะน้ำท่วมในช่องเยื่อหุ้มปอด (PLEURAL EFFUSION) เกิดจากน้ำเลือดซึม
ออกนอกเส้นเลือดเข้าไปในช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มปอดสองชั้น ทำให้คนไข้หายใจลำบาก อาจ
ทำให้เกิดภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวได้
3. ภาวะไตวาย (RENAL FAILURE) เกิดเนื่องด้วยภาวะเลือดข้น จากการที่
น้ำเลือดซึมออกจากหลอดเลือดต่างๆ ทั่วร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตด้วย น้ำปัสสาวะ
ถูกกลั่นกรองออกมาจากเลือด เมื่อเลือดมาเลี้ยงไตน้อย ก็ทำให้ปัสสาวะลดลง ขณะเดียวกันการ
ทำงานของไตก็แย่ลงด้วย เพราะขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง ถ้ารักษาไม่ทันการณ์ ก็จะเกิดภาวะ
ไตวาย ซึ่งเป็นภาวะร้ายแรงที่สุดอย่างหนึ่ง
4. ภาวะเส้นเลือดอุดตันตามตำแหน่งต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เพราะเลือดข้น ในหลอด
เลือดมีน้ำเลือดลดลง ทำให้ความเข้มข้นของเม็ดเลือดมากขึ้น ทำให้การไหลเวียนหนืดช้าลง และ
หยุดนิ่งอุดตันตามเส้นเลือดเล็ก ๆ ที่สำคัญคือ เส้นเลือดที่สมอง & ไต ทำให้คนไข้เป็นอัมพาต
และไตวาย หากทำการแก้ไขไม่ทันท่วงที
5. ภาวะปอดมีพยาธิสภาพ (Adult Respiratory Distress Syndrome)
เกิดภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวในเวลาต่อมา
สิ่งตรวจพบจากการตรวจร่างกาย
1. รูปร่างผอมเรียว
2. บวมทั่วตัว (ANASARCA)
3. รังไข่มีขนาดโตมากกว่า 12 เซนติเมตรในแต่ละข้าง
4. มี \”ฟองไข่\” ขนาดเล็กและกลาง จำนวนมากกว่า 35 ใบ ซึ่งจะเจาะได้ \”ไข่\”
มากกว่า 30 ใบ
ผลจากห้องปฏิบัติการ
1. ความเข้มข้นของเลือด (Hematocrit) ในขนาดที่ถือว่า รุนแรง จะมากกว่า
ร้อยละ 55 (ค่าปกติ ไม่เกินร้อยละ 45)
2. ความเข้มข้นของเม็ดเลือดขาว มากกว่า 25,000-35,000 ตัว ต่อ มิลลิลิตร
3. ค่า CREATININE มากกว่า 1.6 หรือค่า CREATININE CLEARANCE น้อยกว่า
50 มิลลิลิตรต่อนาที
4. ผลเลือดที่ทดสอบการทำงานของตับ (LIVER FUNCTION TEST) ผิดปกติ
การรักษาภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป
ในกลุ่มที่อาการยังไม่มากนัก ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีภาวะท้องมารระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
และระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง น้อยกว่าร้อยละ 44
ให้การรักษาตามอาการ โดยนอนพักและโดยให้\”สารน้ำ\” ให้เพียงพอ เนื่องจาก
จำนวนน้ำเลือดในหลอดเลือดลดน้อยลงจนไม่พอเพียง ร่วมกับมีการขาดเกลือโซเดียม ดังนั้น
\”สารน้ำ\” ที่จะให้ ควรเป็นกลุ่มที่มีเกลือโซเดียมสมดุลย์ (Balanced Salt Solution)
ในกลุ่มที่อาการรุนแรง ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีภาวะท้องมารอย่างมาก และมีระดับความ
เข้มข้นของเม็ดเลือดแดงมากกว่า ร้อยละ 45 (หากมากกว่า ร้อยละ 55 อาการจะรุนแรง
อย่างมาก) ผู้ป่วยทุกคนต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล และดูแลอย่างใกล้ชิด
การรักษาตามอาการ (SYMPTOMATIC TREATMENT)
1.1 ภาวะเลือดข้น (HEMOCONCENTRATION)
การเพิ่มขึ้นของความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง จะสัมพันธ์มากที่สุดกับความ
รุนแรงของโรค
* ระดับของความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง จะหมายถึง โดยตรง ต่อภาวะ
น้ำเลือดในหลอดเลือดขาดแคลนรวมไปถึงความข้นของเลือดด้วย ซึ่งจะมีผลต่อการทำงานของไต
และการอุดตันของหลอดเลือดในส่วนต่าง ๆ
* ระดับความเข้มข้นเม็ดเลือดขาวอาจสูงถึง 35,000 ตัวต่อ มิลลิลิตร
* เกลือแร่โดยเฉพาะโซเดียมจะลดลง และการทำงานของตับก็มีผลไปด้วย
สิ่งที่เราจะต้องคอยติดตามดูแล อย่างใกล้ชิดทุกวัน 5 อย่าง เกี่ยวกับการควบคุม
ความสมดุลย์ของระดับน้ำเลือดในร่างกาย
1. ปริมาณน้ำปัสสาวะที่ไหลออก
2. น้ำหนักตัว
3. ระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง
4. วัดความยาวเส้นรอบวงของหน้าท้องบริเวณสะดือ
5. ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับทั้งทางปากและของหลอดเลือด
การรักษา
1. การให้สารน้ำ ทดแทนปริมาณน้ำเลือดที่ขาดแคลน เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงที่ไต
ก่อนที่จะซึมออกสู่ช่องท้องและช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มปอด
2. ในกรณีที่ภาระท้องมารมาก จนไม่อาจจะควบคุมได้ ก็ให้จำกัดปริมาณน้ำที่เข้าสู่
ร่างกายน้อยกว่าวันละ 450 มิลลิลิตร
3. การให้สารที่ช่วยดึงน้ำกลับเข้าสู่เส้นเลือด เช่น สาร HUMAN ALBUMIN เป็นตัว
เลือกอันดับแรก ให้ในขนาด 50-100 มิลลิลิตร ในแต่ละครั้ง และให้ซ้ำได้ทุก 2 ถึง 12 ชั่วโมง
แล้วแต่ความเหมาะสม สารอัลบูมินจะดูดน้ำกลับเข้าสู่เส้นเลือด จากนั้นร่างกายจะขับออกมาทาง
ปัสสาวะ
1.2 ภาวะท้องมาน (TENSE ASCITES) วิธีการรักษา
1. เจาะดูดออกทางหน้าท้องด้านข้าง (PARACENTESIS) หรือด้วยการเจาะ
ผ่านช่องคลอด โดยอาศัยอัลตร้าซาวน์ช่วย เป็นการลดอาการที่ผู้ป่วยอึดอัดและหายใจลำบาก
เราเจาะเอาน้ำออกมากน้อยตามความเหมาะสม อาจมากถึง 4 ถึง 6 ลิตรก็เป็นไปได้ถ้าจำเป็น
2. การให้ยาขับปัสสาวะ (DIURETICS) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่เรา
สามารถให้ได้ โดยให้ยาขับปัสสาวะหนึ่งครั้ง ภายหลังให้สาร HUMAN AUBUMIN หมดไป 2 ขวด
(ขวดละ 50 กรัม) จะเป็นการขับไล่น้ำที่ถูกดูดซับเข้ามาในเส้นเลือดจากสารอัลมูมิน
การรักษาโดยเฉพาะเจาะจง (SPECIFIC TREATMENT)
โดยทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง (TERMINATION OF PREGNANCY) ในกรณีที่อาการ
รุนแรง จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
อาการเหล่านี้ได้แก่ ภาวะไตวาย,ภาวะเส้นเลือดอุดตันตามที่ต่าง ๆ และ
ภาวะการหายใจบกพร่องอย่างมาก (ADULT RESPIRATORY DISTRESS SYNDROME)
การทำแท้งเพื่อการรักษา เป็นวิธีที่เหมาะสมเมื่อมีอาการดังกล่าวข้างต้นนี้
ไม่ควรเสียดาย การตั้งครรภ์ครั้งนี้ เพราะการเสียดาย อาจนำไปสู่การเสียชีวิต
ผู้ป่วยเหล่านี้ อาจจะแท้งบุตรเองได้เช่นกัน ถึงร้อยละ 17 – 31 แต่ไม่พบทารก
ที่เกิดมา มีความพิการแต่กำเนิดมากกว่าทารกโดยทั่วไป
สรุปคือ ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยพอสมควร
ในกรณีที่มีการกระตุ้นไข่ เพื่อให้การรักษาภาวะมีบุตรยาก ความรุนแรงของโรค ดูได้จากปริมาณ
ของเอสโตรเจน ในวันที่จะกระตุ้นให้ไข่ตก ถ้ามากกว่า 4000 พิโครกรัมต่อมิลลิลิตร โอกาส
เกิดสูง
การป้องกัน เป็นสิ่งที่ควรทำมากกว่าการรักษา โดยการพิจารณาในคนไข้สตรีที่มีความ
เสี่ยง โดยอาจยกเลิก หรือลดขนาดของสาร HCG (HUMAN CHORIONIC GONADOTROPIN)
หรือเปลี่ยนเป็นไช้สารอื่นแทนในการกระตุ้นให้ไข่ตก
การตั้งครรภ์ จะทำให้ภาวะนี้รุนแรงขึ้น การรักษาด้วยวิธีเจาะน้ำในช่องท้องทิ้ง
และให้สารอัลบูมิน หากไม่ได้ผล จงทำแท้งเสีย อย่าเสียดาย โอกาสข้างหน้ายังมี
&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&
พ.ต.อ.นพ.เสรี ธีรพงษ์ ผู้เขียน